ทำฟันเบิกประกันสังคม ทำอะไรได้บ้าง
สำนักงานประกันสังคมให้สิทธิผู้ประกันตนมาตรา 33 และ 39 เข้ารับบริการทางทันตกรรมได้ โดยกรณี ขูดหินปูน อุดฟัน ถอนฟัน ผ่าฟันคุด สามารถเบิกได้ปีละไม่เกินปีละ 900 บ. ฟันปลอมชนิดถอดได้บางส่วนจำนวนน้อยกว่า 5 ซี่เบิกได้ 1,300 บ. กรณีมากกว่า 5 ซี่เบิกได้ 1,500 บ. ฟันปลอมชนิดถอดได้ทั้งปากบนหรือล่างเบิกได้ 2,400 บ. บนและล่างเบิกได้ 4,400 บ. (ภายในระยะเวลา 5 ปี)
เพื่อนๆ ที่ส่งประกันสังคมทุกเดือนรู้หรือไม่ว่า เราสามารถใช้สิทธิประกันสังคมมาทำฟันได้ด้วย โดยสิทธิประโยชน์ด้านทันตกรรมที่เบิกได้ 900 บ. จะถูกตัดเป็นปีต่อปี หากคุณเป็นมีสิทธิประกันสังคมก็อย่าลืมหาเวลาเข้ามาดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน เราแนะนำให้คุณมาพบคุณหมอฟันอย่างน้อยปีละครั้ง เพื่อตรวจเช็คสุขภาพ หากมีปัญหาก็จะได้รีบรักษาแต่เนิ่นๆ ถ้ารอจนอาการรุนแรง นอกจากอาจต้องเจ็บตัวรักษาใหญ่โตแล้ว คุณอาจต้องควักเงินในกระเป๋าจำนวนมากมาเป็นค่ารักษาอีก
วันนี้คุณหมอจะมาแนะนำว่าผู้ประกันตนที่มีสิทธิประกันสังคม สามารถเบิกค่ารักษาทางทันตกรรมอะไรได้บ้าง มีวิธีการเบิกอย่างไร ตามอ่านกันได้เลยครับ
รายละเอียดการรักษาที่เบิกประกันสังคมได้
1. สามารถเบิกประกันสังคมได้ในวงเงินไม่เกินปีละ 900 บ.
การรักษาทั้งหมดจะใช้วงเงิน 900 บ. ต่อปีเช่นเดียวกัน หากค่ารักษามากกว่าคุณจะต้องชำระค่าส่วนต่างเอง ยกตัวอย่าง คุณผ่าฟันคุดและมีค่ารักษา 2,500 บ. คุณจะสามารถเบิกจากสำนักงานประกันสังคมได้ 900 บ. และชำระส่วนต่าง 1,600 บ. ด้วยตัวเอง
2. ฟันปลอม
- ฟันปลอมถอดได้บางส่วน 1-5 ซี่ เบิกได้ 1,300 บ.
- ฟันปลอมถอดได้บางส่วนมากกว่า 5 ซี่ขึ้นไป เบิกได้ 1,500 บ.
- ฟันปลอมถอดได้ทั้งปาก บน หรือ ล่าง เบิกได้ 2,400 บ. (ภายใน 5 ปี)
- ฟันปลอมถอดได้ทั้งปาก บน และ ล่าง เบิกได้ 4,400 บ. (ภายใน 5 ปี)
ประกันสังคม ทันตกรรมต้องสำรองจ่ายหรือไม่
คลินิกทันตกรรมส่วนใหญ่ รวมทั้ง Smile Seasons จะอำนวยความสะดวกให้คุณสามารถทำการรักษาในรายการอุดฟัน ขูดหินปูน ถอนฟัน และผ่าฟันคุด โดยไม่ต้องสำรองจ่าย 900 บ. คุณจะชำระเพิ่มเติมเฉพาะส่วนที่เกินมาจาก 900 บ. เท่านั้น
คุณสามารถเช็ครายละเอียดค่ารักษาทางทันตกรรมได้ที่นี่ นอกจากนี้ Smile Seasons ยังจัดโปรโมชั่นขูดหินปูน เบิกประกันสังคม โดยให้คุณเข้ารับการตรวจสุขภาพฟันประจำปี ขูดหินปูน เคลือบฟลูออไรด์ ได้ในราคา 900 บ. และหากคุณมีการรักษาต่อเนื่องที่เกินกว่าสิทธิประกันสังคม คุณจะได้รับส่วนลดพิเศษ 10% เพิ่มเติม
การทำฟันปลอม เป็นการรักษาเดียวที่คุณต้องสำรองจ่ายก่อน และนำเอกสารต่างๆ ยื่นต่อสำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครในพื้นที่ หรือ สำนักงานประกันสังคมประจำจังหวัด เพื่อขอรับประโยชน์ตามกฎหมายประกันสังคมได้ ภายใน 2 ปี นับตั้งแต่วันที่เข้ารับบริการตามระบุในใบรับรองแพทย์
ขอเบิกประกันสังคม กรณีฟันปลอม ต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง
- แบบคำขอรับประโยชน์ทดแทนกรณีทันตกรรม (สปส. 2-16)
- ใบรับรองแพทย์
- ใบเสร็จรับเงิน
- สำเนาบัตรประชาชน หรือบัตรอื่นๆ ที่ออกโดยราชการ
- เวชระเบียนทันตแพทย์ผู้รักษา (กรณีเบิกฟันปลอมฐานอะคริลิก)
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ (กรณีขอรับเงินทางธนาคาร)
วิธีการเช็กสิทธิประกันสังคม ผ่านมือถือ
หากคุณลืม หรือไม่แน่ใจว่าปีนี้ใช้สิทธิประกันสังคมทำฟันไปหรือยัง คุณสามารถโหลดแอพพลิเคชั่นของประกันสังคมชื่อ SSO Connect ทำการลงทะเบียนและ Login เข้าไป ในระบบจะขึ้นจำนวนเงินที่คุณสามารถเบิกได้ในปีนั้น หากคุณต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมสามารถกดเมนู ‘ค่ารักษาทางทันตกรรม’ ได้
FAQ คำถามที่พบบ่อยเมื่อใช้สิทธิประกันสังคม ทันตกรรม
คุณต้องเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 หรือ 39 เท่านั้น (มาตรา 40 ไม่สามารถใช้ได้)
ได้ – คุณสามารถใช้โปรโมชั่นขูดหินปูน ไม่ต้องสำรองจ่าย กับ Smile Seasons ได้ไม่ว่าประกันสังคมคุณจะอยู่ที่ รพ. ใดก็ตาม
ลงทะเบียนผ่าน website หรือโทร 066-064-9444 เพื่อทำนัดกับเรา ใช้หลักฐานแค่บัตรประชาชน ในวันที่เข้ามาทำการรักษา
- วุฒิบัตรทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ทันตแพทยสภา
- Certificate of Training Orthodontic and Miniscrew – Advance Orthodontic Society
- Certification of Invisalign Provider
- ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
Share This Page
อยากได้คำแนะนำเกี่ยวกับการทำฟันเบิกประกันสังคม? เพียงลงทะเบียนและรอเจ้าหน้าที่ของเราติดต่อกลับเพื่อให้คำแนะนำ
เวลาไปเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดช่องปาก คุณอาจเจอปัญหาไม่รู้จะเลือกยี่ห้ออะไร เพราะมีวางขายอยู่เต็มไปหมด – วันนี้คุณหมอจะมาแนะนำการเลือก ยาสีฟัน แปรงสีให้คุณ
อยากจัดฟัน แต่เลือกไม่ถูกว่าว่าแบบไหนดี? วันนี้คุณหมอมาอธิบายว่าจัดฟันมีกี่แบบ แต่ละแบบมีข้อดีข้อเสียอย่างไร เพื่อให้คุณเลือกจัดฟันแบบที่เหมาะกับตัวเองมากที่สุด
รากฟันอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อที่เนื้อเยื่อภายในฟัน หากไม่ได้รับการรักษา อาจลุกลามจนสูญเสียฟันได้ วันนี้คุณหมอจะมาอธิบายถึงสาเหตุ อาการ และวิธีรักษาโดยละเอียด