ยิ้มเห็นเหงือกเยอะ Gummy Smile แก้ไขอย่างไรดี
Gummy Smile หรือภาวะยิ้มเห็นเหงือก เป็นภาวะที่คนไข้หลายคนเป็นกังวลเพราะเป็นเรื่องเกี่ยวกับความสวยงาม และความมั่นใจ คนไข้มักมาปรึกษาคุณหมอด้วย เห็นเหงือกมากเกินไป เหงือกดูใหญ่ หรือตัวฟันสั้นเกินไป รอยยิ้มที่สวยงามนั้นประกอบไปด้วยหลายปัจจัย ไม่เพียงแค่มีตำแหน่งของฟันที่ดี แต่ยังรวมถึงขากรรไกรบนและล่างซึ่งต้องอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม และมีการทำงานของกล้ามเนื้อยกริมฝีปากที่พอเหมาะ
สาเหตุของ Gummy Smile
การขึ้นของฟัน
อาจเป็นได้ทั้งการขึ้นของฟันที่ไม่เต็มที่ (Altered Passive Eruption) ทำให้เห็นว่าตัวฟันสั้น เพราะยังมีเหงือกปกคลุมตัวฟันที่เหลือ หรือการขึ้นของฟันในตำแหน่งที่ยื่นยาวเกินไป (Dentoalveolar Extrusion) ทำให้เหงือกยื่นยาวตามมามากขึ้น
การเจริญของขากรรไกรบน ที่ผิดปกติ
ภาวะ Vertical Maxillary Excess เป็นภาวะที่ขากรรไกรบนมีการเจริญเติบโตที่ยื่นย้อยมากเกินไป ส่วนหนึ่งพบว่าเกิดจากพันธุกรรม
ผลข้างเคียงจากยา
พบว่ามียาหลายตัวที่ส่งผลทำให้เกิดภาวะเหงือกโต ตัวอย่างยาที่มักก่อให้เกิดปัญหาคือ ยาในกลุ่ม ยากันชัก ยากดภูมิคุ้มกัน และยารักษาความดันโลหิตสูงบางตัว
ตำแหน่งของริมฝีปากขณะยิ้ม
หากริมผีปากวางตัวสูงจากขอบเหงือกขึ้นไปเกินปกติ อาจเกิดจากการทำงานของกล้ามเนื้อยกริมฝีปากที่มากเกินไป (Hypermobility Lip) หรือจากตัวริมฝีปากเองที่สั้นอยู่แล้ว (Short Lip)
อย่างไรก็ตาม บางครั้งคนไข้หนึ่งคนอาจมีภาวะ Gummy Smile ซึ่งเกิดมาจากหลายสาเหตุที่กล่าวไปข้างต้นร่วมกันได้ ดังนั้นทันตแพทย์จะต้องค้นหาสาเหตุทั้งหมดก่อนจึงจะนำมาประยุกต์วางแผนการรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้แต่ละรายต่อไป
การรักษา Gummy Smile
การตัดแต่งเหงือก (Gingivectomy)
การตัดเหงือก หรือเรียกอีกอย่างว่า Esthetic Crown Lengthening ใช้แก้ไขปัญหา Gummy Smile ที่เกิดขึ้นจากเหงือกมาคลุมตัวฟันมากเกินไป การตัดแต่งเหงือกอาจใช้ใบมีด เครื่องศัลยกรรมไฟฟ้า หรือ Laser โดยทันตแพทย์จะมีการดูความสัมพันธ์ระหว่างระดับขอบเหงือกใหม่และระดับกระดูกข้างใต้ หากไม่สัมพันธ์กันอาจต้องมีการตัดแต่งขอบกระดูกร่วมด้วยเล็กน้อย (Osseotomy)
การจัดฟัน
ในบางกรณี การจัดฟัน จะช่วยลดความยื่นยาวของตำแหน่งฟันได้ แต่หากฟันเคลื่อนตัวกลับเข้าไปในกระดูกมากขึ้น อาจทำให้ตัวฟันดูสั้นลง ซึ่งจะต้องมีการตัดแต่งเหงือกและกระดูกร่วมด้วยในภายหลัง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่สวยงาม
ศัลยกรรมกระดูกขากรรไกร (Orthognathic Surgery)
เป็นการผ่าตัดเคลื่อนย้ายขากรรไกรให้ไปอยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม ทำให้ใบหน้าสมดุลมากขึ้น มักทำร่วมกับการจัดฟัน
ปรับเปลี่ยนยา
ยาบางประเภทส่งผลให้เหงือกเจริญเติบโตผิดปกติ คุณหมอฟัน จะปรึกษากับคุณหมอประจำตัวของคนไข้เพื่อปรับขนาด หรือเปลี่ยนยาไปเป็นกลุ่มอื่นๆ แต่หากเปลี่ยนยาไปสักระยะแล้วขนาดของเหงือกยังไม่ลดลง ก็อาจพิจารณาตัดแต่งเหงือกร่วมด้วย
ศัลยกรรมปรับริมฝีปาก (Lip Repositioning)
ทันตแพทย์จะทำการตัดแต่งกล้ามเนื้อยกริมฝีปากบน เพื่อลดแรงในการทำให้ยิ้มสูงได้
BOTOX
การฉีด BOTOX จะสามารถช่วยทำให้กล้ามเนื้อยกริมฝีปากบนคลายตัวลง แต่ผลจะไม่ถาวร (อยู่ได้ประมาณ 3-6 เดือน)
ขั้นตอนการตัดแต่งเหงือก
- ตรวจสุขภาพช่องปากกับคุณหมอ หากมีเหงือกอักเสบ จะต้องทำการรักษาให้ดีก่อน จึงจะสามารถเริ่มการตัดแต่งเหงือกได้ เนื่องจากจะทำให้คุณหมอตัดแต่งระดับขอบเหงือกได้สวยกว่า รวมทั้งเลือดไม่ออกมากในระหว่างทำการรักษา
- การรักษาจะทำภายใต้ยาชาเฉพาะที่ (Local Anesthesia)
- โดยทั่วไปมักนิยมทำให้ฟันหน้าบน เป็นจำนวน 6-10 ซี่
- เวลาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับ จำนวน ตำแหน่งของฟัน รวมถึงวิธีผ่าตัด ซึ่งส่วนใหญ่ใช้เวลาประมาณ 60-90 นาที
- ภายหลังศัลยกรรม 7-10 วัน คุณหมอจะนัดดูแผล และตัดไหม ซึ่งอาจต้องติดตามผลการรักษาอีกครั้งในช่วง 1-2 เดือนถัดไป
การรักษาด้วยการตัดแต่งเหงือกมีอยู่ 2 แบบ
การตัดแต่งเหงือกเพียงอย่างเดียว
วิธีนี้ใช้เวลารักษาไม่นาน ไม่ต้องเย็บแผลหลังทำเสร็จ เจ็บและบวมเล็กน้อยเท่านั้น
การตัดแต่งเหงือก ร่วมกับการกรอตกแต่งกระดูก
ผู้ป่วยบางรายต้องลดความสูงของกระดูกร่วมด้วย จึงจะได้ผลลัพธ์ที่สวยงาม วิธีนี้ใช้เวลานานกว่า ต้องมีการเย็บ และ/หรือ มีวัสดุปิดแผลปิดทับ อาจเจ็บและบวมได้เล็กน้อยในช่วง 3 วันหลังการรักษา
เคสตัวอย่าง
เคสตัวอย่างจากคนไข้ของ Smile Seasons Dental Clinic เราดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของคุณ ที่รอยสวยขึ้น และมั่นใจมากขึ้น กรุณาเลื่อนซ้ายขวา เพื่อเปรียบเทียบผลลัพธ์ก่อน และหลังทำการรักษา
เคสตัวอย่างที่ 1
เคสตัวอย่างที่ 2
เคสตัวอย่างที่ 3
เคสตัวอย่างที่ 4
เคสตัวอย่างที่ 5
เคสตัวอย่างที่ 6
Share This Page
ต้องการปรึกษาคุณหมอ
อยากเข้ามาปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับภาวะเหงือกเยอะ หรือ Gummy Smile? เพียงลงทะเบียนและรอเจ้าหน้าที่ของเราติดต่อกลับ (การปรึกษาคุณหมอไม่มีค่าใช้จ่าย)
ทพญ.เพียงใจ รัศมีโชคลาภ
ทันตกรรมทั่วไป
- ปริญญาโท Master of Science in Dentistry in Periodontology, U of Manchester, UK
- อาจารย์พิเศษคณะทันตแพทยศาสตร์ มศว.
- ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ม.เชียงใหม่
คุณหมอจะมาบอกอาหารที่มีผลเสียต่อสุขภาพฟันและเหงือกของคุณ มาเช็คกันเลยว่ามีอาหารจานโปรด หรือเครื่องดื่มสุดรัก ที่คุณรับประทานเป็นประจำอยู่ในรายการหรือไม่?
มีคนใกล้ตัวบอกว่าคุณนอนกัดฟันอยู่หรือเปล่า? นอนกัดฟันสามารถทำให้คุณปวดกราม ปวดหัว และยังทำให้ฟันสึกได้ – เรียนรู้วิธีการสังเกต และการรักษาภาวะนอนกัดฟันได้ที่นี่
ชวนทุกคนมาหาข้อเท็จจริงว่า เมื่อถอนฟันคุด หรือจัดฟันแล้วจะทำให้หน้าเรียวเล็กลงจริงหรือไม่ในบทความนี้