ลูกกลัวหมอฟันมากจะทำอย่างไรดี

ลูกกลัวคุณหมอฟันมาก จะทำอย่างไรดี

จริงๆ แล้ว ความรู้สึกกลัวคุณหมอฟันเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นได้ทุกวัยเลยนะคะ ผู้ใหญ่เองบางคนก็กลัวการทำฟัน กลัวเสียงเครื่องมือดังๆ หรือกลัวว่าจะต้องฉีดยาชา เพราะฉะนั้นเป็นเรื่องปกติที่เด็กเล็กๆ จะกลัว ร้องไห้ ต่อต้านและไม่ชอบมาพบคุณหมอฟันค่ะ

เด็กๆ มักรู้สึกกลัวเมื่อมีสิ่งที่ทำให้ตกใจ ไม่สบายกาย หรือวิตกกังวล ก็จะแสดงพฤติกรรมถอยหนี ร้องไห้ และเข้าหาคุณพ่อคุณแม่เพื่อขอความช่วยเหลือ เมื่อน้องเริ่มโตขึ้น ก็จะค่อยๆ เรียนรู้วิธีแก้ไข และปรับตัวตัวความกลัวนั้นๆ ได้ค่ะ

ความกลัวของเด็กตามวัย

ความกลัวของเด็กๆ จะเปลี่ยนไปตามวัยด้วยนะคะ การรู้ว่าเด็กๆ กลัวอะไรจะทำให้เราสามารถวางแผนช่วยลดความกังวลของน้องๆ ลงเมื่อมาพบคุณหมอค่ะ

ghost

เด็กเล็ก (อายุ 2-5 ปี)

เด็กเล็กนั้นเต็มไปด้วยจินตนาการ เป็นวัยที่เริ่มรู้จักสิ่งของ และผู้คนมากขึ้น เด็กวัยนี้มักจะกลัวสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อน เช่น กลัวคุณหมอฟันที่เป็นคนแปลกหน้า อารมณ์กลัวอาจเกิดจากคำพูดของผู้ใหญ่ เช่น กลัวผี กลัวคุณหมอจับถอนฟันเพราะทานขนมเยอะ

เด็กวัยเรียน (อายุ 6-12 ปี)

เนื่องจากโตขึ้น เด็กวัยนี้เรียนรู้ เข้าใจ และมีเหตุมีผลมากขึ้น สิ่งที่กลัวมักเกิดจากประสบการณ์ไม่ดีที่เคยได้รับ เช่น กลัวสุนัขเนื่องจากเคยถูกกัด กลัวคุณหมอเนื่องจากเคยโดนจับฉีดยา เป็นต้น

สิ่งที่คุณควรทำก่อนพาน้องๆ พบคุณหมอฟัน

การดูแลสุขภาพช่องปากของเด็กๆ ผู้ปกครองและคุณหมอต้องทำงานเป็นทีมค่ะ การเตรียมความพร้อมทางอารมณ์ให้กับเด็กๆ ก่อนมาพบคุณหมอเป็นเรื่องสำคัญมากในการลดความกลัว และความวิตกกังวลในการทำฟันได้ คุณหมอมีคำแนะนำให้กับคุณพ่อคุณแม่ดังนี้ค่ะ

dentist

Role Playing

เล่นบทบาทสมมุติหมอฟันกับคนไข้ ฝึกซ้อมตรวจฟัน อ้าปาก ลองบอกว่าจะมีเสียงดังไม่ต้องตกใจกลัว

read

เรียนรู้การทำฟันจากสื่ออื่นๆ

ผู้ปกครองลองเปิดหนังสือภาพเกี่ยวกับการมาพบคุณหมอฟันให้น้องๆ ฟัง เพื่อสร้างความคุ้นเคยกับ คุณหมอ เก้าอี้ทำฟัน หรือกระจกส่องฟัน

scared

หลีกเลี่ยงเรื่องเล่าที่น่ากลัว

อย่าเล่าเรื่อง หรือประสบการณ์ไม่ดีในการมาทำฟันให้เด็กๆ ฟัง ควรหลีกเลี่ยงคำเช่น “เจ็บ” “เข็ม” “ฉีดยา”

sibling

พี่ๆ ช่วยบอกน้อง

หากมีพี่น้อง ผู้ปกครองควรดูแลไม่ให้พี่ๆ เล่าเรื่องน่ากลัวเกี่ยวกับการทำฟันให้น้องฟัง ในทางกลับกันถ้าพี่ๆ เป็นคนไข้ที่ให้ความร่วมมือดีเยี่ยม คุณอาจให้พี่พูดเป็นกำลังใจ และบอกน้องให้เชื่อฟังคุณหมอ

cry

อย่าเอาการทำฟันเป็นคำขู่

อย่าขู่ หรือใช้การทำฟันเป็นการทำโทษ คุณหมอเคยได้ยินประโยคว่า “ถ้าดื้อ คุณหมอจะจับถอนฟันนะ” การขู่แบบนี้จะยิ่งทำให้น้องๆ กลัวมากขึ้นไปอีกค่ะ

baby

ทำฟันครั้งแรกตั้งแต่ยังเล็ก

คุณพ่อคุณแม่ควรพาน้องๆ มาตรวจฟันตั้งแต่ยังเล็ก  ถ้าให้คุณหมอแนะนำคือควรพามาตรวจฟันครั้งแรกตอนน้องอายุไม่เกิน 1 ขวบค่ะ เด็กที่มาพบคุณหมอฟันเป็นประจำจะวิตกกังวลน้อย และให้ความร่วมมือดีกว่า

พาเด็กๆ มาทำฟันครั้งแรก

พาเด็กๆ มาพบคุณหมอฟันครั้งแรก

เด็กๆ อาจมีความกังวลเมื่อต้องมาพบคุณหมอ หากคุณพ่อคุณแม่รู้ว่าครั้งแรกที่มาพบคุณหมอจะต้องทำอะไรบ้าง ก็อาจเป็นประโยชน์ในการพูดคุย หรือเล่น Role Play กับน้องๆ ได้ เพื่อให้พอเห็นภาพ คุณหมอเลยจะขอแนะนำสักเล็กน้อยว่าการมาพบคุณหมอฟันครั้งแรก ต้องทำอะไรกันบ้างนะคะ

cheerful-kid

ฟันน้ำนมใครว่าไม่สำคัญ

คุณพ่อคุณแม่บางท่านไม่เข้าใจว่าทำไมต้องรีบพาน้องมาพบคุณหมอฟัน และไม่เห็นความสำคัญของฟันน้ำนม เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็ต้องหลุดออกไป แต่อันที่จริงแล้วฟันน้ำนมมีความสำคัญมากต่อสุขภาพของเด็ก เป็นรากฐานสำคัญของฟันแท้ในอนาคต นอกจากนั้นฟันน้ำนมที่สุขภาพดียังทำให้น้องๆ เคี้ยวข้าวได้ดี ทานอาหารได้เยอะ รวมทั้งส่งผลต่อการหัดพูดของเด็กด้วยค่ะ

 

การที่คุณพ่อคุณแม่พาน้องๆ มาตรวจฟันและเคลือบฟลูออไรด์ตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นในช่องปาก รวมไปถึงการดูแลความสะอาดฟันให้เด็กๆ อย่างสม่ำเสมอและถูกวิธี จะช่วยลดโอกาสเกิดฟันผุ ทำให้ไม่ต้องรับการรักษาที่ยุ่งยาก หรือใช้เวลานาน แถมยังทำให้น้องๆ ลดความกลัวในการทำฟันลงได้อีกด้วยค่ะ

Share This Page

Facebook
Twitter
หมอแอร์

ทพญ.พิชารัตน์ เดชะชาติ

ทันตกรรมสำหรับเด็ก, ทั่วไป, จัดฟัน

  • วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต ทันตกรรมสำหรับเด็ก ม. มหิดล
  • ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต ม. มหิดล
ถอนฟัน tooth extraction
คำแนะนำหลังถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด

เป็นอย่างไรบ้างเจ็บไหม? เราหวังว่าคุณจะกลับถึงบ้านอย่างปลอดภัย เรารู้ว่าคุณคงกังวลและอยากรู้วิธีการดูแลตัวเองหลังจากถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด นี่คือคำแนะนำของเรา

Read More »
ฟันล่างคร่อมฟันบน หรือ Crossbite คือ ความผิดปกติในการสบฟันประเภทหนึ่ง
ฟันล่างคร่อมฟันบน ปกติไหม จัดฟันได้ไหม เกิดจากอะไร แก้ยังไงดี

ฟันล่างคร่อมฟันบน เป็นยังไง ปกติหรือไม่ เกิดจากอะไร ส่งผลอย่างไรต่อชีวิตประจำวันบ้าง แก้ไขอย่างไรได้บ้าง สามารถจัดฟันได้หรือไม่

Read More »
เกลารากฟัน
เกลารากฟันคืออะไร? ต่างจากขูดหินปูนไหม ทำไมถึงแพงกว่า – พบคำตอบที่นี่

การเกลารากฟัน – คือการกำจัดหินปูนใต้เหงือก ใช้รักษาเหงือกอักเสบหรือปริทันต์อักเสบ ทำโดยทันตแพทย์เฉพาะทาง มักต้องมีการให้ยาชา และอาจต้องมาพบคุณหมอหลายครั้ง

Read More »

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้