เรื่องควรรู้ก่อน! “ตัดเหงือก” เจ็บไหม อันตรายหรือเปล่า ข้อดี-ข้อเสีย?
ยิ้มแล้วเห็นเหงือกเยอะทำให้ไม่มั่นใจ สามารถแก้ไขได้ด้วยการตัดเหงือก เมื่อพูดถึงรอยยิ้มที่สวยงามทุกคนมักจะสนใจที่รูปร่าง สีสัน และการเรียงตัวของฟัน อันที่จริงแล้วเหงือกก็มีส่วนสำคัญมากเช่นกัน
ภาวะยิ้มเห็นเหงือก หรือ Gummy Smile คือภาวะที่เหงือกปกคลุมลงมาที่ฟันมากกว่าปกติ ทำให้ฟันดูสั้น และมีรูปร่างไม่สวยงาม ซึ่งสามารถแก้ไขด้วยการตัดเหงือก (Gingivectomy, Esthetic Crown Lengthening)
สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลเกี่ยวกับการตัดเหงือก ตัดเหงือกที่ไหนดี ผ่าตัดเหงือกราคาเท่าไหร่ เจ็บหรือเปล่า มีข้อเสียอะไรไหม พบกับคำตอบได้ในบทความนี้
ตัดเหงือก คืออะไร
รอยยิ้มที่สวยงามนั้นประกอบด้วยหลายปัจจัย ซึ่งแต่ละปัญหาก็สามารถแก้ไขได้ด้วยการรักษาที่แตกต่างกัน เช่น ฟันที่เรียงตัวผิดปกติ ก็แก้ไขด้วยการจัดฟัน ฟันที่มีสีสันไม่สวยงาม ก็สามารถฟอกฟันขาวได้ หรือฟันที่บิ่น แตกหัก ก็อาจพิจารณาทำ วีเนียร์ หรือ ครอบฟัน
การตัดเหงือก (Gingivectomy) คือ การศัลยกรรมเพื่อแก้ไขภาวะยิ้มแล้วเห็นเหงือกด้านบนมากผิดปกติ คนทั่วไปเมื่อยิ้มจะเห็นแถบเหงือกแค่ประมาณ 3-4 มม. หากมากกว่านั้นเราจะเรียกว่า Gummy Smile หรือ ภาวะยิ้มเห็นเหงือก ภาวะนี้ทำให้ฟันสั้น สัดส่วนรอยยิ้มไม่สวยงาม คนไข้อาจจะสูญเสียบุคลิกภาพ เพราะไม่กล้ายิ้ม ไม่มีความมั่นใจในการพูด ยิ้ม หรือหัวเราะ
ทำไมต้องตัดเหงือก & สาเหตุที่เหงือกเยอะ
- ทำร่วมกับการรักษาทันตกรรมอื่นๆ เช่น
- ก่อนบูรณะฟันด้วยการ อุดฟัน การทำครอบฟัน ในกรณีฟันแตก หรือฟันผุใต้ขอบเหงือก
- เพื่อให้สามารถใส่เครื่องมือกันน้ำลาย (Rubber Dam) ได้ในคนไข้ที่ต้อง รักษารากฟัน
- ปรับปรุงความสวยงามของรอยยิ้มด้วยการตัดเหงือก
- แก้ไขภาวะ Gummy Smile
- ลดความอูมของเหงือก เพื่อให้รูปปากสวยงาม และรักษาความสะอาดของช่องปากได้สะดวกขึ้น
- ทำร่วมกับวีเนียร์เพื่อลดขนาดของเหงือก และเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับการใส่วีเนียร์
- แก้ไขภาวะบาดเจ็บจากฟันคู่สบกัดลงมาโดนเหงือกซึ่งงอกมาคลุมฟันซี่ที่ขึ้นไม่เต็มซี่ เช่นฟันคุด
- รักษาโรคปริทันต์อักเสบในรายที่จำเป็น
สาเหตุที่ทำให้เหงือกเยอะ เกิดจากอะไร
- การขึ้นของฟัน – อาจเป็นได้ทั้งการขึ้นของฟันที่ไม่เต็มที่ (Altered Passive Eruption) ทำให้เห็นว่าตัวฟันสั้น เพราะยังมีเหงือกปกคลุมตัวฟันที่เหลือ หรือการขึ้นของฟันในตำแหน่งที่ยื่นยาวเกินไป (Dentoalveolar Extrusion) ทำให้เหงือกยื่นยาวตามมามากขึ้น ซึ่งสามารถแก้ไขได้ด้วยการตัดเหงือก
- กระดูกขากรรไกรบนมีขนาดใหญ่ และยื่นย้อยลงมาเยอะผิดปกติ ส่วนหนึ่งเป็นจากพันธุกรรม เรียกอีกอย่างว่าภาวะ Vertical Maxillary Excess
- ผลข้างเคียงจากยา – ยาหลายชนิดสามารถทำให้เหงือกเจริญผิดปกติได้ ตัวอย่างเช่น ยากันชัก (Dilantin) ยากดภูมิคุ้มกัน (Cyclosporin) และยารักษาความดันโลหิตสูงบางชนิด (Amlodipine, Nifedipine)
- ตำแหน่งของริมฝีปากขณะยิ้ม – ริมฝีปากในคนไข้บางคนอาจวางตัวสูงจากขอบเหงือกเกินปกติ อาจเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อยกริมฝีปากที่มากเกินไป (Hypermobility Lip) หรือจากตัวริมฝีปากเองที่สั้นอยู่แล้ว (Short Lip)
วิธีตัดเหงือกมีทั้งหมดกี่วิธี
การตัดเหงือก แยกตามเครื่องมือที่ใช้ตัดของเหงือกมี 2 วิธี
1. ตัดเหงือกด้วยเลเซอร์ หรือ ระบบไฟฟ้า
เป็นวิธีตัดเหงือกที่ใช้เครื่องศัลยกรรมไฟฟ้าจี้บริเวณที่ต้องการตัด แทนการใช้ใบมีด แผลจะมีขนาดเล็ก และเลือดออกน้อยกว่า รวมทั้งไม่จำเป็นต้องเย็บแผล เจ็บน้อย แผลหายเร็ว อย่างไรก็ตามวิธีการนี้มักใช้ในเคสที่ไม่ค่อยซับซ้อน หรือไม่จำเป็นต้องเปิดเหงือกเพื่อกรอแต่งกระดูก
2. ตัดเหงือกด้วยใบมีด
เป็นวิธีดั้งเดิม และนิยมใช้ในการตัดเหงือก ซึ่งใช้ใบมีดขนาดต่างๆ ตามความเหมาะสม ตัดแต่งขอบเหงือกบริเวณที่ไม่ต้องการออก มักทำร่วมกับการเปิดเหงือก เพื่อกรอแต่งกระดูกเพิ่มเติม วิธีการนี้สามารถใช้ได้กับเคสซับซ้อน มีโอกาสที่จะเลือดออกมากกว่า รวมทั้งต้องเย็บแผล และมาตัดไหมกับคุณหมอภายใน 1-2 สัปดาห์
ศัลยกรรมตัดเหงือก มีกี่ประเภท
1. การตัดเหงือกอย่างเดียว
หากปัญหาของคุณอยู่ที่ฟันสั้น แต่ไม่มีกระดูกใต้เหงือกอูมผิดปกติ หรือในกรณีที่ต้องการตัดเหงือกเพื่อรักษาโรคปริทันต์อักเสบที่ไม่จำเป็นต้องตัดแต่งกระดูกร่วมด้วย การตัดเหงือกชนิดนี้ สามารถใช้เลเซอร์ หรือใบมีดในการทำก็ได้ เพราะไม่มีความจำเป็นต้องกรอกระดูก
2. การตัดเหงือกควบคู่กับการกรอกระดูกฟัน
ผู้ป่วยบางรายจำเป็นต้องลดความสูง (ความอูม) ของกระดูกใต้เหงือกร่วมด้วย จึงจะได้ผลลัพธ์ที่สวยงาม หรือในเคสที่เป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรงที่ผ่านการรักษาเบื้องต้นมาแล้ว วิธีนี้ใช้เวลารักษาที่นานกว่า โดยการใช้เครื่อง electrosurgery และ/หรือ ใบมีดตัดแต่งขอบเหงือก จากนั้นเปิดแผ่นเหงือก (Flap) กรอแต่งกระดูกให้ต่ำลงและลดความอูมนูน เย็บแผล และปิดแผลด้วยวัสดุปิดแผล (Periodontal dressing) คุณต้องกลับมาตัดไหมกับคุณหมอหลังจากผ่านไป 1-2 สัปดาห์
ทางเลือกในการรักษาภาวะยิ้มเห็นเหงือก (Gummy Smile)
การตัดเหงือก (Gingivectomy)
การจัดฟัน
ศัลยกรรมกระดูกขากรรไกร (Orthognathic Surgery)
ปรับเปลี่ยนยา
ศัลยกรรมปรับริมฝีปาก (Lip Repositioning)
BOTOX
การฉีดโบท็อกซ์สามารถช่วยให้กล้ามเนื้อยกริมฝีปากบนคลายตัวลง แต่จะไม่ได้ผลถาวรเหมือนการทำศัลยปรรมปรับริมฝีปาก (อยู่ได้ประมาณ 3-6 เดือน ต้องมีการฉีดซ้ำ)
ข้อดีของการตัดเหงือก
สุขอนามัยช่องปากดีขึ้น
ความสวยงาม
การตัดแต่ง หรือปรับรูปร่างของเหงือก ทำให้ฟันดูยาวขึ้น รอยยิ้มมีความสวยงาม มีความสมมาตรมากขึ้น
ความมั่นใจ
เมื่อมีรอยยิ้มที่สวยงาม ความมั่นใจก็จะเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะขณะยิ้ม หัวเราะ หรือรับประทานอาหาร การตัดเหงือกจึงช่วยให้คุณมีบุคลิกภาพที่ดีขึ้นได้
ลดโอกาสการสูญเสียฟันจากโรคปริทันต์อักเสบ
กรณีเป็นโรคเหงือกอักเสบรุนแรงและปล่อยไว้ ไม่ได้รับการรักษา จะดำเนินโรคไปเป็นโรคปริทันต์อักเสบรุนแรง ทำให้เนื้อเยื่อรอบๆ ฟันเสียหาย และนำไปสู่การสูญเสียฟัน การตัดเหงือกสามารถช่วยกำจัดเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบติดเชื้อออกไป เพื่อให้เหงือกที่มีสุขภาพดีถูกสร้างขึ้นมาแทนที่ ทำให้ฟันแข็งแรงมากขึ้น และอาจไม่จำเป็นต้องถอนฟันธรรมชาติของคุณ
ข้อจำกัดของการตัดเหงือก
- ความเจ็บปวด และความรู้สึกไม่สบาย – ในระหว่างและหลังการตัดเหงือก ผู้ป่วยอาจมีอาการปวด บวมได้ ซึ่งโดยปกติสามารถควบคุมได้ด้วยยาแก้ปวด และการประคบเย็นด้วย Cold pack หรือถุงน้ำแข็ง
- เลือดออก – คุณอาจพบเลือดออกได้เล็กน้อย และส่วนใหญ่คุณหมอสามารถควบคุมให้เลือดหยุดไหลได้ อย่างไรก็ตาม หากคุณมีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด คุณควรแจ้งคุณหมอให้รับทราบก่อนเริ่มการผ่าตัด เพื่อจะได้มีการเตรียมตัวอย่างเหมาะสมก่อนเข้ารับการตัดเหงือก
- การติดเชื้อ – ความเสี่ยงสูงสุดของการตัดเหงือกคือ การติดเชื้อทั้งในเหงือกเอง หรือการติดเชื้อไปยังอวัยวะอื่นๆ ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อคือ ผู้ที่มีโรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ หรือเคยเปลี่ยนลิ้นหัวใจมาก่อน ผู้ป่วยที่มีปัญหาเกี่ยวกับภูมิคุ้มกัน หรือกินยากดภูมิคุ้มกันอยู่
- ระยะเวลาในการรักษา – หลังตัดเหงือก อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์กว่าจะหายสนิท ในช่วงเวลานี้ คุณควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเหนียว แข็ง อาหารรสจัด ร้อนจัด หรือเย็นจัด ที่อาจทำให้เหงือกระคายเคืองได้
- เสียวฟันง่ายขึ้น – หลังตัดเหงือกแล้ว คุณอาจมีอาการเสียวฟันได้ง่าย เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งของเนื้อเยื่อรอบๆ เหงือก
- การกลับเป็นซ้ำของโรคเหงือก – แม้ว่าการตัดเหงือกจะช่วยกำจัดเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบติดเชื้อออกไป และทำให้สุขภาพโดยรวมของเหงือกดีขึ้น แต่ก็มีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเหงือกซ้ำได้หากไม่ได้รับการดูแล รักษาความสะอาดให้ดีพอ การตรวจสุขภาพช่องปากและฟันเป็นประจำ รวมทั้งการแปรงฟันร่วมกับใช้ไหมขัดฟันเป็นสิ่งสำคัญมากในการรักษาสุขภาพเหงือกที่ดี
ขั้นตอนเตรียมตัวก่อนตัดเหงือก
หากคุณกำลังเตรียมตัวสำหรับการตัดเหงือก นี่คือขั้นตอนบางส่วนที่คุณสามารถทำได้ก่อนเข้ารับการรักษา
รับคำปรึกษาจากคุณหมอ
รักษาปัญหาทันตกรรมอื่นๆ
จัดเตรียมการเดินทาง
สวมเสื้อผ้าที่ใส่สบาย
ตุนอาหารไว้ในบ้าน
วางแผนวันพัก
แปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันเป็นประจำ
หยุด หรือลดการสูบบุหรี่
วิธีการตัดเหงือก
- ตรวจสุขภาพช่องปากของคุณ – หากเหงือกมีการอักเสบ จะเลือดออกได้ง่ายและมากกว่าปกติ คุณอาจต้องทำการรักษาให้อาการดีขึ้นก่อนจึงจะสามารถตัดเหงือกได้ เพื่อให้คุณหมอทำงานได้สะดวกขึ้น ตัดแต่งระดับขอบเหงือกได้สวยกว่า แผลหายเร็วกว่า
- การเตรียมตัว – คุณหมอจะฉีดยาชาเฉพาะที่ตรงบริเวณที่ต้องการตัดเหงือก ในขั้นตอนนี้คุณอาจรู้สึกเจ็บเล็กน้อย แต่หลังจากนี้คุณจะรู้สึกสบายขึ้น
- การกำจัดเนื้อเยื่อ – คุณหมออาจใช้ใบมีดผ่าตัด เลเซอร์ หรืออุปกรณ์พิเศษ เพื่อกำจัด หรือเปลี่ยนรูปร่างของเหงือก โดยแผลจะอยู่ตามแนวของเหงือก และส่วนที่เกินออกมาจะถูกตัดออก
- การเปิดเหงือกและการกรอแต่งกระดูก – ในกรณีที่คุณมีสันกระดูกอูมมาก คุณหมอจะเปิดช่องที่เหงือกและกรอแต่งกระดูกใต้สันเหงือกบางส่วนออกไป
- การปิดแผล – เมื่อนำเนื้อเยื่อออกตามจำนวนที่ต้องการ และเหงือกมีรูปร่างตามที่ต้องการแล้ว แผลจะถูกปิด ในบางกรณีหากเลือดหยุดดี และแผลไม่ใหญ่มาก คุณอาจไม่ต้องเย็บแผลก็ได้ แต่ในกรณีที่มีการเปิดช่องกรอกระดูกร่วมด้วย หรือมีแผลใหญ่ คุณหมออาจพิจารณาเย็บแผล เพื่อป้องกันเลือดออก และช่วยในขั้นตอนการหายของแผลให้แผลหายเร็วขึ้น
- การพักฟื้น – หลังตัดเหงือกแล้ว คุณจะได้รับคำแนะนำในการดูแลตัวเองและการพักฟื้น ซึ่งอาจรวมถึงการรับประทานยาแก้ปวด หลีกเลี่ยงอาหารแข็ง หรือกรอบ และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่
- การติดตามผล – คุณจะต้องกลับมาติดตามอาการ และอาจตัดไหมออก (ในกรณีที่มีการเย็บแผล) เพื่อให้แน่ใจว่าเหงือกที่ได้รับการรักษาไปมีการฟื้นตัวที่ดี ที่รูปร่างที่สวยงามตรงตามแผน ปราศจากการอักเสบ หรือติดเชื้อ
ขั้นตอนการดูแลตัวเองหลังผ่าตัด
- รับประทานยาแก้ปวด – คุณหมอมักสั่งยาแก้ปวด เช่น Paracetamol หรือ Ibuprofen เพื่อช่วยจัดการกับความรู้สึกไม่สบายที่คุณอาจพบหลังตัดเหงือก
- หลีกเลี่ยงอาหารแข็งหรือกรอบ – อาหารอ่อน และรสไม่จัด เช่น โจ๊ก ข้าวต้ม ซุป หรือโยเกิร์ต จะดีที่สุดในช่วง 2–3 วันแรกหลังตัดเหงือก หลีกเลี่ยงอาหารที่แข็งมาก หรือเผ็ดมากซึ่งอาจทำให้เหงือกระคายเคือง หรือเศษอาหารติดอยู่ในบริเวณที่ทำการตัดเหงือก
- ประคบเย็น – การประคบเย็นตรงบริเวณที่ได้รับการรักษา สามารถช่วยลดอาการบวม และอาการปวดได้
- บ้วนปากของคุณ – คุณหมออาจแนะนำให้คุณบ้วนปากด้วยน้ำเกลือ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อเพื่อช่วยลดอาการบวม และส่งเสริมให้แผลหายเร็วขึ้น
- แปรงและใช้ไหมขัดฟันเบาๆ – คุณสามารถแปรงฟันและใช้ใหมขัดฟันได้ตามปกติตรงบริเวณอื่นๆ แต่ควรงดแปรงหรือแปรงอย่างเบามือในบริเวณที่ได้รับการผ่าตัดใน 1 สัปดาห์แรก
- หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ – การสูบบุหรี่อาจทำให้กระบวนการหายของแผนช้าลง ดังนั้น สิ่งสำคัญคือต้องหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนและหลังตัดเหงือก
- มาตามนัดคุณหมอ – คุณหมอมักนัดติดตามผลเพื่อประเมินกระบวนการรักษา และตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกอย่างเป็นไปตามที่วางแผนไว้
รีวิวตัดเหงือกที่ Smile Seasons
ตัดเหงือก ราคาเท่าไหร่
ผ่าตัดเหงือก (Gingivectomy/ Gingivoplasty) | 5,000-7,500 ต่อซี่ |
ตัดแต่งเหงือกด้วยเครื่องตัดเหงือกไฟฟ้า | 1,000-1,500 ต่อตำแหน่ง |
ผ่าตัดตกแต่งเหงือกเพื่อเพิ่มความยาวตัวฟัน แก้ไขภาวะเหงือกเยอะ (Gummy Smile) | 18,000-22,000 (มักแก้ไขพร้อมกัน 6-10 ซี่) |
ตัดเหงือกที่ไหนดี
หากคุณต้องการเลือกคลินิกสำหรับการตัดเหงือก คุณควรพิจารณาปัจจัยต่างๆ เพื่อให้แน่ใจว่าคุณจะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี และผลการรักษาออกมาดีที่สุด เคล็ดลับในการเลือกคลินิกสำหรับการตัดเหงือกมีดังนี้
1. มองหาผู้เชี่ยวชาญ
2. พิจารณาชื่อเสียงของคลินิก
3. เปรียบเทียบค่าใช้จ่าย
4. ลองเข้ามาปรึกษาคุณหมอ
FAQ คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการตัดเหงือก
ตัดเหงือกตอนจัดฟันได้ไหม
การตัดเหงือกสามารถทำได้ทั้งก่อน ระหว่าง และหลังจัดฟัน ขึ้นอยู่กับข้อบ่งชี้ในการรักษา หากฟันของคุณมีพื้นที่น้อยเกินไปสำหรับการติดเครื่องมือจัดฟัน (Bracket) คุณหมออาจพิจารณาตัดเหงือกให้คุณก่อนเริ่มจัดฟัน
ส่วนในกรณีอื่นๆ คุณหมอมักจะแนะนำให้ทำหลังจากจัดฟันเสร็จเรียบร้อยแล้ว เนื่องจากการจัดฟันจะทำให้ฟันเคลื่อนตำแหน่งไปเรื่อยๆ จึงเป็นการดีกว่าถ้าจะวางแผนจากตำแหน่งของฟันที่จัดฟันเสร็จแล้ว คุณหมอจะได้วางแผนการตัดเหงือกให้เหมาะสมกับรอยยิ้มของคุณได้ดียิ่งขึ้น
ตัดเหงือกเจ็บไหม
การตัดเหงือกเป็นหัตถการทางศัลยกรรมชนิดหนึ่งที่ย่อมมีความเจ็บปวด หรือความไม่สบายเกิดขึ้นได้บ้าง อย่างไรก็ตาม คุณหมอจะฉีดยาชาให้ก่อนเริ่มการรักษา ฉะนั้นในระหว่างตัดเหงือก คุณจะไม่รู้สึกถึงความเจ็บปวดใดๆ หลังจากนั้นคุณหมอจะจ่ายยาให้คุณรับประทานเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดลง
ตัดเหงือกอันตรายไหม
การตัดเหงือกถือเป็นการผ่าตัดเล็ก ที่ไม่ค่อยอันตราย ใช้การเตรียมตัวน้อย รวมทั้งมีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้น้อย อย่างไรก็ตาม ปัญหาเช่น ความเจ็บปวดหลังผ่าตัด เลือดออก และการติดเชื้อยังสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ
ตัดเหงือกกี่วันหาย
คุณอาจรู้สึกเจ็บ และบวมอยู่ 2-3 วันหลังตัดเหงือก ส่วนแผลผ่าตัดนั้นใช้เวลา 7-10 วันก็สามารถหายเป็นปกติได้ อย่างไรก็ตามเหงือกอาจมีการเปลี่ยนเปลี่ยนรูปทรงได้อีกเล็กน้อยหลังจากแผลหายดี ซึ่งอาจใช้เวลานานหลายเดือน
ตัดเหงือกไปแล้ว จะงอกกลับมาใหม่ไหม
การตัดเหงือกเป็นการรักษาที่ถาวร เหงือกที่ผ่านการผ่าตัดแล้วจะไม่งอกกลับขึ้นมาใหม่ หากดูแลสุขภาพช่องปากได้ดีพอ
- Gingivectomy: Who Might Need It & Why., Available from: https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/24749-gingivectomy
- Gingivectomy: Procedure, pictures, and more., Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/gingivectomy
- Gingivectomy: What to Expect, Recovery, Cost, and More., Available from: https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/gingivectomy
- Gingivectomy Surgery: What You Need To Know., Available from: https://www.colgate.com/en-us/oral-health/gum-disease/gingivectomy-surgery-what-you-need-to-know
บทความโดย
ทพญ.เพียงใจ รัศมีโชคลาภ
MSc(Clin) Dent in Periodontology, University of Manchester, UK (ปริญญาโท สาขาปริทันตวิทยา)
ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
ตัดเหงือก กับ Smile Seasons
คุณเป็นคนหนึ่งที่ยิ้มแล้วเห็นเหงือกเยอะหรือเปล่า? ให้การตัดเหงือกกับ Smile Seasons ช่วยให้รอยยิ้มของคุณสวยงามแถมมีสุขภาพที่ดีขึ้น คุณจะได้รับดูแลโดยทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีความเชี่ยวชาญ คุณหมอจะกำจัดเหงือกส่วนเกินออกอย่างระมัดระวัง เพื่อเผยให้เห็นฟันของคุณมากขึ้น สร้างรอยยิ้มที่สมดุล สมมาตร และสวยงามมากยิ่งขึ้น ขั้นตอนนี้ง่าย รวดเร็ว และใช้เวลาพักฟื้นเพียงไม่นาน
อย่าปล่อยให้รอยยิ้มที่มีเหงือกปกคลุม รั้งคุณไว้อีกต่อไป ก้าวแรกสู่รอยยิ้มที่สดใสและมั่นใจยิ่งขึ้นเริ่มต้นวันนี้ด้วยการลงทะเบียนในแบบฟอร์มด้านล่าง เจ้าหน้าที่ของเราจะติดต่อกลับหาคุณเพื่อทำนัดคุณเข้ามาพูดคุย และปรึกษากับคุณหมอของเราได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย – เรียนรู้เพิ่มเติมว่าการตัดเหงือกมีประโยชน์ต่อคุณอย่างไร การตัดเหงือกเหมาะสมกับคุณหรือเปล่า
ติดต่อเจ้าหน้าที่
อย่าลังเลที่จะติดต่อเรา เจ้าหน้าที่ของเราพร้อมให้บริการตอบคำถาม ข้อสงสัย ประเมินค่าใช้จ่าย ทำนัดปรึกษากับคุณหมอ โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพียงกรอก ชื่อนามสกุล เบอร์โทร และ Email เจ้าหน้าที่ของเราจะรีบติดต่อกลับไปให้ข้อมูลคุณโดยเร็วที่สุด
โปรโมชั่นอื่นๆ
เกลารากฟันคืออะไร สำคัญต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร
เกลารากฟันคืออะไร สำคัญต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร การเกลารากฟัน หรือ Root Planing เป็นการรักษาทางทันตกรรมที่พบได้บ่อย และสำคัญมาก มักเป็นหนึ่งในทางเลือกแรกของการรักษา โรคปริทันต์ และ โรคเหงือกอักเสบที่รุนแรง หากคุณหนึ่งในคนที่ได้รับคำแนะนำจากทันตแพทย์ให้เกลารากฟัน ในบทความนี้คุณหมอจะมาอธิบาย ข้อบ่งชี้ ขั้นตอน ข้อควรระวัง และการดูแลตัวเองหลังเกลารากฟัน เกลารากฟันคืออะไร เกลารากฟัน (Root Planing) เป็นหัตถการทางทันตกรรมที่มุ่งเน้นการกำจัดคราบหินปูนและจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่บริเวณใต้เหงือก ซึ่งแตกต่างจากการขูดหินปูนโดยทั่วไปที่เน้นการกำจัดหินปูนที่อยู่เหนือเหงือก
ทำความเข้าใจการปักสกรูเวลาจัดฟันคืออะไร
ทำความเข้าใจการปักสกรูเวลาจัดฟันคืออะไร การปักสกรูเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้จัดฟัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่ได้ทำในทุกคน คุณหมอจะพิจารณาใช้วิธีการปักสกรูในคนไข้จัดฟันบางรายที่จำเป็นต้องใช้แรงดึงที่ซับซ้อนในการเคลื่อนตำแหน่งของฟันเท่านั้น แม้ว่าการปักสกรูจัดฟันจะฟังดูน่ากลัว แต่จริง ๆ แล้วเป็นกระบวนการที่ปลอดภัย ไม่ซับซ้อน และเจ็บน้อยกว่าที่คิด บทความนี้จะช่วยทุกคนไปทำความเข้าใจว่าทำไมถึงต้องใช้การปักสกรูจัดฟัน หมุดจัดฟันคืออะไร หมุดจัดฟันหรือสกรูจัดฟัน (Orthodontic Mini-screws) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ทำจากโลหะไทเทเนียม มีคุณสมบัติพิเศษคือไม่ก่อให้เกิดการแพ้ หมุดจัดฟันมีขนาดเล็กมาก โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2-2 มิลลิเมตร และยาว 6-12 มิลลิเมตร
ใครจัดฟันต้องอ่าน เลือกแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันอย่างไรให้เหมาะสม
ใครจัดฟันต้องอ่าน เลือกแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันอย่างไรให้เหมาะสม การจัดฟันแบบติดแน่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเรื่องการทำความสะอาดช่องปาก เพราะเครื่องมือจัดฟันมักเป็นที่สะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย การเลือกแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันให้มีความเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ ที่ผู้จัดฟันควรให้ความใส่ใจ เพื่อให้สามารถทำความสะอาดช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันต่างจากแปรงสีฟันทั่วไปอย่างไร แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ โดยมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากแปรงสีฟันทั่วไป ทั้งในด้านขนแปรงที่มีความนุ่มและความหนาแน่นพิเศษ พร้อมทั้งมีรูปทรงที่ออกแบบมาให้เข้าถึงซอกมุมรอบเครื่องมือจัดฟันได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ทำความสะอาดได้ทุกซอกมุม ที่สำคัญด้ามจับที่ออกแบบมาให้จับถนัดมือเพื่อให้ควบคุมแรงได้ดี ช่วยให้สามารถทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึงโดยที่ไม่ทำลายเหงือกและฟัน ทำไมคนจัดฟันต้องใช้แปรงสีฟันพิเศษ? เครื่องมือจัดฟันที่ติดแน่นบนผิวฟันเป็นจุดที่เศษอาหารและคราบแบคทีเรียสะสมได้ง่าย แปรงสีฟันทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงซอกมุมเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งขนแปรงที่แข็งเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองเหงือกและทำลายผิวฟันได้ การใช้แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันจึงช่วยให้การทำความสะอาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ชวนหาคำตอบจัดฟันแล้วฟันผุเกิดจากอะไร
ชวนหาคำตอบจัดฟันแล้วฟันผุเกิดจากอะไร การจัดฟันเป็นทันตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาการเรียงตัวของฟันให้มีความสวยงามและมีการสบฟันที่เป็นปกติ แต่เนื่องจากการจัดฟันแบบติดแน่นต้องมีเครื่องมือจัดฟันอยู่บนฟันทุกซี่และไม่สามารถถอดออกได้ ทำให้การทำความสะอาดฟันทำได้ยากกว่าปกติ หากดูแลสุขภาพช่องปากได้ไม่ดี อาจทำให้เกิดปัญหาจัดฟันแล้วฟันผุตามมาได้ มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้จัดฟันแล้วฟันผุมีอะไรบ้าง และมีวิธีป้องกันแก้ไขอย่างไร สาเหตุที่ทำให้จัดฟันแล้วฟันผุ การจัดฟันไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดฟันผุ แต่การจัดฟันแบบติดแน่นที่จำเป็นต้องติดเครื่องมือที่ฟัน ทำให้ส่งผลให้คราบอาหารเข้าไปติดได้ง่ายขึ้น จึงทำความสะอาดช่องปากได้ยากขึ้น ทั้งการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟัน ซึ่งถือเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย หากทำความสะอาดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงให้จัดฟันแล้วฟันผุได้มากกว่าคนที่ไม่ได้จัดฟัน สัญญาณเตือนที่ควรระวังว่าอาจมีปัญหาจัดฟันแล้วฟันผุ ฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อยในผู้ที่จัดฟัน โดยเฉพาะผู้ที่ดูแลความสะอาดช่องปากไม่ดีพอ มาดูกันว่ามีสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังมีปัญหาจัดฟันแล้วฟันผุ มีกลิ่นปาก
เปิดเทคนิคการเลือกแปรงสีฟันไฟฟ้าให้ตอบโจทย์
เปิดเทคนิคการเลือกแปรงสีฟันไฟฟ้าให้ตอบโจทย์ ในปัจจุบัน แปรงสีฟันไฟฟ้าได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมาก และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่คนนิยมเลือกซื้อเพื่อมาดูแลรักษาสุขอนามัยช่องปากของตัวเอง แปรงสีฟันไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีไม่ต่างจากแปรงสีฟันโดยทั่วไป แต่ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าแล้วแปรงสีฟันไฟฟ้าดีกว่าจริงหรือไม่ คุ้มค่าไหมที่จะหาซื้อมาใช้ บทความนี้จะมาแนะนำแปรงสีฟันไฟฟ้าแบบต่างๆ พร้อมเทคนิคการเลือกซื้อแปรงสีฟันไฟฟ้าให้เหมาะกับคุณ พร้อมทั้งแนะนำ ประเภท คุณสมบัติ และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าแปรงสีฟันไฟฟ้าเหมาะกับการดูแลสุขภาพช่องปากของคุณหรือไม่ แปรงสีฟันไฟฟ้า คืออะไร แปรงสีฟันไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่หรือการชาร์จไฟ เพื่อขับเคลื่อนหัวแปรงให้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถขจัดคราบพลัคและเศษอาหารได้ดีกว่าแปรงสีฟันธรรมดา แปรงสีฟันไฟฟ้ามักมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ระบบจับเวลา โหมดการทำงานหลากหลาย
เปิดสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วทอนซิล พร้อมแชร์วิธีรักษานิ่วทอนซิล
เปิดสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วทอนซิล พร้อมแชร์วิธีรักษานิ่วทอนซิล นิ่วทอนซิลเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้ไม่บ่อยนัก มักเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก แม้จะไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ บทความนี้ Smile Seasons จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ สาเหตุการเกิดนิ่วทอนซิล อาการ และวิธีรักษานิ่วทอนซิลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นิ่วทอนซิลคืออะไร นิ่วทอนซิล หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Tonsil Stones หรือ Tonsilloliths คือ ก้อนสีขาวเหลืองขนาดเล็กที่เกิดขึ้นตามซอกของต่อมทอนซิล ซึ่งก้อนเหล่านี้เกิดจากการสะสมของเศษอาหาร