FAQ - ตอบทุกคำถามเกี่ยวกับจัดฟัน
เรารวบรวมคำถามซึ่งพบบ่อยจากคนไข้จัดฟันจำนวนหลายพันคน เพื่อนำมาเขียนบทความไขข้อข้องใจ หรือความกังวลต่างๆ ที่คุณมีเกี่ยวกับการจัดฟัน
Table of Contents
จัดฟันครั้งแรกต้องทำอย่างไร
โปรโมชั่นของเรา : ฟรี ค่าปรึกษา ค่า X-ray และค่าพิมพ์ปาก – ทำให้วันแรกที่คุณมาพบคุณหมอ คุณไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย
ขั้นตอนการจัดฟัน
การจัดฟันแบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลักๆ คือ
- ก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน – มาพบคุณหมอครั้งแรก เอ็กซเรย์ และพิมพ์ปาก หลังจากนั้นคือการเคลียร์ช่องปาก
- ติดเครื่องมือและปรับเครื่องมือจัดฟัน – จะช่วงที่ใช้เวลานานที่สุด คุณหมอจะนัดคุณปรับเครื่องมือทุกเดือน
- หลังถอดเครื่องมือจัดฟัน – หลังจัดฟันเสร็จ คุณจะได้รับรีเทนเนอร์ และคุณหมอจะนัดคุณเข้ามาตรวจทุก 6 เดือน
เคลียร์ช่องปากคืออะไร
ก่อนติดเครื่องมือจัดฟัน สภาพช่องปากของคุณต้องแข็งแรงสมบูรณ์ที่สุด คุณหมอจะต้องขูดหินปูน อุดฟันที่ผุ รวมทั้งถอนฟันคุด (หากมี) ให้เรียบร้อย เพื่อให้มั่นใจว่าภาวะเหล่านี้จะไม่ไปรบกวนคุณระหว่างจัดฟัน
ค่าใช้จ่ายในการเคลียร์ช่องปากประมาณเท่าไหร่
ค่าใช้จ่ายและระยะเวลาในการเคลียร์ช่องปากของคนไข้แต่ละรายจะแตกต่างกันตามสภาพช่องปาก คุณหมอจะให้คำแนะนำว่าคุณต้องทำการรักษาอะไรบ้าง
คุณไม่จำเป็นต้องเคลียร์ช่องปากให้เสร็จทั้งหมดในครั้งเดียว คุณสามารถแจ้งงบประมาณในแต่ละครั้งให้กับคุณหมอ หรือเจ้าหน้าที่ เพื่อเราจะได้ช่วยคุณวางแผนได้
ราคาค่ารักษาเริ่มต้น ที่เกี่ยวข้องกับการเคลียร์ช่องปาก – ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน 900 บ. ถอนฟันคุด 2,000 ผ่าฟันคุด 2,500 (ราคาขึ้นอยู่กับปริมาณ ตำแหน่ง และความยากง่าย)
คูปองส่วนลดเคลียร์ช่องปากมีอะไรบ้าง
เราช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในการเคลียร์ช่องปากของคุณ ด้วยคูปองส่วนลด Electronic ซึ่งคุณจะได้รับส่วนลดอัตโนมัติเมื่อทำการรักษากับเรา
- ขูดหินปูน – ส่วนลด 300 บ.
- อุดฟัน – ส่วนลด 200 บ. x3 ครั้ง
- ถอนฟัน – ส่วนลด 200 บ. x3 ครั้ง
- ผ่าฟันคุด ส่วนลด 500 บ. x3 ครั้ง
- แถมฟรี! เคลือบฟลูออไรด์ (ราคาปกติ 500 บ.)
จัดฟันผ่อนชำระอย่างไร
คุณสามารถเริ่มจัดฟันได้ง่ายๆ ด้วยการผ่อนชำระเบาๆ
• 999 บาท x 2 ครั้ง (ติดเครื่องมือบน-ล่าง)
• 1,500 บาท x 24 เดือน (จ่ายเท่านี้ทุกเดือนจนจบการรักษา) หรือเหมาจ่ายทีเดียว 36,000 บาท
สมัครภายใน 30 เม.ย. 68 รับฟรี
✔ ค่าปรึกษา, พิมพ์ปาก, X-ray
✔ ส่วนลดค่าเคลียร์ช่องปาก
✔ เคลือบฟลูออไรด์ + รีเทนเนอร์ใส
จัดฟันใช้เวลากี่ปี
โดยเฉลี่ยการจัดฟันใช้เวลาประมาณ 1-3 ปี ขึ้นอยู่กับการเรียงตัวของฟัน อายุของคนไข้ และความร่วมมือ เช่น มาปรับเครื่องมือตามนัดทุกครั้ง ดึงยางตามคำแนะนำของคุณหมอ เป็นต้น
จัดฟันรอบสอง มีโปรโมชั่นไหม
เรามีโปรโมชั่นสำหรับผู้ที่เคยจัดฟันมาก่อน แล้วฟันเคลื่อนจากตำแหน่งเดิม ต้องการแก้ไขไม่มาก คุณไม่จำเป็นต้องจ่ายค่าจัดฟันใหม่ เพราะโปรโมชั่นจัดฟันรอบสองให้คุณชำระเพียง 1,500 บ. x12-18 เดือน ซึ่งถูกกว่าการจัดฟันแบบธรรมดามาก แถมคุณยังได้สิทธิ์ ของแถมฟรีทุกรายการเหมือนกับโปรโมชั่นแบบปกติ
ต้องการย้ายคลินิกจัดฟัน ต้องทำอย่างไร
หากคุณย้ายที่อยู่ หรือมีเหตุจำเป็นต้องเปลี่ยนคลินิกจัดฟัน ถ้าคุณหมอสามารถจัดฟันต่อให้เสร็จได้โดยไม่ต้องเปลี่ยนเครื่องมือจัดฟันชุดใหม่ จะมีค่าใช้จ่ายเดือนละ 1,500 บ.
กรณีคุณหมอจำเป็นต้องเปลี่ยนเครื่องมือจัดฟันชุดใหม่ จะมีค่าถอดเครื่องมือ ขัดกาวชุดเก่าออก 1,500 บ. หลังจากนั้นคุณสามารถเลือกใช้โปรโมชั่นจัดฟันของคลินิกได้ตามปกติ
จัดฟันจะปวดไหม ปวดนานกี่วัน
เมื่อฟันถูกเคลื่อนตำแหน่ง ย่อมเกิดความไม่สบายรบกวนคุณได้บ้าง อาการปวดจะเป็นอยู่ในช่วง 3-4 วันแรกหลังปรับเครื่องมือ และจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ หากปวดมาก คุณสามารถทานยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาอาการได้
จัดฟันแล้วทานอาหารอะไรได้บ้าง
ในช่วงแรกที่มีอาการปวด คุณควรรับประทานอาหารอ่อนๆ เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุป ไข่ตุ๋น พยายามใช้ฟันกรามเคี้ยว ซึ่งจะปวดน้อยกว่า
เมื่อหายปวดคุณสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรแบ่งหรือตัดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ และงดเว้นอาหารแข็ง/เหนียว เพราะอาจทำให้เครื่องมือจัดฟันหลุด หรือชำรุดได้
การมีเครื่องมือจัดฟันจะทำให้คุณทำความสะอาดช่องปากได้ไม่ดีเท่าเดิม คุณควรใช้เวลากับการแปรงฟันมากขึ้น และควรใช้ไหมขัดฟัน และแปรงซอกฟันเพื่อทำความสะอาดเพิ่มเติมในจุดที่เข้าถึงยาก
จัดฟันแบบไม่ถอนฟันได้หรือเปล่า
เมื่อจัดฟัน คุณหมอจำเป็นต้องมีช่องว่างสำหรับให้ฟันเคลื่อนที่ หรือหมุนไปอยู่ในตำแหน่งที่สวยงาม ความจำเป็นในการถอนฟันขึ้นอยู่กับสภาพฟันของคุณว่ามีพื้นที่เพียงพอหรือไม่ หากคุณไม่อยากถอนฟัน คุณสามารถสอบถามถึงทางเลือก และข้อจำกัดในการรักษากับคุณหมอของเราได้ตลอดเวลา
อายุเท่าไหร่ถึงจัดฟันได้
คุณสามารถจัดฟันได้ ไม่ว่าจะอายุเท่าไหร่ก็ตาม อย่างไรก็ดีช่วงวัยรุ่น (10-14 ปี) เป็นช่วงที่เหมาะที่สุดในการจัดฟัน เพราะกระดูมกรามกำลังอยู่ในช่วงพัฒนา เรียงตัวของฟัน และการสบฟันที่ดีจากการจัดฟันสามารถทำให้โครงหน้าสวยงามได้ในอนาคต
จัดฟันแล้วหน้าเรียว หน้าเปลี่ยนไหม
การจัดฟันอาจะทำให้ลักษณะโครงหน้าเปลี่ยนแปลงไป โดยขึ้นอยู่กับปลายปัจจัยดังนี้
- การถอนฟัน ร่วมกับการจัดฟัน ซึ่งทำให้ความอูมของปากลดลง โดยเฉพาะเมื่อมองจากทางด้านข้าง กรณีฟันบน จมูกก็จะดูโด่งมากขึ้น หากเป็นฟันล่าง คางก็จะชัดขึ้น
- ระหว่างจัดฟันคนไข้มักเคี้ยวน้อยลง ทำให้กล้ามเนื้อบดเคี้ยวทำงานน้อยลงตาม แก้มจึงดูเรียวกว่าปกติ ซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
- คนไข้ที่จัดฟันตั้งแต่วัยรุ่น (10-14 ปี) กระดูกขากรรไกรกำลังเจริญเติบโต การแก้ไขฟันที่เรียงตัว หรือสบผิดปกติ สามารถส่งผลให้มีโครงสร้างและรูปร่างใบหน้าที่ดี และสวยงามขึ้นได้
- การจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร เมื่อรักษาเสร็จสิ้นจะทำให้โครงหน้าสวยงามขึ้นอย่างแน่นอน
จัดฟันแล้วสามารถทำจมูกได้หรือไม่
การจัดฟันไม่มีผลต่อการเสริม หรือการทำศัลยกรรมที่จมูก ความเชื่อที่ว่าทำจมูกร่วมกับจัดฟันแล้วจมูกจะทะลุเป็นความเข้าใจที่ผิด อย่างไรก็ตามการจัดฟัน โดยเฉพาะคนไข้ที่ถอดฟันบนร่วมด้วย ความอูมของปากจะลดลง รูปจมูกจะดูโด่งขึ้น หากคุณยังไม่ได้ทำจมูก อาจรอให้ฟันเคลื่อนตัวสไปสักพัก่อนปรึกษาแพทย์ศัลยกรรมเรื่องการเสริมจมูกในภายหลัง
อยากปรึกษาจัดฟัน?
เพียงกรอกรายละเอียด และรอเจ้าหน้าที่ของเราติดต่อกลับ คุณสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม และทำนัดหมายเข้ามาพบคุณหมอได้ทันที
รีวิวจากคนไข้ของเรา
โปรโมชั่นอื่นๆ
เปิดวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดก่อนพบทันตแพทย์
เปิดวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดก่อนพบทันตแพทย์ อาการปวดฟันนั้นเป็นอาการที่ทำให้รู้สึกทรมาน นอกจากอาการปวดแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารได้ไม่เต็มที่ บางครั้งหากปวดมาก ๆ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการนอน แต่หากอาการปวดเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ในทันที เพราะเป็นวันหยุด ปวดในช่วงเวลากลางคืน หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล การเข้าใจวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเองจึงมีความสำคัญอย่างมากในการบรรเทาอาการปวดชั่วคราวก่อนที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ อาการปวดฟันแบบฉับพลันเกิดจากอะไร อาการปวดฟันแบบฉับพลันคือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดฟันขึ้นแบบฉับพลัน และมักส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันแบบฉับพลัน ได้แก่ ฟันผุลึกที่ลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ฟันแตกหรือร้าวจากอุบัติเหตุ ฟันคุดที่กำลังขึ้น การติดเชื้อที่รากฟันหรือเหงือก
หลังจัดฟันเสร็จแล้วต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง
หลังจัดฟันเสร็จแล้วต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง การจัดฟันเป็นกระบวนการที่ช่วยแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันที่เรียงตัวไม่สวยงาม เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยงามมากขึ้น แต่หลังจัดฟันเสร็จแล้วหากไม่มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีฟันก็จะไม่เรียงตัวสวยงามตลอดไป การดูแลสุขภาพช่องปากหลังจัดฟันเสร็จแล้วจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ บทความนี้ Smile Seasons จะชวนทุกคนไปดูกันว่าหลังจัดฟันเสร็จแล้วนั้นต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร หากไม่ดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจะส่งผลต่อฟันอย่างไรบ้าง การจัดฟันส่งผลต่อสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง การจัดฟันไม่ได้เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ฟันเรียงตัวสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพช่องปากในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งระหว่างการจัดฟันกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ฟันจะเกิดการปรับตัวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยงามอย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยให้การทำความสะอาดช่องปากง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกและฟันผุ อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการบดเคี้ยวและการพูด แม้ว่าหลังจากจัดฟันเสร็จแล้วโครงสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ
ก่อนจัดฟันต้องรู้ จัดฟันแบบใส กับ แบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน
ก่อนจัดฟันต้องรู้ จัดฟันแบบใส กับ แบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน การจัดฟันไม่เพียงช่วยเสริมความสวยงามของรอยยิ้ม แต่ยังช่วยแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ฟันเก ฟันห่าง และการสบฟันที่ผิดปกติ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาว ปัจจุบันมีทางเลือกในการจัดฟันมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ จัดฟันแบบใสกับแบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน? คำตอบไม่ได้ชัดเจนเสมอไป เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน บทความนี้ smile seasons จะพาคุณไปทำความรู้จักกับการจัดฟันทั้งสองประเภท เพื่อให้คุณเลือกวิธีที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของคุณมากที่สุด การจัดฟันใส กับการจัดฟันเหล็กคืออะไร การจัดฟันเป็นวิธีการทางทันตกรรมที่ช่วยปรับตำแหน่งฟันให้เรียงตัวสวยงามและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเคี้ยวอาหาร
เมื่อปวดฟันต้องกินยาแก้ปวดฟันแบบไหน ต้องเลือกอย่างไร
เมื่อปวดฟันต้องกินยาแก้ปวดฟันแบบไหน ต้องเลือกอย่างไร อาการปวดฟันเป็นความทรมานที่หลายคนไม่อยากเผชิญ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังกระทบต่อคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ด้วย หากปล่อยให้อาการปวดฟันเรื้อรังโดยไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ลุกลามและส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว การเลือกใช้ยาแก้ปวดฟันที่เหมาะสมจึงเป็นทางเลือกเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการก่อนพบทันตแพทย์ อาการปวดฟันเกิดจากสาเหตุใดบ้าง ฟันผุ : ฟันผุเกิดจากแบคทีเรียในช่องปากย่อยสลายอาหารจำพวกน้ำตาลและแป้ง ทำให้เกิดกรดที่กัดกร่อนเคลือบฟัน เมื่อฟันผุลึกเข้าไปถึงเนื้อฟันชั้นในจะทำให้เกิดอาการเสียวฟันและปวดฟัน เหงือกอักเสบ : เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์บริเวณขอบเหงือก ทำให้เหงือกบวมแดง มีเลือดออกง่าย เมื่อไปสัมผัสโดนเหงือกบริเวณนั้นจะเกิดอาการปวด ฟันแตกหรือร้าว : อาจเกิดจากการกระแทก การกัดของแข็ง
รู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะ พร้อมเปิดข้อดี-ข้อเสีย
รู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะ พร้อมเปิดข้อดี-ข้อเสีย รีเทนเนอร์เป็นอุปกรณ์คงสภาพฟัน ซึ่งมีด้วยกันหลายแบบ สำหรับรีเทนเนอร์โลหะทำจากโลหะพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่อใส่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน มีลักษณะเป็นโครงโลหะบางเบาที่พอดีกับแนวฟัน ช่วยรักษาตำแหน่งของฟันให้อยู่ในสภาพที่จัดเรียงไว้ มีความทนทานสูง และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยมักนิยมใช้ทั้งในฟันบนและฟันล่าง บทความนี้เราจะชวนทุกคนไปรู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะกันให้มากขึ้น รีเทนเนอร์โลหะ คืออะไร รีเทนเนอร์โลหะเป็นอุปกรณ์คงสภาพฟันที่ทำจากวัสดุโลหะพิเศษ ออกแบบมาเพื่อใส่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน มีลักษณะเป็นโครงโลหะบางเบาที่พอดีกับแนวฟัน ช่วยรักษาตำแหน่งของฟันให้อยู่ในสภาพที่จัดเรียงไว้ มีความทนทานสูง และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยมักนิยมใช้ทั้งในฟันบนและฟันล่าง เปิดข้อดี-ข้อเสียของรีเทนเนอร์โลหะ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้รีเทนเนอร์โลหะ มาทำความเข้าใจข้อดีและข้อเสียกันก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
10 วิธีเปลี่ยนเมื่อมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็น ให้หอมสดชื่น
10 วิธีเปลี่ยนเมื่อมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็น ให้หอมสดชื่น การมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็นเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก หลายคนรู้สึกไม่กล้าพูดคุยใกล้ชิดกับผู้อื่น ส่งผลต่อการเข้าสังคมและการทำงาน บางคนถึงขั้นเกิดความเครียดและวิตกกังวล แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี สาเหตุที่ทำให้มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น มีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็นเกิดจากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่มาจากการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากที่ย่อยสลายเศษอาหารและปล่อยก๊าซที่มีกลิ่นเหม็นออกมา นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคในช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือแม้แต่โรคทางระบบต่าง ๆ เช่น โรคกระเพาะ ไซนัสอักเสบ รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม