หมุดจัดฟันคืออะไร คุณหมอมีคำตอบ
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากจัดฟัน และคุณหมอแนะนำว่าต้องปักหมุด หรือใช้ Miniscrew คุณอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร จำเป็นต้องทำหรือไม่ วันนี้เรามีบทความจากคุณหมอเอ็ม คุณหมอเฉพาะทางด้านจัดฟันของคลินิกทันตกรรม Smile Seasons มาตอบข้อสงสัย และให้ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Miniscew กันครับ
หมุดจัดฟันคืออะไร?
หมุดจัดฟัน (Miniscrew หรือ TAD – Temporary Anchorage Device) นั้นเป็นโลหะลักษณะคล้ายน็อตขนาดเล็ก ประมาณ 6-10 มม. ที่มีส่วนผสมของไททาเนี่ยม ทำหน้าที่เป็นอุปกรณ์เสริมสำหรับการจัดฟันเพื่อใช้สำหรับเป็น ‘หลักยึด’ ในการดึงฟันของคุณให้เคลื่อนตามที่ทันตแพทย์จัดฟันวางแผนเอาไว้
Miniscrew จุดปักลงไปบริเวณกระดูกหรือสันเหงือกชั่วคราวระหว่างการจัดฟัน ซึ่งทันตแพทย์จัดฟันจะเอาหมุดออกหลังจากการรักษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว
ทำไมต้องใช้หมุดจัดฟันด้วย?
การจัดฟัน (Orthodontic Treatment) เป็นการรักษาทางทันตกรรมเพื่อแก้ไขสภาวะการสบฟันที่ผิดปกติ โดยใช้หลักการของแรงทางฟิสิกส์ ร่วมกับหลักการกลศาสตร์ชีววิทยา (biomechanical) ในการ ‘เคลื่อนฟัน’ จากตำแหน่งที่ผิดปกติไปยังตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อฟัน หรืออวัยวะรอบๆ ฟัน
ทั่วไปแล้วการเคลื่อนฟันแต่ละซี่จะต้องใช้ ‘หลักยึด’ ในการดึงฟัน ซึ่งปกติก็จะเป็นฟันด้วยกันเองที่ถูกใช้สำหรับเป็นหลักยึดในการดึง เช่น การใช้ฟันหลังหลายๆ ซี่มัดรวมกันเพื่อดึงฟันหน้า เป็นต้น
โดยกรณีที่มีการสูญเสียหลักยึด หรือต้องการดึงฟันไปในทิศทางที่ไม่มีหลักยึด คุณก็อาจต้องใช้หมุดจัดฟันเป็นตัวช่วยในการเคลื่อนตำแหน่งของฟัน
ตัวอย่างกรณีที่ใช้หมุดจัดฟันที่พบบ่อย เช่น
- การถอยฟันหลัง ร่วมกับดึงฟันหน้าเข้า ในคนไข้ที่ไม่มีการถอนฟัน หรือมีการสูญเสียฟันหลังไป
- การปิดช่องว่างฟัน โดยที่ไม่ต้องการให้ฟันข้างเคียงมีการเปลี่ยนตำแหน่ง
- การกด (Intrusion) ฟันหลัง หรือฟันหน้าลงไปในกระดูก
ขั้นตอนการใส่หมุดจัดฟัน
ปรึกษาคุณหมอเพื่อตรวจดูการสบฟัน และวางแผนการรักษาเบื้องต้น ว่ามีความจำเป็นต้องใช้การปักหมุดร่วมในการจัดฟันหรือไม่ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเริ่มทำการปักหมุดหลังจากติดเครื่องมือจัดฟัน และเรียงฟันไปได้อย่างน้อย 6 เดือน
ก่อนทำการปักหมุด คุณอาจต้องได้รับการ X-ray บางตำแหน่ง เพื่อตรวจเช็คปริมาณกระดูก ตำแหน่งของรากฟันข้างเคียง เพื่อใช้ในการประเมินและวางแผนการรักษา
ในวันที่ใส่หมุดจัดฟัน คุณหมอจะทำการฉีดยาชาเฉพาะที่ให้กับคุณ และรอประมาณ 5-10 นาที เพื่อให้ยาชาออกฤทธิ์
คุณหมอจะทำการฝังหมุดเข้าไปในกระดูกให้ ซึ่งขั้นตอนนี้ใช้เวลาประมาณ 10 นาที
การปฎิบัติตัวหลังจากปักหมุด
หลังจากปักหมุดไปแล้ว สามารถทานยาแก้ปวดได้ตามอาการในช่วง 1-2 วันแรก
รับประทานอาหารได้หลังจากยาชาหมดฤทธิ์แล้ว ซึ่งใช้เวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง
หลีกเลี่ยงเคี้ยวอาหารแข็งๆ ที่จะไปกระแทกตำแหน่งของหมุดจัดฟันให้ชำรุด หรือหลุดได้
ทำความสะอาดรอบๆ หมุดเป็นประจำทุกวัน โดยใช้แปรงขนาดเล็กแปรงเบาๆ รอบหมุดจัดฟันเพื่อป้องกันเหงือกอักเสบ
กรณีหมุดหลวม หรือโยก ให้ติดต่อเราเพื่อนัดพบกับทันตแพทย์ ถ้าหมุดหลุดให้เก็บเอาไว้และนำมาให้คุณหมอในวันนัด
Share This Page
ทพ.วีรวัฒน์ บัวเผื่อน
ทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาจัดฟัน
- ประกาศนียบัตรทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาทันตกรรมจัดฟัน ม.มหิดล
- วุฒิบัตรผู้เชี่ยวชาญ (ทันตกรรมจัดฟัน) ทันตแพทยสภา
- Official Invisalign Provider
- ทันตแพทยศาสตร์บัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เกียรตินิยมอันดับ 2)
เจาะลึกการจัดฟันแบบโลหะ หรือจัดฟันแบบเหล็ก มีข้อดี-ข้อเสียอย่างไร จัดฟันแบบโลหะดีไหม จัดฟันแบบโลหะราคาเท่าไหร่
ก่อน หลัง จัด ฟัน เป็นยังไง แตกต่างกันไหม ควรเตรียมตัวก่อนจัดฟันอย่างไร ระหว่างจัดฟันควรดูแลฟันอย่างไร สามารถทานอะไรได้บ้าง หลังจัดเสร็จแล้วหน้าเปลี่ยนไปจริงไหม
รวมเทคนิคเลือกคลินิกทำฟันที่ไหนดี มีทีมทันตแพทย์เฉพาะทางที่มีประสบการณ์คอยให้คำแนะนำ ราคาเป็นมิตร เลือกคลินิกทำฟัน จัดฟันอย่างไรให้คุ้มค่าและปลอดภัย