ฟันงุ้มเกิดจากอะไร แก้อย่างไรได้บ้าง

ปัญหาฟันงุ้ม สามารถเกิดขึ้นได้ในทุกช่วงวัย ทั้งวัยเด็กและในวัยผู้ใหญ่ ซึ่งเกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ทั้งจากพันธุกรรม พฤติกรรมการใช้ฟันที่ไม่เหมาะสม หรือมีพฤติกรรมที่ชอบกัดของแข็ง เช่น การกัดปากกา หรือติดนิสัยการเคี้ยวสิ่งของแข็ง ๆ พฤติกรรมเหล่านี้จะทำให้ฟันเคลื่อนที่และเกิดการบิดเบี้ยวหรือฟันงุ้มได้ การแก้ไขปัญหาฟันงุ้มสามารถทำได้ แต่จะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาและคำแนะนำของคุณหมอ หากใครมีปัญหาฟันงุ้มอยู่ ก็สามารถมาดูรายละเอียดเพิ่มเติมเหล่านี้ได้ที่นี่เลย

 

ฟันงุ้มคืออะไร มีลักษณะอย่างไร

ฟันงุ้ม (Retroclined Teeth) เป็นปัญหาด้านทันตกรรมที่พบได้บ่อย ลักษณะของฟันงุ้ม คือ การที่ฟันหน้าบนหรือฟันหน้าล่างมีการเอียงเข้าหรือออกจากตำแหน่งปกติไป แต่โดยส่วนใหญ่จะพบว่าโค้งเข้าด้านในของช่องปากมากกว่า ซึ่งอาจเกิดกับฟันหนึ่งซี่หรือหลายซี่พร้อมกันก็ได้ 

หากมีฟันงุ้มจะส่งผลกระทบต่อความสวยงาม ทำให้มีรอยยิ้มที่ไม่มั่นใจ อีกทั้งยังเกิดปัญหากับผู้ที่กำลังจัดฟันอยู่ และอาจทำให้มีการสบฟันผิดปกติ ซึ่งจะส่งผลเสียต่อการเคี้ยวอาหารได้

 

ข้อเสียของฟันงุ้ม

ปัญหาฟันงุ้มอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพในระยะยาวต่าง ๆ มากมาย ดังนี้

  • เสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกและฟันผุ เพราะการสบฟันที่ผิดปกติอาจทำให้เกิดการสึกกร่อนของฟันและเหงือก ทำให้มีโอกาสเกิดโรคเหงือกหรือฟันผุมากขึ้น
  • มีปัญหาในการบดเคี้ยว ฟันงุ้มจะทำให้บดเคี้ยวอาหารได้ไม่ดี ซึ่งจะส่งผลให้ย่อยอาหารได้ยากขึ้นตามไปด้วย
  • ปวดลามไปยันศีรษะ ฟันงุ้มยังสามารถทำให้เกิดความเจ็บปวดในบริเวณขากรรไกรหรือกล้ามเนื้อใบหน้าได้ ซึ่งจะมีลักษณะคล้ายอาการปวดศีรษะหรือไมเกรนนั่นเอง
  • ทำให้ไม่มั่นใจในตนเอง เกิดปัญหายิ้มแล้วไม่สวย จึงไม่กล้ายิ้ม

 

ฟันงุ้มเกิดจากอะไร

ฟันงุ้มเกิดจากอะไร

สาเหตุของฟันงุ้มมีหลายปัจจัย สำหรับสาเหตุในการเกิดฟันงุ้มของแต่ละคนอาจจะแตกต่างกันออกไป ดังนี้ 

  • พันธุกรรม ฟันงุ้มอาจเกิดจากพันธุกรรมที่ส่งผลทำให้โครงสร้างของขากรรไกรและฟันเจริญเติบโตผิดปกติไป
  •  
  • สูญเสียฟัน หากคุณสูญเสียฟันธรรมชาติ และไม่ได้รับการทดแทนฟันด้วยวิธีอื่นๆ เช่น การทำรากฟันเทียม สะพานฟัน หรือฟันปลอม ฟันของคุณก็อาจมีการเปลี่ยนตำแหน่งจนงุ้มเข้าได้ 
  • การใช้แรงกัดที่ไม่เหมาะสม อย่างการกัดของแข็ง เช่น ปากกา เล็บ หรือใช้ฟันในการเปิดสิ่งของ สามารถทำให้ฟันเกิดการบิดเบี้ยวและงุ้มได้
  • โรคปริทันต์ การอักเสบของเนื้อเยื่อปริทันต์รอบๆ ฟันส่งผลให้เกิดการสูญเสียมวลกระดูก และทำให้ฟันเปลี่ยนตำแหน่งได้
  • ความไม่สมดุลของกล้ามเนื้อใบหน้า กล้ามเนื้อใบหน้าที่มีการใช้งานมากเกินไปหรือไม่สมดุล อาจทำให้เกิดแรงดึงที่ฟันและทำให้ฟันงุ้มเข้าด้านในได้

 

จัดฟันแล้วฟันงุ้ม เกิดจากอะไร

ฟันงุ้มเป็นลักษณะความผิดปกติของการเรื่องของฟันที่พบได้ไม่บ่อยตามธรรมชาติ และมักเกิดขึ้นหลังจากได้รับการรักษาทางทันตกรรมบางประเภทเช่น การจัดฟัน โดยปกติแล้วคนไข้ที่มีฟันเรียงซ้อนกันมาก ทันตแพทย์อาจพิจารณาถอนฟันเพื่อให้ฟันที่เหลือมีพื้นที่ในการเคลื่อนฟันไปยังตำแหน่งที่เหมาะสม อย่างไรก็ตามหากฟันถูกถอนมากเกินไปหรือมีพื้นที่เหลือเกินความเหมาะสมก็จะทำให้ฟันงุ้มเข้าได้ระหว่างจัดฟัน การเกิดฟันงุ้มร่วมกับการจัดฟันเป็นเรื่องที่คุณควรให้ความใส่ใจ และควรปรึกษา พูดคุยกับทันตแพทย์จัดฟันประจำตัวของคุณถึงแผนในการรักษาให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนเริ่มการจัดฟัน

 

วิธีแก้ปัญหาฟันงุ้ม

การแก้ปัญหาฟันงุ้มมีหลายวิธี โดยแต่ละวิธีจะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาและคำแนะนำจากคุณหมอ ดังนี้

 

1. จัดฟัน

จัดฟัน

การจัดฟันเป็นวิธีที่ได้รับความนิยมในการแก้ไขปัญหาฟันงุ้ม โดยคุณหมอจะใช้เครื่องมือจัดฟัน เพื่อดึงฟันกลับเข้ามายังตำแหน่งที่เหมาะสม ซึ่งการจัดฟันจะสามารถแก้ไขฟันงุ้มได้ทั้งในผู้ใหญ่และเด็ก แต่อย่างไรก็ตาม การจัดฟันอาจใช้เวลานานหลายเดือนถึงหลายปี ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของฟันที่งุ้ม

 

2. ทำรากฟันเทียม

ในกรณีที่ฟันงุ้มเกิดจากการสูญเสียฟันบางส่วนไป คุณหมออาจแนะนำให้ทำรากฟันเทียม (Dental Implant) ซึ่งเป็นการใส่ฟันปลอมที่ยึดกับขากรรไกรเพื่อแทนที่ฟันที่สูญเสียไป วิธีนี้จะสามารถแก้ไขปัญหาการสบฟันที่ผิดปกติและฟันงุ้มจากการถอนฟันบางออกส่วนไปได้

 

3. ผ่าตัดขากรรไกร

ในกรณีที่มีฟันงุ้มจากปัญหาโครงสร้างของขากรรไกรที่ผิดรูปอย่างรุนแรง การผ่าตัดขากรรไกรก็อาจเป็นทางเลือกที่คุณหมอแนะนำ เพราะการผ่าตัดขากรรไกรจะช่วยปรับโครงสร้างของฟัน เพื่อทำให้ฟันกลับมาอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง จึงช่วยแก้ปัญหาด้านการสบฟัน และป้องกันการเกิดฟันงุ้มได้ 

 

4. ทำวีเนียร์

การทำวีเนียร์ (Veneers) เป็นการเคลือบฟันด้วยวัสดุพิเศษเพื่อปรับรูปร่างของฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม การทำวีเนียร์จะสามารถใช้แก้ไขปัญหาฟันงุ้มได้ในกรณีที่มีปัญหา “ไม่รุนแรงมาก” และยังช่วยเสริมความสวยงามให้กับฟันได้อีกด้วย

 

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ฟันงุ้ม

ป้องกันอย่างไรไม่ให้ฟันงุ้ม

การป้องกันฟันงุ้มสามารถทำได้ด้วยการปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมอ ดังนี้

  • การรักษาความสะอาดของฟันและเหงือกเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นจึงควรแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันกำจัดเศษอาหารที่ติดอยู่ระหว่างซอกฟัน เพื่อป้องกันฟันผุที่อาจทำให้โครงสร้างของฟันเสียหายได้
  • หลีกเลี่ยงการกัดสิ่งของที่แข็ง เช่น ปากกา อาหารแข็ง ๆ อย่างถั่วเปลือกแข็ง หรือการใช้ฟันเปิดสิ่งของต่าง ๆ
  • ใส่รีเทนเนอร์ตามคำแนะนำของคุณหมอ เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันเคลื่อนที่กลับไปยังตำแหน่งเดิม มิฉะนั้นคุณอาจต้องเผชิญกับปัญหาฟันงุ้ม ฟันล้ม จนต้องเข้ารับการจัดฟันรอบสองได้
  • ตรวจสุขภาพช่องปากเป็นประจำ เมื่อพบปัญหาความผิดปกติของช่องปากและฟัน จะได้วางแผนแก้ไขได้อย่างรวดเร็ว

 

สรุป

ฟันงุ้มเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสุขภาพช่องปากและความสวยงาม ซึ่งการแก้ไขฟันงุ้มมีหลายวิธีขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของปัญหา ทั้งนี้คุณควรปฏิบัติตามคำแนะนำของคุณหมออย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดฟันงุ้มและรักษาฟันให้อยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง เพื่อรอยยิ้มที่มั่นใจในทุก ๆ วัน Smile Seasons เราพร้อมช่วยกอบกู้ฟันงุ้ม ด้วยการจัดฟันที่ได้มาตรฐาน ให้คุณมีฟันเรียงสวยได้อีกครั้ง

บทความโดย

Picture of ทพ.ธนิตย์ วนิชนพรัตน์

ทพ.ธนิตย์ วนิชนพรัตน์

  • วุฒิบัตรทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ทันตแพทยสภา
  • Certificate of Training Orthodontic and Miniscrew
  • Advance Orthodontic Society
  • Certification of Invisalign Provider
  • ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้