การดูแลฟันน้ำนมลูกน้อยให้ถูกวิธี

การดูแลสุขภาพช่องปากของลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญตั้งแต่วัยทารก แม้ว่าฟันน้ำนมจะเป็นฟันชุดแรกที่จะหลุดไปในที่สุด แต่การดูแลฟันน้ำนมอย่างถูกวิธีจะส่งผลดีต่อพัฒนาการของฟันแท้และสุขภาพช่องปากในระยะยาว บทความนี้จะแนะนำวิธีการดูแลฟันน้ำนมของลูกน้อยอย่างถูกต้อง เพื่อให้บุตรหลานของคุณมีรอยยิ้มที่สดใสและสุขภาพฟันที่แข็งแรงตั้งแต่วัยเยาว์

 

ความสำคัญของฟันน้ำนม

รู้หรือไม่ว่า ฟันน้ำนมไม่ได้มีหน้าที่แค่ช่วยให้ลูกน้อยของคุณบดเคี้ยวอาหารได้เท่านั้น แต่ยังมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการหลายด้านอีกด้วย การดูแลฟันน้ำนมจึงมีความสำคัญมากกว่าที่หลายคนคิด ฟันน้ำนมยังทำหน้าที่รักษาช่องว่างสำหรับฟันแท้ที่จะขึ้นมาในอนาคตอีกด้วย การสูญเสียฟันน้ำนมก่อนเวลาอันควรอาจส่งผลให้ฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่ง ทำให้เกิดปัญหาการสบฟันและอาจมีความจำเป็นต้องเข้ารับการจัดฟันในภายหลัง นอกจากนี้ การมีฟันน้ำนมที่มีสุขภาพดียังส่งผลต่อความมั่นใจของเด็กๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อน ๆ และสร้างความเคารพในตนเองให้สูงขึ้น จะเห็นว่าฟันน้ำนมมีหน้าที่และความสำคัญมากกว่าที่หลายๆ คนเข้าใจว่าเป็นเพียงแค่ฟันชุดแรกที่เดี๋ยวก็หลุดไป บทความนี้คุณหมอจะพามาดูวิธีการดูแลฟันน้ำนมที่ถูกต้องกัน

 

ฟันน้ำนมผุจะเกิดอะไรขึ้น

ฟันน้ำนมผุ

ฟันผุสามารถส่งผลกระทบต่อเด็กได้มากกว่าที่คิด ฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาจะนำมาซึ่งปัญหาทางทันตกรรมมากมาย เช่นคลองรากฟันอักเสบ ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวด แบคทีเรียที่สะสมก็อาจทำให้มีกลิ่นปาก หากมีความจำเป็นต้องถอนฟันก็อาจส่งผลต่อการขึ้นและการเรียงตัวของฟันแท้ในอนาคต ในบางกรณีฟันที่ผุอาจลุกลามเป็นการติดเชื้อที่รุนแรงได้ เช่นการเป็นหนองหรือผีบริเวณเหงือก หรือแบคทีเรียอาจเข้าสู่ร่างกาย และก่อให้เกิดการติดเชื้อในสมอง หรือลิ้นหัวใจ ซึ่งเป็นภาวะอันตรายที่อาจส่งผลเสียรุนแรงต่อสุขภาพของเด็ก นอกจากนี้ การมีฟันสวยสุขภาพดี ไร้ฟันผุก็ยังส่งผลให้เด็กๆ มีความมั่นใจในตัวเอง กล้ายิ้มกล้าแสดงออกมากขึ้นอีกด้วย 

 

6 วิธีการดูแลฟันน้ำนมอย่างมีประสิทธิภาพ

การดูแลฟันน้ำนม ต้องมีวิธีการดูแลที่ถูกต้องและเหมาะสม เพื่อให้ฟันน้ำนมสะอาดและแข็งแรง ป้องกันการเกิดปัญหาฟันผุและปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ดังนี้

 

1. แปรงฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ

แปรงฟันอย่างถูกวิธีและสม่ำเสมอ

การแปรงฟันเป็นวิธีการดูแลฟันน้ำนมขั้นพื้นฐานที่สำคัญที่สุด โดยคุณพ่อ คุณแม่ ควรเริ่มแปรงฟันให้กับลูกน้อยตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกเริ่มขึ้น วันละ 2 ครั้ง ในตอนเช้าและก่อนนอน โดยใช้แปรงสีฟันที่มีขนอ่อนนุ่มและขนาดเหมาะสมกับวัยของเด็ก ทำการแปรงลงบนทีละซี่ฟันด้วยความเบามือและแปรงให้ทั่วถึงทุกซี่ โดยเฉพาะบริเวณฟันที่มีการสัมผัสกับอาหารบ่อย ๆ เช่น ฟันกราม เพื่อทำให้ฟันน้ำนมสะอาดและป้องกันการเกิดคราบจุลินทรีย์ที่เป็นสาเหตุของฟันผุและหินปูนนั่นเอง

 

2. ใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์

การใช้ยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ จัดเป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลฟันน้ำนมที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันฟันผุในเด็ก เพราะฟลูออไรด์เป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับสารเคลือบฟัน และช่วยลดการเกิดฟันผุได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่อย่างไรก็ตามคุณพ่อ คุณแม่ ควรใช้ยาสีฟันที่มีฟลูออไรด์ในปริมาณที่เหมาะสมตามวัยของเด็ก เช่น สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี ควรใช้ยาสีฟันในปริมาณเท่าเม็ดข้าว ส่วนเด็กอายุตั้งแต่ 3-6 ปี ควรใช้ในปริมาณเท่าเมล็ดถั่ว เป็นต้น เพราะถ้าใช้ปริมาณยาสีฟันเยอะเกินไป และลูกน้อยเผลอกลืนเข้าไปก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายหรือภาวะฟันตกกระ (Fluorosis)ได้

 

3. จำกัดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

จำกัดอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง

อาหาร ขนม แลเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูง มักก่อให้เกิดสภาวะเป็นกรดซึ่งนอกจากจะทำร้ายชั้นผิวเคลือบฟันแล้ว ยังเป็นปัจจัยเสี่ยงของแบคทีเรียที่สามารถก่อโรคที่สามารถทำให้เกิดฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์ได้ ผู้ปกครองควรจำกัดการรับประทานอาหารที่หวานมากๆ หรือมีฤทธิ์เป็นกรด เช่น น้ำอัดลม ขนม ลูกกวาด ผลไม้รสเปรี้ยว หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ควรใช้หลอด และบ้วนปากบ่อยๆ หลังรับประทาน

 

4. หลีกเลี่ยงการให้นมขวดก่อนนอน

การให้นมขวดก่อนนอน เป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดฟันผุในเด็ก เนื่องจากน้ำตาลที่มีอยู่ในนม จะค้างอยู่ในช่องปาก ทำให้มีเชื้อแบคทีเรียต่าง ๆ เจริญเติบโตได้ดี และหลั่งกรดที่ทำลายสารเคลือบฟันออกมา ซึ่งจะทำให้ฟันผุได้ในที่สุดนั่นเอง ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องให้ดื่มนมก่อนนอน ควรให้ลูกน้อยบ้วนปากด้วยน้ำเปล่าหลังดื่มนมเสร็จ เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดฟันผุนั่นเอง

 

5. พาลูกน้อยไปพบทันตแพทย์อย่างสม่ำเสมอ

การพาลูกไปพบหมอฟันเด็กอย่างสม่ำเสมอ เป็นอีกวิธีการดูแลฟันน้ำนมที่สำคัญ เพราะคุณหมอจะช่วยตรวจเช็กสุขภาพฟันและเหงือกอย่างละเอียด พร้อมให้คำแนะนำในการดูแลฟันน้ำนมอย่างเหมาะสม ซึ่งผู้ปกครองควรเริ่มพาลูก ๆ ไปพบหมอฟันครั้งแรกเมื่อฟันน้ำนมเริ่มขึ้น หรืออายุไม่เกินอายุ 1 ปี และหลังจากนั้นควรพาไปตรวจฟันใหม่ทุก ๆ 6 เดือน เพราะหากเกิดอาการผิดปกติ จะได้รีบรักษาได้ทัน ก่อนที่จะสร้างความเสียหายให้กับสุขภาพช่องปากไปมากกว่าเดิม

 

6. สอนลูกให้รู้จักการดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเอง

การปลูกฝังให้ลูกรู้จักดูแลสุขภาพช่องปากด้วยตนเองเป็นสิ่งที่ควรทำตั้งแต่เด็ก ซึ่งคุณควรสอนลูกน้อย ให้เข้าใจถึงวิธีการแปรงฟันอย่างถูกต้อง การใช้ไหมขัดฟัน และการหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีน้ำตาลสูง ซึ่งการสอนให้เด็กเข้าใจถึงความสำคัญของการดูแลฟัน จะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ดี ใส่ใจในการดูแลฟันของตัวเองในระยะยาว ถือเป็นวิธีการดูแลฟันน้ำนมที่จะช่วยให้เด็กมีฟันแข็งแรงได้

 

สรุป

ฟันน้ำนมเป็นส่วนสำคัญในพัฒนาการของเด็ก ทั้งในด้านการกิน การพูด และการเสริมสร้างความมั่นใจรวมถึงพัฒนาการด้านต่างๆ ซึ่งการดูแลฟันน้ำนมอย่างถูกวิธี และการพาลูกน้อยไปพบหมอฟันอย่างสม่ำเสมอ เป็นสิ่งที่จะช่วยป้องกันปัญหาฟันผุ และช่วยเสริมสร้างสุขภาพช่องปากที่ดีให้กับลูกน้อย เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดีของลูกน้อยในระยะยาวเพราะฟันน้ำนมสำคัญกว่าที่คิด! พาเจ้าตัวเล็กมาพบหมอฟันกันได้ที่ Smile Seasons เราพร้อมให้การดูแลฟันเป็นเรื่องสนุก ด้วยบรรยากาศที่เป็นกันเอง ช่วยลดความกลัวและความตึงเครียดให้กับเด็ก เพื่อสุขภาพช่องปากที่แข็งแรง และต้อนรับฟันแท้ที่เรียงตัวสวยงามและมีสุขภาพดี

บทความโดย

Picture of ทพ.ธนิตย์ วนิชนพรัตน์

ทพ.ธนิตย์ วนิชนพรัตน์

  • วุฒิบัตรทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ทันตแพทยสภา
  • Certificate of Training Orthodontic and Miniscrew
  • Advance Orthodontic Society
  • Certification of Invisalign Provider
  • ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้