ฟันซ้อนคืออะไร ถอนได้ไหม แนะนำวิธีแก้ฟันซ้อนที่ทำแล้วได้ผลดีที่สุด
ฟันซ้อน ปัญหาเกี่ยวกับฟันที่หลาย ๆ คนอาจมองข้าม เพราะคิดว่าฟันซ้อนไม่ใช่เรื่องใหญ่จนถึงขั้นที่ต้องเข้ารับการรักษา แต่จริง ๆ แล้วการมีปัญหาฟันซ้อนในระยะยาวสามารถส่งผลกระทบต่อสุขภาพภายในช่องปากได้มากกว่าที่คุณคิด โดยเฉพาะในบุคคลที่มีฟันซ้อนที่ค่อนข้างรุนแรง แล้วปัญหาอะไรบ้าง ที่สามารถเกิดขึ้นได้จากการมีฟันซ้อน
ในบทความนี้คุณหมอจากคลินิกทันตกรรม Smile Seasons จะพาคุณมาเจาะลึกถึง “ฟันซ้อน” ว่าสาเหตุเกิดจากอะไร แล้วมีผลกระทบอย่างไร พร้อมคำแนะนำจากคุณหมอ เรามาดูกันเลย
ฟันซ้อน คืออะไร อาการเป็นอย่างไร
ฟันซ้อน คือ สภาพของฟันที่งอกขึ้นจากเหงือกแบบเรียงตัวซ้อนกัน ไม่เรียงตัวกันตามแนวฟันที่ควรจะเป็น สามารถเกิดขึ้นได้ตามแนวขากรรไกรทั้งหมด ซึ่งการเกิดฟันซ้อนจะทำให้ฟันที่งอกขึ้นมาเกิดการเบียดตัวกัน จนเกิดเป็นฟันเก โดยในบางคนที่มีฟันซ้อนที่อาการค่อนข้างรุนแรง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดฟันล้มได้ในที่สุด
ฟันซ้อนเกิดจากอะไร
ฟันซ้อน เกิดขึ้นได้จากหลาย ๆ ปัจจัยทั้งในวัยเด็กและในวัยผู้ใหญ่ โดยปัจจัยหลักที่พบได้บ่อย มีดังนี้
กรรมพันธุ์
หากบุคคลในครอบครัวมีประวัติการมีฟันซ้อน รวมไปถึงการมีขากรรไกรที่เล็กซึ่งไม่สัมพันธ์กับจำนวนของฟัน ก็สามารถส่งต่อผ่านทางกรรมพันธุ์มาสู่รุ่นลูก รุ่นหลานได้ เช่นกัน
ขนาดของฟัน
บางคนอาจมีขนาดของฟันที่ค่อนข้างใหญ่ แต่ขากรรไกรมีขนาดเล็ก ทำให้พื้นที่ของเหงือกไม่เพียงพอต่อจำนวนของฟันที่ขึ้น ทำให้ฟันเกิดการเบียดตัวกันขึ้นจนเกิดการซ้อนของฟันได้เช่นกัน
การถอนฟัน
การถอนฟัน หรือ การหลุดตัวของฟันน้ำนมที่เร็วกว่ากำหนด อาจทำให้ฟันแท้ขึ้นผิดตำแหน่งจนเกิดเป็นฟันซ้อนได้
พฤติกรรมการใช้ชีวิตและการรับประทานอาหาร
พฤติกรรมการใช้ชีวิตในวัยเด็ก เช่น การดูดนิ้ว การดูดขวดนม หรือการดูดจุกนมที่มีระยะเวลานานจนเกินไป โดยเฉพาะในวัยที่ฟันแท้เริ่มขึ้นแล้ว อาจทำให้มีแรงกดตามบริเวณเหงือกและฟันมากจนเกินไป ทำให้บริเวณกรามเจริญเติบโตผิดรูป จึงส่งผลให้ฟันขึ้นผิดตำแหน่ง และเกิดฟันซ้อนได้ หรือในวัยผู้ใหญ่ที่มีพฤติกรรมการรับประทานบางอย่าง เช่น การกัดของแข็งเป็นประจำ ทั้งนี้มีส่วนส่งผลให้เกิดฟันซ้อนได้เช่นกัน
ผลกระทบของการเกิดฟันซ้อน
การมีฟันซ้อน นอกจากจะส่งผลต่อสภาพจิตใจในเรื่องของความมั่นใจแล้ว ยังส่งผลต่อสุขภาพภายในช่องปากอีกด้วย ซึ่งปัญหาที่พบได้บ่อยจากการมีฟันซ้อน ได้แก่
- ดูแลความสะอาดยาก โดยเฉพาะตามซอกฟันซึ่งจะมีเศษอาหารเข้าไปติดได้ง่ายกว่าปกติ จึงทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุได้
- กัดหรือเคี้ยวอาหารได้ยาก เพราะฟันไม่ได้เรียงตัวกันตามแนวที่ควรจะเป็น
- ปวดหัวหรือปวดกราม จากการที่ฟันซ้อนกันและเกิดการเบียดตัวกัน
- ออกเสียงคำบางคำได้ไม่ชัด
- สูญเสียความมั่นใจในขณะที่พูดหรือยิ้ม
วิธีแก้ไขปัญหา การเกิดฟันซ้อน
การแก้ไขปัญหาการเกิดฟันซ้อน สามารถทำได้หลายวิธี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงในแต่ละบุคคล และการวินิจฉัยของทันตแพทย์ โดยวิธีที่ใช้ มีดังนี้
การจัดฟัน
การจัดฟันทั้งแบบเหล็กและแบบใส เป็นวิธีที่นิยมใช้มากที่สุด เพราะมีราคาที่ไม่แพงมากจนเกินไปและมีขั้นตอนที่ไม่ซับซ้อน สามารถทำได้ในทุกช่วงวัย แต่มักใช้กับคนที่ยังเป็นเด็กหรือวัยรุ่น เพราะร่างกายยังมีการเจริญเติบโต จึงสามารถขยับตำแหน่งของฟันได้ง่ายกว่าในวัยผู้ใหญ่ โดยจะใช้ระยะเวลาในการจัดฟันที่ประมาณ 1 – 3 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสภาพฟันของแต่ละบุคคล
การทำวีเนียร์
การทำวีเนียร์ คือการจัดแต่งฟันโดยวิธีเคลือบผิวฟัน เพื่อให้ฟันมีรูปร่างที่สวยงาม แต่จะไม่สามารถปรับเปลี่ยนตำแหน่งของฟันได้ วิธีนี้จึงสามารถใช้ได้กับคนที่มีปัญหาฟันซ้อนเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
การตกแต่งฟัน
การตกแต่งฟัน คือการแก้ไขปัญหาฟันซ้อนด้วยการใช้เลเซอร์ในการเพิ่มช่องว่างระหว่างฟัน นิยมใช้กับผู้ที่มีปัญหาฟันบนและฟันล่างซ้อนกันเพียงเล็กน้อย ซึ่งเป็นวิธีที่ต้องมีความละเอียดอ่อนในการทำ เพราะอาจทำให้ฟันเกิดความอ่อนแอลงได้
การถอนฟันร่วมกับการผ่าตัด
สำหรับคนที่การรักษาด้วยการจัดฟันหรือวิธีการแก้ไขอื่น ๆ ไม่สามารถแก้ปัญหาฟันซ้อนได้หมด ทันตแพทย์อาจวินิจฉัยให้ผ่าตัดขากรรไกรร่วมด้วย เพื่อให้โครงสร้างภายในปากสมดุลมากขึ้น และทำให้ฟันมีพื้นที่ในการเคลื่อนตัวไปสู่ตำแหน่งที่ถูกต้องได้
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับฟันซ้อน
หลาย ๆ คนเกิดคำถามที่สงสัยเกี่ยวกับฟันซ้อน ซึ่งคำถามที่สามารถพบได้บ่อย มีดังนี้
ฟันซ้อน จำเป็นต้องถอนฟันไหม
ฟันซ้อน ไม่จำเป็นต้องถอนฟัน แต่ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับสภาพฟันของแต่ละบุคคลว่ามีความรุนแรงมากน้อยแค่ไหน และขึ้นอยู่กับดุลพินิจของทันตแพทย์ร่วมด้วย
ฟันซ้อน จำเป็นต้องจัดฟันไหม
สำหรับคนที่มีฟันซ้อนเพียงเล็กน้อย ไม่รุนแรงมากจนเกินไป อาจไม่จำเป็นต้องจัดฟันก็ได้ แต่ยังคงจำเป็นจะต้องดูแลความสะอาดภายในช่องปากอย่างละเอียดกว่าคนที่มีฟันเรียงตัวสวยงาม ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของทันตแพทย์ร่วมด้วย แต่ในระยะยาวแล้ว การจัดฟันเพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยงามจะส่งผลดีต่อสุขภาพภายในช่องปากมากกว่า เพราะจะทำให้เศษอาหารไม่ติดตามซอกฟัน และสามารถทำความสะอาดได้ง่าย
สรุป
ปัญหาฟันซ้อน ในบางคนที่มีอาการเพียงเล็กน้อยอาจไม่ใช่เรื่องใหญ่ที่จำเป็นจะต้องได้รับการจัดฟันในทันที แต่สำหรับคนที่มีสภาพฟันซ้อนค่อนข้างมาก การเข้ารับการรักษาแต่เนิ่น ๆ จะส่งผลดีในระยะยาวมากกว่า เพราะจะทำให้ทำความสะอาดฟันได้ง่าย และเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนภายในช่องปากตามมาในภายหลัง เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือฟันล้ม เป็นต้น
สำหรับคนที่สนใจปรึกษาฟันเกกับทันตแพทย์ สามารถติดต่อ Smile Seasons Clinic ได้ที่ LINE @smileseasons.dc หรือโทร 02-114-3274
- Crooked Teeth: Causes, Concerns, and How to Straighten., Available from: https://www.healthline.com/health/dental-and-oral-health/crooked-teeth
- What Causes Crooked Teeth?., Available from: https://www.colgate.com/en-us/oral-health/adult-orthodontics/what-causes-crooked-teeth
- Crooked Teeth and Misaligned Bites., Available from: https://www.webmd.com/oral-health/crooked-teeth-misaligned-bites
- The Most Common Types of Crooked Teeth., Available from: https://www.byte.com/community/resources/article/crooked-teeth-types//
บทความโดย
ทพ.กันเขต เกียรติวราวุธ
ปริญญาโท สาขาทันตกรรมจัดฟัน ม.วลัยลักษณ์
ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ (เกียรตินิยมอันดับ 1 เหรียญทอง)
รีวิวจากคนไข้ของเรา
โปรโมชั่นอื่นๆ
เปิดวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดก่อนพบทันตแพทย์
เปิดวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดก่อนพบทันตแพทย์ อาการปวดฟันนั้นเป็นอาการที่ทำให้รู้สึกทรมาน นอกจากอาการปวดแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารได้ไม่เต็มที่ บางครั้งหากปวดมาก ๆ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการนอน แต่หากอาการปวดเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ในทันที เพราะเป็นวันหยุด ปวดในช่วงเวลากลางคืน หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล การเข้าใจวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเองจึงมีความสำคัญอย่างมากในการบรรเทาอาการปวดชั่วคราวก่อนที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ อาการปวดฟันแบบฉับพลันเกิดจากอะไร อาการปวดฟันแบบฉับพลันคือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดฟันขึ้นแบบฉับพลัน และมักส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันแบบฉับพลัน ได้แก่ ฟันผุลึกที่ลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ฟันแตกหรือร้าวจากอุบัติเหตุ ฟันคุดที่กำลังขึ้น การติดเชื้อที่รากฟันหรือเหงือก
หลังจัดฟันเสร็จแล้วต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง
หลังจัดฟันเสร็จแล้วต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง การจัดฟันเป็นกระบวนการที่ช่วยแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันที่เรียงตัวไม่สวยงาม เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยงามมากขึ้น แต่หลังจัดฟันเสร็จแล้วหากไม่มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีฟันก็จะไม่เรียงตัวสวยงามตลอดไป การดูแลสุขภาพช่องปากหลังจัดฟันเสร็จแล้วจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ บทความนี้ Smile Seasons จะชวนทุกคนไปดูกันว่าหลังจัดฟันเสร็จแล้วนั้นต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร หากไม่ดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจะส่งผลต่อฟันอย่างไรบ้าง การจัดฟันส่งผลต่อสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง การจัดฟันไม่ได้เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ฟันเรียงตัวสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพช่องปากในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งระหว่างการจัดฟันกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ฟันจะเกิดการปรับตัวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยงามอย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยให้การทำความสะอาดช่องปากง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกและฟันผุ อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการบดเคี้ยวและการพูด แม้ว่าหลังจากจัดฟันเสร็จแล้วโครงสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ
ก่อนจัดฟันต้องรู้ จัดฟันแบบใส กับ แบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน
ก่อนจัดฟันต้องรู้ จัดฟันแบบใส กับ แบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน การจัดฟันไม่เพียงช่วยเสริมความสวยงามของรอยยิ้ม แต่ยังช่วยแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ฟันเก ฟันห่าง และการสบฟันที่ผิดปกติ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาว ปัจจุบันมีทางเลือกในการจัดฟันมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ จัดฟันแบบใสกับแบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน? คำตอบไม่ได้ชัดเจนเสมอไป เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน บทความนี้ smile seasons จะพาคุณไปทำความรู้จักกับการจัดฟันทั้งสองประเภท เพื่อให้คุณเลือกวิธีที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของคุณมากที่สุด การจัดฟันใส กับการจัดฟันเหล็กคืออะไร การจัดฟันเป็นวิธีการทางทันตกรรมที่ช่วยปรับตำแหน่งฟันให้เรียงตัวสวยงามและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเคี้ยวอาหาร
เมื่อปวดฟันต้องกินยาแก้ปวดฟันแบบไหน ต้องเลือกอย่างไร
เมื่อปวดฟันต้องกินยาแก้ปวดฟันแบบไหน ต้องเลือกอย่างไร อาการปวดฟันเป็นความทรมานที่หลายคนไม่อยากเผชิญ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังกระทบต่อคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ด้วย หากปล่อยให้อาการปวดฟันเรื้อรังโดยไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ลุกลามและส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว การเลือกใช้ยาแก้ปวดฟันที่เหมาะสมจึงเป็นทางเลือกเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการก่อนพบทันตแพทย์ อาการปวดฟันเกิดจากสาเหตุใดบ้าง ฟันผุ : ฟันผุเกิดจากแบคทีเรียในช่องปากย่อยสลายอาหารจำพวกน้ำตาลและแป้ง ทำให้เกิดกรดที่กัดกร่อนเคลือบฟัน เมื่อฟันผุลึกเข้าไปถึงเนื้อฟันชั้นในจะทำให้เกิดอาการเสียวฟันและปวดฟัน เหงือกอักเสบ : เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์บริเวณขอบเหงือก ทำให้เหงือกบวมแดง มีเลือดออกง่าย เมื่อไปสัมผัสโดนเหงือกบริเวณนั้นจะเกิดอาการปวด ฟันแตกหรือร้าว : อาจเกิดจากการกระแทก การกัดของแข็ง
รู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะ พร้อมเปิดข้อดี-ข้อเสีย
รู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะ พร้อมเปิดข้อดี-ข้อเสีย รีเทนเนอร์เป็นอุปกรณ์คงสภาพฟัน ซึ่งมีด้วยกันหลายแบบ สำหรับรีเทนเนอร์โลหะทำจากโลหะพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่อใส่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน มีลักษณะเป็นโครงโลหะบางเบาที่พอดีกับแนวฟัน ช่วยรักษาตำแหน่งของฟันให้อยู่ในสภาพที่จัดเรียงไว้ มีความทนทานสูง และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยมักนิยมใช้ทั้งในฟันบนและฟันล่าง บทความนี้เราจะชวนทุกคนไปรู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะกันให้มากขึ้น รีเทนเนอร์โลหะ คืออะไร รีเทนเนอร์โลหะเป็นอุปกรณ์คงสภาพฟันที่ทำจากวัสดุโลหะพิเศษ ออกแบบมาเพื่อใส่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน มีลักษณะเป็นโครงโลหะบางเบาที่พอดีกับแนวฟัน ช่วยรักษาตำแหน่งของฟันให้อยู่ในสภาพที่จัดเรียงไว้ มีความทนทานสูง และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยมักนิยมใช้ทั้งในฟันบนและฟันล่าง เปิดข้อดี-ข้อเสียของรีเทนเนอร์โลหะ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้รีเทนเนอร์โลหะ มาทำความเข้าใจข้อดีและข้อเสียกันก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
10 วิธีเปลี่ยนเมื่อมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็น ให้หอมสดชื่น
10 วิธีเปลี่ยนเมื่อมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็น ให้หอมสดชื่น การมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็นเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก หลายคนรู้สึกไม่กล้าพูดคุยใกล้ชิดกับผู้อื่น ส่งผลต่อการเข้าสังคมและการทำงาน บางคนถึงขั้นเกิดความเครียดและวิตกกังวล แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี สาเหตุที่ทำให้มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น มีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็นเกิดจากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่มาจากการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากที่ย่อยสลายเศษอาหารและปล่อยก๊าซที่มีกลิ่นเหม็นออกมา นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคในช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือแม้แต่โรคทางระบบต่าง ๆ เช่น โรคกระเพาะ ไซนัสอักเสบ รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม