ปากแห้งเกิดจากอะไร พร้อมแชร์วิธีแก้ ก่อนเกิดปัญหาช่องปาก

 

ปัญหาปากแห้งอย่าคิดว่าเรื่องเล็ก เพราะอาการปากแห้ง ปากลอก หรือขอบปากแห้ง เป็นสัญญาณอันตรายที่เตือนให้เรารับรู้ถึงความผิดปกติที่เกิดขึ้นในร่างกายนั่นเอง ซึ่งอาการปากแห้งสามารถเกิดขึ้นได้จากสาเหตุหลายประการ ทั้งจากระบบอวัยวะภายใน และพฤติกรรมการใช้ชีวิต ถ้าอยากรู้ว่าปากลอกเกิดจากอะไรกันแน่ มาดูสาเหตุและวิธีแก้ไขไปพร้อมกันได้เลย

 

สาเหตุที่ทำให้ปากแห้ง

ปากแห้งเป็นอาการที่หลาย ๆ คนเคยเจอ อาการนี้อาจดูเหมือนเรื่องเล็กน้อย แต่จริง ๆ แล้วหากปล่อยให้ปากแห้งเรื้อรังสามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้มากกว่าที่คิด นอกจากความรู้สึกไม่สบายในช่องปากแล้ว ปากแห้งยังอาจเป็นสัญญาณเตือนถึงปัญหาสุขภาพ ไปดูกันว่าอาการปากแห้งมีสาเหตุมาจากอะไร 

 

ร่างกายขาดความชุ่มชื้น

ความชุ่มชื้นในร่างกายเป็นสิ่งสำคัญ ในคนที่มีภาวะขาดน้ำ ดื่มน้ำน้อย จะทำให้ร่างกายขาดความชุ่มชื้น ส่งผลให้ผิวหนังมีความแห้ง ลอกเป็นขุยหรือเหี่ยวย่นง่าย รวมไปถึงยังส่งผลให้ริมฝีปากแห้ง ลอก ตามมาได้นั่นเอง

 

แพ้สารเคมีบางชนิด

สารเคมีรอบตัวก็อาจเป็นสาเหตุให้ปากแห้งและริมฝีปากแตกได้ ซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาแพ้สารเคมีบางชนิดที่พบได้ทั่วไปในผลิตภัณฑ์สำหรับดูแลช่องปากและริมฝีปาก ดังนี้ 

  • ยาสีฟัน : สารฟอกสี ฟลูออไรด์ และสารกันบูดบางชนิดที่อยู่ในยาสีฟัน อาจทำให้เกิดอาการแพ้และระคายเคืองต่อริมฝีปากได้
  • ลิปบาล์ม : น้ำหอม สี และสารกันแดดสังเคราะห์ อาจทำให้บางคนเกิดอาการแพ้จนขอบปากแห้ง และปากลอกได้
  • น้ำยาบ้วนปาก : แอลกอฮอล์ที่เป็นส่วนประกอบหลักในน้ำยาบ้วนปากหลายชนิด สามารถทำให้ริมฝีปากแห้งและระคายเคืองได้เช่นกัน

อากาศแห้งส่งผลให้ปากแห้ง-ปากลอก

อากาศแห้ง

สภาพแวดล้อมในการใช้ชีวิตเองก็เป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเกิดริมฝีปากแห้งลอก โดยเฉพาะในสภาพอากาศที่มีความแห้งสูง เพราะเมื่ออากาศแห้งจะส่งผลให้ความชื้นในอากาศต่ำลงด้วย จึงทำให้เกิดการระเหยของน้ำจากผิวกาย รวมถึงริมฝีปากด้วยเช่นกัน จึงส่งผลให้ปากแห้ง และขอบปากลอกได้

 

อากาศหนาว

ทุกครั้งที่อุณหภูมิลดต่ำลง สิ่งหนึ่งที่ตามมาก็คือ “ริมฝีปากแห้งแตก” เพราะเมื่ออากาศเย็นลง ความชื้นในอากาศก็ลดตามไปด้วย ผิวหนังของเรา รวมถึงริมฝีปากจึงสูญเสียความชุ่มชื้นไปอย่างรวดเร็ว ทำให้รู้สึกแห้งตึง ไม่สบายตัว และอาจเกิดรอยแตกได้ง่าย

 

ความผิดปกติของร่างกาย

อาการปากแห้ง ปากลอก เป็นมากกว่าแค่เพียงความน่ารำคาญใจ เพราะอาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงการทำงานที่ผิดปกติของร่างกาย และภาวะโรคต่าง ๆ ได้ เช่น

  • การทำงานของต่อมน้ำลายที่น้อยผิดปกติ
  • ความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวาน โรคพากินสัน และโรคโลหิตจาง 
  • ความผิดปกติของฮอร์โมนร่างกาย
  • ภูมิคุ้มกันร่างกายอ่อนแอ และภูมิแพ้
  • ภาวะร่างกายขาดน้ำ
  • ความผิดปกติในช่องปาก

ซึ่งบ่อยครั้งที่สัญญาณเตือนของความผิดปกติในร่างกายเหล่านี้ จะแสดงอาการออกมาเป็นในลักษณะปากแห้ง ปากลอก อาการเหล่านี้จึงเป็นสัญญาณสุขภาพอีกหนึ่งอย่างที่ไม่ควรละเลยไปเลยล่ะ

 

ภูมิแพ้ผิวหนัง

หลายคนอาจจะคิดว่าอาการภูมิแพ้ผิวหนังไม่เกี่ยวกันกับอาการปากแห้ง ปากลอก แต่จริง ๆ แล้วปัญหาภูมิแพ้ผิวหนัง ส่งผลทำให้ผิวหนังทั่วร่างกายเกิดความแห้ง ระคายเคือง ซึ่งรวมไปถึงริมฝีปากของเราด้วย นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการแคะ แกะ เกา ในบริเวณที่รู้สึกคัน ก็จะยิ่งทำให้อาการแห้งรุนแรงขึ้นไปอีก

 

สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

สูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์

การสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์เป็นพฤติกรรมที่ส่งผลต่ออาการปากแห้ง เพราะเครื่องดื่มเหล่านี้จะส่งผลให้ร่างกายสูญเสียความชุ่มชื้นไป จากการขับน้ำออกจากร่างกาย ผิวหนังจึงแห้งกร้านรวมไปถึงริมฝีปากด้วยเช่นกัน อีกทั้งการสูบบุหรี่ที่มีสารเคมีอันตรายบวกกับความร้อนที่สัมผัสกับริมฝีปากและช่องปากโดยตรง ก็เป็นอีกสาเหตุสำคัญที่ทำให้ขอบปากแห้ง ดำกร้านได้นั่นเอง

 

ความเครียด

ความเครียดจากการทำงานและการใช้ชีวิตสามารถทำให้ปากลอกได้ แม้จะไม่ได้ส่งผลโดยตรง แต่เมื่อคนเราเกิดความเครียดขึ้นมา จะทำให้ร่างกายมีความเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ภูมิคุ้มกันร่างกายตก และแสดงพฤติกรรมบางอย่างโดยไม่รู้ตัว เช่น การเลียริมฝีปากบ่อย กัดปาก หรือนอนกรน ซึ่งพฤติกรรมนี้จะนำไปสู่อาการริมฝีปากแห้ง ลอก และปัญหาช่องปากตามมาได้ในที่สุด

 

ยา

การใช้ยาบางชนิดต่อเนื่องเป็นเวลานาน สามารถส่งผลทำให้ปากลอกและแห้งได้ ซึ่งเป็นผลข้างเคียงของยานั่นเอง เช่น ผู้ป่วยซึมเศร้าที่ต้องรับยากลุ่ม SSRI  ผู้ป่วยที่ต้องทานยารักษาความดันโลหิต ยาต้านฮิสตามีนสำหรับคนที่เป็นภูมิแพ้ ยาเคมีบำบัด หรือผู้ที่ต้องใช้ยาระงับประสาท เป็นต้น ตัวยาเหล่านี้มักจะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงหลังใช้คือ ทำให้ริมฝีปากแห้ง ปากลอกนั่นเอง

 

ลักษณะของอาการปากแห้ง

คนที่มีอาการปากแห้งจะสามารถสังเกตได้ง่าย เพราะเป็นอาการที่แสดงออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ตามลักษณะอาการดังนี้

  • รู้สึกตึงริมฝีปาก และมีริมฝีปากหยาบกร้านขาดความชุ่มชื้น
  • ริมฝีปากมีการลอกเป็นขุย หรือเป็นแผ่น
  • ริมฝีปากมีรอยแตกเล็ก ๆ รู้สึกเจ็บหรือแสบเมื่อสัมผัสโดน
  • มุมปากเป็นแผล คัน เจ็บ เป็นรอยดำ
  • ริมฝีปากเปลี่ยนเป็นสีคล้ำลง

 

แนวทางแก้ปัญหาปากแห้ง

แนวทางแก้ปัญหาปากแห้ง

สำหรับคนที่กำลังเผชิญกับปัญหาปากแห้ง ปากลอก ขอบปากเป็นแผลอยู่ในตอนนี้ แนวทางในการแก้ไขปัญหานี้ สามารถทำได้ง่าย ๆ แต่ต้องฝึกให้เป็นนิสัยเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นอีก นั่นก็คือ 

  • ดื่มน้ำสะอาดในปริมาณที่เหมาะสม คือ วันละประมาณ 2 ลิตร หรือ 8-10 แก้วต่อวัน เพื่อให้ร่างกายมีความชุ่มชื้นเพียงพอ
  • หมั่นทาลิปมันบำรุงริมฝีปากอยู่เสมอ
  • หลีกเลี่ยงการเลียริมฝีปาก และกัดปาก 
  • หลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลช่องปากที่มีแอลกอฮอล์ น้ำหอม หรือสารเคมีที่อาจก่อให้เกิดการแพ้
  • งดการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่
  • ใช้เครื่องพ่นไอน้ำเพื่อช่วยเพิ่มความชื้นให้กับห้อง 

 

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อปล่อยให้ปากแห้งเรื้อรัง

ปัญหาปากแห้งที่ดูเหมือนเล็กน้อย แต่หากปล่อยไว้โดยไม่ดูแล อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนที่ร้ายแรงกว่าที่คิดได้ เช่น

  • การติดเชื้อ : เมื่อริมฝีปากแห้งและแตก รอยแผลที่เกิดขึ้นจะเป็นช่องทางให้เชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย ทำให้เกิดการติดเชื้อได้
  • เหงือกอักเสบ : ปากแห้งทำให้ต่อมน้ำลายทำงานลดลง จึงมีเชื้อแบคทีเรียในช่องปากเพิ่มขึ้น ซึ่งอาจนำไปสู่การอักเสบของเหงือกได้
  • ฟันผุ : น้ำลายมีหน้าที่ชะล้างเศษอาหารและแบคทีเรียในช่องปาก เมื่อน้ำลายน้อยลง จึงทำให้เศษอาหารเกาะติดตามซอกฟันมากขึ้น ส่งผลให้เกิดฟันผุได้ง่ายขึ้น
  • ปัญหาในการรับประทานอาหาร : ปากแห้งทำให้การเคี้ยวและกลืนอาหารเป็นไปได้ยากขึ้น 
  • ปัญหาทางจิตใจ : ปากแห้งทำให้รู้สึกไม่สบายตัวและส่งผลต่อความมั่นใจในตนเอง

 

สรุป

ปัญหาปากแห้ง ปากลอกเป็นขุยไม่ใช่เรื่องเล็กน้อย เพราะปัญหาเหล่านี้อาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพช่องปากที่ร้ายแรงตามมาได้ เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือแม้กระทั่งการติดเชื้อในช่องปาก หากคุณลองแก้ไขปัญหาด้วยตัวเองแล้วแต่ยังไม่ดีขึ้น ควรรีบปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที Smile Seasons เรามีทันตแพทย์ผู้ชำนาญการพร้อมช่วยคุณวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของอาการปากแห้ง และให้คำแนะนำในการรักษาที่เหมาะสมกับคุณมากที่สุด อย่าปล่อยให้ปัญหาปากแห้งเรื้อรัง จนบานปลายกลายเป็นปัญหาที่รุนแรง สามารถเข้ารับการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างครบวงจรกับที่ Smile Seasons คลินิกทันตกรรมที่พร้อมช่วยดูแลรอยยิ้มของคุณให้สวยงามและสุขภาพดีตลอดไป

บทความโดย

Picture of ทพ.ธนิตย์ วนิชนพรัตน์

ทพ.ธนิตย์ วนิชนพรัตน์

  • วุฒิบัตรทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ทันตแพทยสภา
  • Certificate of Training Orthodontic and Miniscrew
  • Advance Orthodontic Society
  • Certification of Invisalign Provider
  • ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้