
ฟันปลอม คืออะไร มีกี่แบบ เปรียบเทียบข้อดี ข้อเสีย และ ราคา
คืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้กับคนที่คุณรักและห่วงใยได้ง่ายๆ เพียงทดแทนฟันธรรมชาติที่สูญเสียไปด้วยฟันปลอมหลากหลายรูปแบบที่ Smile Seasons มีให้บริการ
เรารู้ว่าคุณมีคำถามมากมาย ทำไมต้องใส่ฟันปลอม? ฟันปลอมมีกี่แบบ? วัสดุที่ใช้แตกต่างกันหรือไม่? จะต้องดูแลอย่างไร? เราหวังว่าคุณจะได้รับความรู้หลังจากอ่านบทความนี้ แต่หากคุณยังมีข้อสงสัย หรืออยากทำนัดพูดคุยกับคุณหมอก็สามารถกดปุ่มขอคำปรึกษาด้านล่างนี้ได้เลย
ฟันปลอมคืออะไร
ทำไมต้องใส่ฟันปลอม
ทานอาหารได้สะดวกมากขึ้น
ความสามารถในการบดเคี้ยวเป็นเรื่องใหญ่ ยิ่งในคนไข้สูงอายุ หรือผู้ที่สูญเสียฟันธรรมชาติไปจำนวนมากด้วยแล้ว การทานอาหารได้ดั่งใจมีผลต่อคุณภาพชีวิตโดยรวม สุขภาพก็แข็งแรงขึ้นจากการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน
ความสวยงาม
นอกจากจะทดแทนฟันแล้ว ฟันปลอมทั้งปาก (Full Denture) ยังสามารถทำให้รูปร่างบริเวณปาก แก้ม และคางมีความสมส่วน ดูเด็กลงเป็นสิบปี เรามักจะคิดว่าคนไข้สูงอายุไม่กังวลเรื่องความสวยงาม แต่นั่นไม่เป็นความจริง บุคลิกภาพที่ดีส่งผลต่อความมั่นใจในคนไข้ทุกกลุ่มอายุ
พูดได้ชัดขึ้น
เชื่อหรือไม่ว่าฟันมีส่วนสำคัญในการออกเสียงมาก การสูญเสียฟันจะทำให้คุณพูดได้ไม่ชัด ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยการใส่ฟันปลอม
ป้องกันฟันข้างเคียงล้ม
เป็นปกติของธรรมชาติที่เมื่อมีช่องว่างเกิดขึ้น ฟันบริเวณข้างเคียงก็มักจะล้มมาแทนที่ ทำให้เกิดความเสียหายได้
ฟันปลอมมีกี่แบบ เเต่ละเเบบต่างกันยังไง
ฟันปลอมสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก คือ ฟันปลอมทั้งปากและฟันปลอมบางส่วน ซึ่งฟันปลอมทั้งสองประเภทนี้ยังมีรูปแบบย่อยอีก 2 แบบ ได้แก่ แบบติดแน่นและแบบถอดได้ ซึ่งแต่ละแบบมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกันไป คุณสามารถดูรายละเอียดเปรียบเทียบแต่ละประเภทได้จากตารางด้านล่างนี้เลย
ฟันปลอมทั้งปาก (Full Denture)
- ใช้ในกรณีที่คุณสูญเสียฟันธรรมชาติทั้งหมดไป
- ฟันปลอมแบบนี้จะถูกออกแบบมาให้พอดีกับสันเหงือกของคุณ และสามารถใส่ได้ทันทีหลังจาก ถอนฟัน
- หากสันเหงือกของคุณเตี้ยทำให้ใส่ฟันปลอมได้ไม่พอดี หลุดง่าย สามารถแก้ไขด้วยการปัก รากฟันเทียม เพื่อเป็นตัวยึดฟันปลอมได้ ซึ่งมีค่า่ใช้จ่ายสูงกว่าฟันปลอมแบบทั่วไป
ฟันปลอมบางส่วน (Partial Denture)
- มีทั้งฟันปลอมแบบติดแน่น และฟันปลอมแบบถอดได้
- ฟันปลอมติดแน่นมักใช้ทดแทนฟันในจำนวนไม่มาก ตัวอย่างคือการทำรากฟันเทียม หรือสะพานฟัน
- ฟันปลอมแบบถอดได้ ก็แบ่งตามวัสดุที่ใช้ทำว่าเป็นฐานพลาสติกหรือฐานโลหะ
ฟันปลอมติดแน่น กับถอดได้เลือกแบบไหนดี
- ฟันปลอมมีสองรูปแบบหลัก คือ แบบติดแน่นและแบบถอดได้
- แต่ละแบบมีข้อดีและข้อจำกัดแตกต่างกัน การเลือกขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง เช่น สภาพช่องปาก งบประมาณ และความต้องการของผู้ใช้
- ควรปรึกษาทันตแพทย์เพื่อเลือกแบบที่เหมาะสมที่สุด
ฟันปลอมชนิดติดแน่น
ฟันปลอมชนิดติดแน่นเป็นการทดแทนฟันที่สูญเสียไปอย่างถาวร โดยยึดติดกับฟันธรรมชาติหรือรากฟันเทียม ข้อดีคือมีความสวยงามและใช้งานได้เหมือนฟันจริง รับแรงบดเคี้ยวได้ดี ไม่ต้องถอดทำความสะอาด และไม่ทำให้สันเหงือกยุบตัว
ฟันปลอมถอดได้
ฟันปลอมถอดได้เป็นอุปกรณ์ที่สามารถใส่และถอดออกได้ด้วยตัวเอง มีข้อดีคือราคาถูกกว่า ทำได้เร็ว และง่ายต่อการทำความสะอาด แต่อาจต้องใช้เวลาปรับตัวในการพูดและเคี้ยวอาหาร สำหรับฟันปลอมถอดได้สามารถแบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิตได้ 2 แบบ แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป
ฟันปลอมชนิดติดแน่น
ฟันปลอมถอดได้
ราคาแพงกว่า ใช้เวลาและการรักษามีความซับซ้อนมากกว่า
ราคาถูก การรักษาทำได้ง่ายและรวดเร็ว
แทบไม่ต้องปรับตัวอะไรเลย
ใช้เวลาปรับตัวในการเคี้ยวอาหาร การพูดมากกว่า อาจคุณอาจรู้สึกรำคาญ และมีน้ำลายมากผิดปกติในช่วงแรกที่ใส่ฟันปลอมถอดได้
รักษาความสะอาดง่าย เหมือนฟันธรรมชาติ เพียงแปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ
ต้องเสียเวลาถอดออกมาล้างทำความสะอาด และเศษอาหารมักไปติดใต้ฐานฟันปลอม
มีความสวยงามเหมือนฟันธรรมชาติมาก ซี่ฟันมักทำจากวัสดุที่เป็นเซรามิก
เวลายิ้มอาจเห็นตะขอเกี่ยวได้
รับแรงบดเคี้ยวได้ดีเหมือนฟันธรรมชาติ ทำให้ทานอาหารได้หลากหลาย แถมไม่ต้องกลัวหลุด
รับแรงเคี้ยวได้น้อย ต้องระวังอาหารที่แข็ง หรือเหนียวมากๆ และยังหลุดได้เวลาเคี้ยวอาหารอีกด้วย
ไม่ทำให้สันเหงือกยุบตัว เพราะมีการกระจายแรงกดไปยังรากฟันเทียม หรือฟันข้างเคียงในกรณีทำสะพานฟัน
สันเหงือกเป็นตัวรับแรงบดเคี้ยว ทำให้ในระยะยาวแล้วสันเหงือกจะยุบตัวลง
อายุการใช้งานยาวนานหลายสิบปี
อายุการใช้งานขึ้นอยู่กับวัสดุ แบบฐานพลาสติกจะมีคงทนน้อยกว่าแบบโลหะ
จะเห็นว่าฟันปลอมติดแน่นมีข้อได้เปรียบฟันปลอมถอดได้อยู่หลายประการ หากคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับทันตกรรมรากฟันเทียม หรือสะพานฟัน ซึ่งเป็นฟันปลอมติดแน่นแบบหนึ่ง คุณสามารถอ่านรายละเอียดได้ที่นี่
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่สูญเสียฟันไปเป็นจำนวนมาก การใส่ฟันปลอมก็เป็นทางเลือกในทางเลือกในการทดแทนฟันธรรมชาติที่ได้ผลดี มีความสวยงาม และราคาไม่แพง
ชนิดของฟันปลอมถอดได้
ฟันปลอมแบบถอดได้สามารถแบ่งตามวัสดุที่ใช้ในการผลิตฟันปลอม แต่ละแบบก็มีข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันไป
ข้อเปรียบเทียบระหว่างฟันปลอมแบบถอดได้ ฐานโลหะ และพลาสติก
ฟันปลอมฐานโลหะ
ฟันปลอมฐานพลาสติก
ราคาปานกลาง แพงกว่าฐานพลาสติก แต่ถูกกว่าฟันปลอมแบบติดแน่น
ราคาถูกที่สุดในฟันปลอมทุกชนิด
อาจมองเป็นตะขอโลหะที่เอาไว้เกี่ยวยึดกับฟันธรรมชาติซี่อื่นได้
ถ้าใช้ฐานพลาสติกแบบยืดหยุ่นได้ ก็จะไม่มีตะขอให้เห็น
ใช้เวลาปรับตัวน้อยกว่า ฐานโลหะจะเล็กและบางกว่าแบบพลาสติก การบดเคี้ยว และการพูดออกเสียงทำได้ง่ายกว่า
ฐานมีความหนาและใหญ่ ทำให้ต้องปรับตัวนานกว่า
ไม่ดูดสีและกลิ่นจากอาหารที่รับประทาน
ดูดสีและกลิ่นจากอาหาร ทำให้ทำความสะอาดยาก และเมื่อใช้ไปนานๆ สีก็อาจจะเปลี่ยนได้
ประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวอยู่ในระดับดีกว่าแบบฐานพลาสติก (แต่น้อยกว่าแบบติดแน่น)
รับแรงบดเคี้ยวได้น้อยที่สุดในฟันปลอมทุกแบบ ทำให้สันเหงือกยุบตัวได้หากใช้ในระยะเวลายาวนาน
แข็งแรง มีอายุการใช้งานนานหลายปี
อายุการใช้งานสั้นกว่า อาจหลวมมากขึ้นเรื่อยๆ
ทำฟันปลอมราคาเท่าไหร่?
ใครที่สงสัยว่า ทำฟันปลอมราคาเท่าไหร่? ฟันปลอมแบบถอดได้ ราคากี่บาท? เช็คราคาตามตารางด้านล่างได้เลย
ประเภทฟันปลอม | ราคา |
---|---|
ฟันปลอมแบบถอดได้ฐานพลาสติก | 3,500-4,000 บ. |
ฟันปลอมแบบถอดได้ฐานโลหะ | 9,000 บ. |
ฟันปลอมทั้งชิ้น บน หรือ ล่าง (ชิ้นละ) | 16,000-18,000 บ. |
ฟันปลอมทั้งปาก (บน และ ล่าง) | 30,000 บ. |
สะพานฟัน (1-2 ซี่) | 6,000-8,000 บ. |
ทันตกรรมรากเทียม (รวมครอบฟันแล้ว) *โปรโมชั่น | 29,000 บ. (ปกติ 55,000) |
รู้หรือไม่ ฟันปลอมเบิกประกันสังคมได้นะ!
หากคุณมีประกันสังคมในมาตราที่ 33, 39 และส่งเงินสบทบเข้ากองทุนครบ 3 เดือนในระยะเวลา 15 เดือน คุณสามารถเบิกค่าทำฟันปลอมกับสำนักงานประกันสังคมได้
- ฟันปลอมถอดได้บางส่วน (1-5 ซี่) = 1,300 บ.
- ฟันปลอมถอดได้บางส่วน >5 ซี่ = 1,500 บ.
- ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากบน หรือ ล่าง = 2,400 บ. (ภายใน 5 ปี)
- ฟันปลอมถอดได้ทั้งปากบน และ ล่าง = 4,400 บ. (ภายใน 5 ปี)
การดูแลรักษาฟันปลอม
- ถอดฟันปลอมมาล้างด้วยสบู่อ่อน และใช้แปรงสีฟันขมนุ่มแปรงทำความสะอาดทุกวัน (กรณีฟันปลอมติดแน่น ให้ทำความสะอาดเหมือนฟันธรรมชาติ แปรงฟันและใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอ)
- ห้ามล้างฟันปลอมด้วยน้ำร้อน เพราะจะทำให้เปลี่ยนรูปร่างได้
- ควรถอดฟันปลอมขณะนอนหลับ ให้เนื้อเยื่อโดยรอบได้พัก
- ช่วงแรกที่ใส่ฟันปลอมถ้าบวมหรือเจ็บเล็กน้อย ให้ผสมน้ำอุ่นกับเกลือแล้วกลั้วปากเช้าเย็น
- หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง หรือเหนียวมากๆ ช่วงแรกที่ยังปรับตัวคุณอาจตัดอาหารเป็นชิ้นเล็กๆ
- เมื่อทานอาหารที่มีสี หรือกลิ่นแรง ให้รีบถอดฟันปลอมเพื่อทำความสะอาดป้องกันติดสีหรือกลิ่น
- หากฟันปลอมหลวด หลุดบ่อย หรือใส่แล้วเจ็บมาก สันเหงือกมีแผลกดทับ ให้รีบกลับมาพบทันตแพทย์ของเรา
FAQs คำถามอื่นๆ ที่คุณอาจจะอยากรู้เกี่ยวกับฟันปลอม
ฟันปลอมแบบไหนดีที่สุด?
โดยทั่วไปแล้วการทำรากฟันเทียมเป็นการทดแทนฟันธรรมชาติที่ดีและใกล้เคียงที่สุด แต่หากคุณมีงบประมาณที่จำกัด ฟันปลอมฐานพลาสติกน่าจะเป็นทางเลือกที่ดีของคุณ
ฟันปลอมใส่แล้วรำคาญมากหรือเปล่า?
- แตกต่างจากฟันปลอมติดแน่นที่เหมือนฟันธรรมชาติ ฟันปลอมแบบถอดได้จะมีช่วงปรับตัว
- ในช่วงแรกคุณอาจรับประทานอาหารไม่สะดวก พูดออกเสียงไม่ชัด มีน้ำลายมากผิดปกติ และอวัยวะโดยรอบอาจจะเจ็บบ้าง อาการต่างๆ จะดีขึ้นใน 1-2 อาทิตย์
- ฟันปลอมฐานโลหะจะบางและเล็กกว่าแบบฐานพลาสติก ทำให้ใช้เวลาปรับตัวน้อยกว่า
ฟันปลอมอยู่ได้นานกี่ปี?
ฟันปลอมแบบติดแน่นมีอายุการใช้งานหลายสิบปี ส่วนใหญ่จะอยู่กับคนไข้ไปได้ตลอดชีวิต – ฟันปลอมแบบถอดได้มีอายุการใช้งานประมาณ 5-10 ปี ขึ้นอยู่กับวัสดุ
ต้องใส่ฟันปลอมทั้งวันไหม?
ฟันปลอมมักจะใส่ตอนกลางวัน และถอดออกตอนเข้านอน แต่ในช่วงอาทิตย์แรกที่เริ่มใส่ คุณหมออาจให้คุณใส่นอนด้วยหากตรงไหนตับ หรือหลวมไปคุณหมอจะได้รีบแก้ไขให้
หลังถอนฟันต้องรอนานเท่าไหร่ ถึงใส่ฟันปลอมได้?
การใส่ฟันปลอมหลังถอนฟัน เรียกว่า ‘immediate denture’ ซึ่งคุณต้องเข้ามาพบคุณหมอเพื่อทำฟันปลอมเอาไว้รอ ก่อนที่จะนัดถอนฟัน ข้อดีคือคุณสามารถกลับบ้านพร้อมฟันปลอมได้เลย แต่ข้อเสียคือเมื่อการบวมของเหงือกลดลงแล้ว คุณอาจต้องมาให้เราปรับแต่งฟันปลอมเพิ่มเติมให้พอดี
ใส่ฟันปลอม จัดฟันได้หรือเปล่า?
หากคุณใส่ฟันปลอมถอดได้ คุณหมออาจให้คุณหยุดใส่ฟันปลอมในระหว่างจัดฟัน แต่ถ้าเป็นฟันปลอมติดแน่นเช่นรากฟันเทียม ครอบฟัน หรือสะพานฟัน ก็สามารถจัดฟันได้ตามปกติ
ควรใช้น้ำยายึดฟันปลอมดีหรือเปล่า ควรใช้หรือไม่?
ฟันปลอมถูกออกแบบมาให้พอดีกับฟัน หรือสันเหงือกของคุณ โดยไม่ต้องใช้ตัวช่วยอื่นๆ แต่บางคนที่อยากได้ความมั่นใจ ก็ใช้น้ำยายึดฟันปลอมร่วมด้วย อย่างไรก็ตามหากฟันปลอมของคุณหลวมและหลุดง่าย คุณควรเข้ามาพบทันตแพทย์ของเรา
ใส่ฟันปลอม 1 ซี่ เลือกแบบไหนดี
ฟันปลอม 1 ซี่ เหมาะกับฟันปลอมแบบติดแน่น หรือการใส่ฟันปลอม 1 ซี่ ถาวร โดยจะมีทั้งการทำสะพานฟัน และการทำรากฟันเทียม ซึ่งเป็นการทำฟันปลอมที่มักใช้ทดแทนฟันในจำนวนไม่มาก
ใส่ฟันปลอม 1 ซี่ ถาวร กี่บาท
- สะพานฟัน (1-2 ซี่) ราคา 6,000-8,000 บ.
- รากฟันเทียม (รวมครอบฟันแล้ว) *โปรโมชั่น ราคา 29,000 บ. (ปกติ 55,000)
- Dentures: Types, Care, and More., Available from: https://www.webmd.com/oral-health/dental-health-dentures
- Dentures: Types, Care & What You Should Know., Available from: https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/10900-dentures
- Dentures (false teeth)., Available from: https://www.nhs.uk/conditions/dentures/
- Everything You Need To Know About Dentures., Available from: https://www.123dentist.com/everything-about-dentures/
- Dentures., Available from: https://www.betterhealth.vic.gov.au/health/conditionsandtreatments/dentures
บทความโดย
ผศ.ทพ.ดร.ธีรวัฒน์ โตสิริวัฒนพงศ์
Certificate of Advanced Graduate Study in Prosthodontics Boston University, USA
Doctor of Sciences in Dentistry in Prosthodontics Boston University (ปริญญาเอก)
อาจารย์ประจำ คณะทันตแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
ทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล (เกียรตินิยมอันดับ 1)
ลงทะเบียนปรึกษาฟรี
โปรโมชั่นอื่นๆ
เปิดวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดก่อนพบทันตแพทย์
เปิดวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดก่อนพบทันตแพทย์ อาการปวดฟันนั้นเป็นอาการที่ทำให้รู้สึกทรมาน นอกจากอาการปวดแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารได้ไม่เต็มที่ บางครั้งหากปวดมาก ๆ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการนอน แต่หากอาการปวดเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ในทันที เพราะเป็นวันหยุด ปวดในช่วงเวลากลางคืน หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล การเข้าใจวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเองจึงมีความสำคัญอย่างมากในการบรรเทาอาการปวดชั่วคราวก่อนที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ อาการปวดฟันแบบฉับพลันเกิดจากอะไร อาการปวดฟันแบบฉับพลันคือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดฟันขึ้นแบบฉับพลัน และมักส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันแบบฉับพลัน ได้แก่ ฟันผุลึกที่ลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ฟันแตกหรือร้าวจากอุบัติเหตุ ฟันคุดที่กำลังขึ้น การติดเชื้อที่รากฟันหรือเหงือก
หลังจัดฟันเสร็จแล้วต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง
หลังจัดฟันเสร็จแล้วต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง การจัดฟันเป็นกระบวนการที่ช่วยแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันที่เรียงตัวไม่สวยงาม เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยงามมากขึ้น แต่หลังจัดฟันเสร็จแล้วหากไม่มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีฟันก็จะไม่เรียงตัวสวยงามตลอดไป การดูแลสุขภาพช่องปากหลังจัดฟันเสร็จแล้วจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ บทความนี้ Smile Seasons จะชวนทุกคนไปดูกันว่าหลังจัดฟันเสร็จแล้วนั้นต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร หากไม่ดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจะส่งผลต่อฟันอย่างไรบ้าง การจัดฟันส่งผลต่อสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง การจัดฟันไม่ได้เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ฟันเรียงตัวสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพช่องปากในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งระหว่างการจัดฟันกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ฟันจะเกิดการปรับตัวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยงามอย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยให้การทำความสะอาดช่องปากง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกและฟันผุ อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการบดเคี้ยวและการพูด แม้ว่าหลังจากจัดฟันเสร็จแล้วโครงสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ
ก่อนจัดฟันต้องรู้ จัดฟันแบบใส กับ แบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน
ก่อนจัดฟันต้องรู้ จัดฟันแบบใส กับ แบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน การจัดฟันไม่เพียงช่วยเสริมความสวยงามของรอยยิ้ม แต่ยังช่วยแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ฟันเก ฟันห่าง และการสบฟันที่ผิดปกติ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาว ปัจจุบันมีทางเลือกในการจัดฟันมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ จัดฟันแบบใสกับแบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน? คำตอบไม่ได้ชัดเจนเสมอไป เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน บทความนี้ smile seasons จะพาคุณไปทำความรู้จักกับการจัดฟันทั้งสองประเภท เพื่อให้คุณเลือกวิธีที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของคุณมากที่สุด การจัดฟันใส กับการจัดฟันเหล็กคืออะไร การจัดฟันเป็นวิธีการทางทันตกรรมที่ช่วยปรับตำแหน่งฟันให้เรียงตัวสวยงามและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเคี้ยวอาหาร
เมื่อปวดฟันต้องกินยาแก้ปวดฟันแบบไหน ต้องเลือกอย่างไร
เมื่อปวดฟันต้องกินยาแก้ปวดฟันแบบไหน ต้องเลือกอย่างไร อาการปวดฟันเป็นความทรมานที่หลายคนไม่อยากเผชิญ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังกระทบต่อคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ด้วย หากปล่อยให้อาการปวดฟันเรื้อรังโดยไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ลุกลามและส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว การเลือกใช้ยาแก้ปวดฟันที่เหมาะสมจึงเป็นทางเลือกเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการก่อนพบทันตแพทย์ อาการปวดฟันเกิดจากสาเหตุใดบ้าง ฟันผุ : ฟันผุเกิดจากแบคทีเรียในช่องปากย่อยสลายอาหารจำพวกน้ำตาลและแป้ง ทำให้เกิดกรดที่กัดกร่อนเคลือบฟัน เมื่อฟันผุลึกเข้าไปถึงเนื้อฟันชั้นในจะทำให้เกิดอาการเสียวฟันและปวดฟัน เหงือกอักเสบ : เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์บริเวณขอบเหงือก ทำให้เหงือกบวมแดง มีเลือดออกง่าย เมื่อไปสัมผัสโดนเหงือกบริเวณนั้นจะเกิดอาการปวด ฟันแตกหรือร้าว : อาจเกิดจากการกระแทก การกัดของแข็ง
รู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะ พร้อมเปิดข้อดี-ข้อเสีย
รู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะ พร้อมเปิดข้อดี-ข้อเสีย รีเทนเนอร์เป็นอุปกรณ์คงสภาพฟัน ซึ่งมีด้วยกันหลายแบบ สำหรับรีเทนเนอร์โลหะทำจากโลหะพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่อใส่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน มีลักษณะเป็นโครงโลหะบางเบาที่พอดีกับแนวฟัน ช่วยรักษาตำแหน่งของฟันให้อยู่ในสภาพที่จัดเรียงไว้ มีความทนทานสูง และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยมักนิยมใช้ทั้งในฟันบนและฟันล่าง บทความนี้เราจะชวนทุกคนไปรู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะกันให้มากขึ้น รีเทนเนอร์โลหะ คืออะไร รีเทนเนอร์โลหะเป็นอุปกรณ์คงสภาพฟันที่ทำจากวัสดุโลหะพิเศษ ออกแบบมาเพื่อใส่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน มีลักษณะเป็นโครงโลหะบางเบาที่พอดีกับแนวฟัน ช่วยรักษาตำแหน่งของฟันให้อยู่ในสภาพที่จัดเรียงไว้ มีความทนทานสูง และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยมักนิยมใช้ทั้งในฟันบนและฟันล่าง เปิดข้อดี-ข้อเสียของรีเทนเนอร์โลหะ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้รีเทนเนอร์โลหะ มาทำความเข้าใจข้อดีและข้อเสียกันก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
10 วิธีเปลี่ยนเมื่อมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็น ให้หอมสดชื่น
10 วิธีเปลี่ยนเมื่อมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็น ให้หอมสดชื่น การมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็นเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก หลายคนรู้สึกไม่กล้าพูดคุยใกล้ชิดกับผู้อื่น ส่งผลต่อการเข้าสังคมและการทำงาน บางคนถึงขั้นเกิดความเครียดและวิตกกังวล แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี สาเหตุที่ทำให้มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น มีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็นเกิดจากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่มาจากการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากที่ย่อยสลายเศษอาหารและปล่อยก๊าซที่มีกลิ่นเหม็นออกมา นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคในช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือแม้แต่โรคทางระบบต่าง ๆ เช่น โรคกระเพาะ ไซนัสอักเสบ รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม