ฟันตาย ฟันเสียเกิดจากอะไร อันตรายไหม แก้ไขยังไงดีโดยไม่ต้องถอน

ฟันตาย

คุณรู้หรือไม่ว่าฟันตายได้เหมือนกันกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกาย ถึงแม้ว่าชั้นเคลือบฟันจะประกอบไปด้วยแร่ธาตุ และไม่มีเซลล์ที่มีชีวิต แต่เนื้อฟัน และโพรงประสาทด้านในตัวฟันนั้นเต็มไปด้วยเส้นเลือดฝอย และเส้นประสาท และถือเป็นเซลล์ที่มีชีวิต ในบทความนี้ Smile Seasons จะพาคุณไปทำความรู้จักกับสาเหตุของฟันตาย อาการที่บ่งบอก วิธีและตัวเลือกในการรักษาของภาวะฟันตาย รวมถึงผลกระทบเกี่ยวกับสุขภาพของคุณที่จะตามมา

สารบัญเนื้อหา

ฟันตายคืออะไร​

ฟันตาย คือการเสื่อมสภาพ หรือความเสียหายของเซลล์ที่อยู่ในชั้นโพรงประสาทฟัน ซึ่งเป็นส่วนที่อยู่ในสุดของฟัน เซลล์ในชั้นนี้จะมีชีวิต และถูกหล่อเลี้ยงโดยเส้นเลือดฝอย รวมทั้งเส้นประสาทมากมาย ต่างจากชั้นเคลือบฟันที่อยู่ด้านนอกที่ประกอบไปด้วยแร่ธาตุ หากเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันก็สามารถทำให้เลือดรวมทั้งออกซิเจนที่มาเลี้ยงเซลล์เหล่านั้นลดลง และทำให้เกิดฟันตายตามมาได้

สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดฟันตาย

ฟันตายนั้นมีหลายสาเหตุและปัจจัยที่หลากหลาย ตัวอย่างได้แก่

  • ฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษา – หากคุณละเลยปล่อยให้ฟันผุกัดกินลึกลงเรื่อยๆ จนถึงชั้นโพรงประสาทฟัน แบคทีเรียก่อโรคอาจเล็ดลอดเข้าไปก่อให้เกิดการอักเสบ ติดเชื้อของเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟัน และคลองรากฟัน จนทำให้เกิดฟันตายได้
  • อุบัติเหตุ – ฟันที่ถูกกระแทกอย่างรุนแรง ทั้งจากการเล่นกีฬา หกล้ม หรืออุบัติเหตุอื่นๆ สามารถทำให้เส้นเลือดและเส้นประสาทในโพรงประสาทฟันเสียหายจนเกิดฟันตายได้
  • ฟันร้าวหรือแตก – ฟันร้าว หรือแตกหักที่ลึกจนถึงโพรงประสาทฟัน จะทำให้เกิดรูติดต่อให้แบคทีเรียจากภายนอกเล็ดลอดเข้าไปก่อการอักเสบภายในตัวฟันได้
  • การรักษารากฟัน และการรักษาทันตกรรมอื่นๆ – การรักษาทางทันตกรรม โดยเฉพาะการรักษาที่มีการกรอฟัน หรือบริเวณที่รักษาใกล้กับโพรงประสาทฟัน สามารถก่อความเสียหายต่อเนื้อเยื่อได้
  • โรคปริทันต์ขั้นรุนแรง การติดเชื้อ หรือหนองที่อยู่ใกล้เคียงกับรากฟัน

ลักษณะและอาการของฟันตาย

การเกิดฟัน​เสีย หรือฟันตายขึ้นนั้น มักจะมีความผิดปกติเกิดขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยเราสามารถ​สังเกต​ลักษณะ​และอาการของฟันตายเบื้องต้น​ได้ ดังนี้

  • การเปลี่ยนสี

ฟันที่ตายแล้วอาจมีสีที่เปลี่ยนไป โดยมีสีเหลือง สีเทา หรือสีน้ำตาล ซึ่งเราสามารถ​สังเกตเห็นได้ชัดเจนเมื่อเทียบกับฟันซี่ข้างเคียง​​

  • มีการตอบสนองที่น้อยลง

ฟันที่ตายแล้วมักจะสูญเสียความไวต่ออุณหภูมิ ซึ่งหมายความว่าฟันจะไม่ตอบสนองต่อสิ่งเร้าไม่ว่าจะเป็นอุณหภูมิ​ร้อน หรือเย็นอีกต่อไป เนื่องจากเส้นประสาทในเนื้อเยื่อฟันไม่ทำงานอีกต่อไป

  • มีอาการปวดตั้งแต่​ระดับน้อยจนถึงมาก

 ในช่วงแรกของการอักเสบติดเชื้อ คุณอาจมีอาการปวดฟันได้ อาการปวดอาจเป็นมากขึ้นขณะเคี้ยวอาหาร  แต่หากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และทันท่วงที เมื่อฟันตายแล้ว คุณอาจไม่รู้สึกเจ็บปวด แต่การอักเสบและติดเชื้อยังมีอยู่

  • มีกลิ่นปาก

สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้เกิดภาวะฟันตาย เช่น โรคปริทันต์อักเสบ ฟันผุลึก เหงือกอักเสบรุนแรง ล้วนแล้วแต่เป็นโรค หรือภาวะที่สามารถทำให้มีกลิ่นปากได้ 

  • เกิดอาการบวมและติดเชื้อ

ในบางกรณี เมื่อฟันเกิดการติดเชื้ออาจส่งผล​ให้เกิดอาการ​เหงือกบวม หรือมีหนองได้

หากคุณ​เริ่มสังเกตเห็นความผิดปกติของฟันเหล่านี้​ คุณควรรีบพบทันตแพทย์ และทำการวินิจฉัยถึงสาเหตุ และทำการรักษาโดยทันที เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบเรื้อรังจนต้องสูญเสียฟันไปในที่สุด

ผลกระทบของฟันตายต่อระบบสุขภาพทั่วไป

การปล่อยภาวะฟันตายนี้ไว้โดยไม่เข้ารับการรักษา นอกจากจะส่งผลกระทบทางตรงต่อสุขภาพช่องปากแล้ว ยังอาจส่งผลกระทบทางอ้อมต่อสุขภาพโดยรวมได้ ดังนี้

 

1.ความเสี่ยงในการติดเชื้อ

 

ฟันที่ตายแล้วอาจกลายเป็นแหล่งที่มาของการติดเชื้อได้  เนื่องจาก​แบคทีเรียสามารถแพร่กระจายและเข้าไปทำลาย​เนื้อเยื่อโดยรอบ ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหา​ฟันผุ มีหนอง เกิดการติดเชื้อบริเวณ​เหงือก หรือเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากที่ลุกลามมากขึ้น

 

2.ความเจ็บปวดและไม่สบายตัว

 

การเกิดฟันเสียหรือฟันตายนั้นนอกจากจะทำให้เรารู้สึก​ไม่สบายตัวแล้ว หากเกิดการอักเสบ​หรือติดเชื้อขึ้นก็อาจทำให้เกิดอาการปวดขึ้นได้เช่นกัน

ปวดฟัน

3.ส่งผลต่อบุคลิกภาพและความมั่นใจ

 

นอกจากแบคทีเรียที่สะสมอยู่บริเวณฟันตายนั้นจะส่งผลให้สีของฟันที่เปลี่ยน หรือลมหายใจมีกลิ่น ซึ่งส่งผลต่อบุคลิกภาพ และทำให้คนไข้ขาดความมั่นใจ หรือรู้สึกกังวลใจเมื่อต้องพบปะผู้คนได้

 

4. ส่งผลต่อการเคี้ยวและการพูด

 

การเกิดฟันตายจะทำให้คนไข้รู้สึกเจ็บในขณะที่เคี้ยวอาหาร และในบางกรณีอาจส่งผลต่อความชัดเจนในการพูดด้วย

 

5.ส่งผลลุกลามไปยังปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ

 

หากเราปล่อยฟันตายทิ้งไว้โดยไม่รักษา อาจส่งผลกระทบไปยังสุขภาพด้านอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นโรคเหงือก การติดเชื้อทางเดินหายใจ โรคหัวใจ หรือโรคเบาหวานได้ด้วย

วิธีการรักษาและฟื้นฟูอาการฟันตาย

เมื่อถูกถึงวิธีการรักษาและฟื้นฟูฟันตาย คุณหมอจะพิจารณารักษาตามระดับความรุนแรงของอาการ ดังนี้

การรักษารากฟัน

การรักษารากฟัน เป็นการรักษาทันตกรรมเฉพาะทางในคนไข้ที่มีการอักเสบ หรือติดเชื้อเกิดขึ้นในบริเวณคลองรากฟัน  โดยคุณหมอจะกรอเปิดช่องเพื่อกำจัดเอาเนื้อเยื่อที่มีการอักเสบติดเชื้อออกไป อาจมีการใส่ยาฆ่าเชื้อเข้าไปในโพรงประสาทฟันร่วมด้วย การรักษามักต้องทำหลายครั้ง เมื่อการอักเสบ ติดเชื้อหายไปหมดแล้ว คุณหมอจะบูรณะฟันขึ้นมาใหม่ด้วยการอุดฟัน หรือทำครอบฟัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเนื้อฟันที่เหลืออยู่ การรักษารากฟันมักก่อให้เกิดฟันตายตามมา เนื่องจากมีการเข้าไปทำการรักษาในโพรงประสาทฟัน

ถอนฟัน

สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการติดเชื้อถึงขั้นรุนแรง ฟันร้าว หรือมีภาวะแทรกซ้อน หรือไม่สามารถใช้วิธีรักษารากฟันได้ คุณหมอจำเป็นจะต้องทำการถอนฟันเพื่อนำฟันที่ติดเชื้อออก ซึ่งหลังจากการถอนฟัน แนะนำให้ปรึกษาคุณหมอเกี่ยวกับทางเลือกในการเปลี่ยนฟันทดแทน เช่น การทำรากฟันเทียม การทำสะพานฟัน หรือฟันปลอม เป็นต้น

เฝ้าระวังและติดตามอาการ

ในกรณีที่ฟันตาย แต่อาการไม่รุนแรงและไม่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อน อาจปล่อยทิ้งไว้โดยยังไม่รับการรักษา แต่คอยเฝ้าระวัง ด้วยการสังเกตและติดตามดูอาการเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีอาการติดเชื้อหรือปัญหาอื่นๆ ตามมา

ฟันตาย

ทำอย่างไรจะไม่เกิดฟันตาย

อาการฟันเสียหรือฟันตายนั้นถือเป็นภัยอันตราย​ในช่องปากที่ไม่ควรละเลย​ ซึ่ง​การป้องกัน​และลดความเสี่ยงของการเกิดฟันตายนั้นสามารถ​ทำได้ ดังนี้​

  • ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ

การไปพบทันตแพทย์เพื่อ​ตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ จะช่วยให้ตรวจพบและแก้ไขปัญหาทางทันตกรรมต่างๆ ได้ทันท่วงที ก่อนที่อาการต่างๆ จะลุกลามไปสู่จุดที่ทำลายเนื้อเยื่อฟัน หรือต้องสูญเสีย​ฟันไปในที่สุด​

  • รักษาสุขภาพช่องปากอย่างเหมาะสม

ดูแล​สุขอนามัยช่องปากด้วยการแปรงฟันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้งด้วยยาสีฟันที่มีส่วนผสมของฟลูออไรด์ นอกจากนี้ยังควรใช้ไหมขัดฟันทำความสะอาดระหว่างฟันและแนวเหงือก รวมถึง​ใช้น้ำยาบ้วนปาก เพื่อช่วยควบคุมแบคทีเรียในปากร่วมด้​วย

  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารบางประเภท​

จำกัดอาหารและเครื่องดื่มจำพวกที่มีน้ำตาลและเป็นกรด เนื่องจากอาจทำให้เกิดการระคายเคือง​ที่เนื้อเยื่อในช่องปาก และกัดกร่อนชั้นผิวเคลือบฟัน จน​ทำให้​เกิดฟันผุได้  ​

  • ห้ามใช้ฟันกัดของแข็ง หรือเปิดฝาขวดที่เป็นโลหะ 

การใช้ฟันเปิดบรรจุภัณฑ์ ขวด หรือวัตถุอื่นๆ เช่น ฝาขวดเบียร์ ฝาขวดโซดา​ นั้นอาจทำให้ฟันเกิดความเสียหายและได้รับบาด จนถึง​ขั้นฟันบิ่น ฟันแตก ฟันหัก ฟันสึก หรือฟัน​ตาย​ได้​

  • หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่

 การสูบบุหรี่​นั้นเป็นพฤติกรรม​ที่เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็น​โรคเหงือกและปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับ​ฟันได้ เพราะ​ฉะนั้น​การเลิก หรือหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะมีประโยชน์ต่อสุขภาพช่องปากโดยรวม​มากกว่า​

การป้องกันไม่ให้​เกิดฟันตายนั้นจะต้องดูแล​ผสานกันระหว่าง​สุขอนามัยช่องปากที่ดี การดูแลทันตกรรมเป็นประจำ และการป้องกันเพื่อหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บจากพฤติกรรมที่เป็นอันตรายควบคู่​กันไป เพื่อสุขภาพ​ช่องปากที่ดีและฟันที่แข็งแรง​ 

สูบบุหรี่

สรุป

ฟันตาย เป็นอีกหนึ่งภาวะที่อันตรายภายในช่องปากที่ไม่ควรมองข้าม เพราะนอกจาก​จะส่ง​ผลกระทบ​ต่อสุขภาพ​ช่องปาก​แล้ว​ ยังอาจ​เกิดภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นและรักษาสุขภาพโดยรวม​ได้ด้วย

การเลือกวิธีการรักษาขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงสภาพของฟัน การติดเชื้อ และสุขภาพช่องปากโดยรวมของผู้ป่วย สิ่งสำคัญก็คือต้องปรึกษาทันตแพทย์เพื่อประเมินสภาพเฉพาะของฟันที่ตายแล้วและวางแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุด เพราะการรักษาอย่างทันท่วงทีเป็นสิ่งสำคัญอย่างมากในการป้องกันภาวะแทรกซ้อน รวมถึงการแพร่กระจายของการติดเชื้อไปยังเนื้อเยื่อโดยรอบและฟันอื่นๆ

หากคุณมีคำถามสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อเรา และทำนัดเข้ามาปรึกษากับทันตแพทย์ของ Smile Seasons เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับขั้นตอน วิธีการรักษา รวมทั้งพูดคุยเกี่ยวกับผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นก่อนจะตัดสินใจทำรากฟันเทียม ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย

 

นัดพบทันตแพทย์จากคลินิกหมอฟัน Smile Seasons จาก 7 สาขาใกล้รถไฟฟ้า

สำหรับผู้ที่สนใจเข้าพบคุณหมอที่คลินิกทันตกรรม Smile Seasons เพื่อตรวจสุขภาพฟันและรับบริการต่าง ๆ สามารถติดต่อได้ที่ช่องทางเหล่านี้

 

คลินิกหมอฟัน Smile Seasons มีให้คุณเลือกใช้บริการมากถึง 7 สาขา ได้แก่ สาขาสนามเป้า อนุสาวรีย์ชัย, สาขาอโศกทาวเวอร์, สาขาเมเจอร์รัชโยธิน, สาขาอ่อนนุช สาขาท่าพระ ทั้งยังมีอีก 2 สาขาใหม่ที่เตรียมเปิดให้บริการในปลายปีนี้ นั่นคือสาขาสีลม และสาขาราชพฤกษ์ (เซ็นทรัล Westville)

 

Facebook : smileseasons.dc

Line : @smileseasons.dc

E-mail : smileseasons.dc@gmail.com

Tel : 02-114-3274

ตรวจบทความโดย

ทพญ.ณัตตยา รุ่งเจริญพร (คุณหมอต๋า)

ปริญญาโท วิทยาเอนโดดอนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทันตแพทยศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ (เกียรตินิยมอันดับ 2)

รีวิวจากคนไข้ของเรา

Affordable price. Easy to book the appointment. Nearby the skytrain, easy to commute.
Napassorn Thammaviwatnukoon Avatar
Napassorn Thammaviwatnukoon
16 Dec 2023
Love❤️ Dr. Pinmuk Supachaiyakit! The dentist Pinmuk is always so kind, professional, courteous and very informative. The front desk staffs were welcoming and helpful. The dental office was nice and clean. Thanks for thanking care of me and my teeth. I highly recommend Smile Seasons Clinic.
Kanyarat Chotkeattikhun Avatar
Kanyarat Chotkeattikhun
01 Dec 2023
Love❤️ Dr. Pinmuk Supachaiyakit! The dentist Pinmuk is always so kind, professional, courteous and very informative. The front desk staffs were welcoming and helpful. The dental office was nice and clean. Thanks for thanking care of me and my teeth. I highly recommend Smile Seasons Clinic.
Kanyarat Chotkeattikhun Avatar
Kanyarat Chotkeattikhun
01 Dec 2023
The dentists at this clinic are not only skilled but also genuinely caring. During my appointment with Dr. Kanoksiri, I received exceptionally thoughtful treatment and clear, helpful recommendations.
Kanokphol Pansailom Avatar
Kanokphol Pansailom
01 Dec 2023

โปรโมชั่นอื่นๆ

วิธีการเลือกน้ำยาบ้วนปาก

เลือกน้ำยาบ้วนปากอย่างไรให้เหมาะกับตัวเอง

น้ำยาบ้วนปากเป็นตัวช่วยเสริมในการส่งเสริมให้มีสุขภาพช่องปากที่ดี แต่ควรเลือกให้มีความเหมาะสมกับสุขภาพช่องปาก แต่จะเลือกอย่างไร คลิกเลย

Read More »
จัดฟัน ฟันโยกเกิดจากอะไร

หลังติดเครื่องมือจัดฟัน ฟันโยกเกิดจากอะไร แก้ไขได้ด้วยวิธีใดบ้าง

หลังจัดฟัน ฟันโยกเป็นอาการที่พบได้บ่อย ซึ่งมีสาเหตุมาจากการจัดฟันนานเกินไปและไม่พบทันตแพทย์อย่างต่อเนื่อง ที่ทำให้ฟันโยกหลังจัดฟัน

Read More »
เหล็กจัดฟันหลุด ต้องทำอย่างไร

 ชวนหาคำตอบเมื่อเหล็กจัดฟันหลุด ต้องทำอย่างไร

เหล็กจัดฟันหลุด ควรทำอย่างไร? เรียนรู้สาเหตุที่ทำให้เหล็กจัดฟันหลุด พร้อมวิธีรับมือและการป้องกัน ไม่ให้จัดฟันแล้วเหล็กหลุดได้ง่าย ๆ

Read More »
จัดฟันแล้วปวดฟันเกิดจากอะไร

จัดฟันแล้วปวดฟันเกิดจากอะไร แก้ไขได้อย่างไรบ้าง

อาการจัดฟันแล้วปวดฟันเกิดจากหลายสาเหตุ เช่น แรงดันจากการเคลื่อนฟันหรือการดูแลที่ไม่ดี ปัญหาเหล่านี้ควรรีบแก้ไขก่อนที่จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพช่องปากอื่น ๆ

Read More »
เกลารากฟันคืออะไร

เกลารากฟันคืออะไร สำคัญต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร

เกลารากฟันเป็นการทำความสะอาดรากฟันใต้เหงือกลึก เพื่อกำจัดหินปูนและเชื้อแบคทีเรีย ช่วยรักษาโรคปริทันต์และป้องกันการเกิดปัญหาสุขภาพช่องปากที่รุนแรง

Read More »
ทำความเข้าใจการปักสกรูเวลาจัดฟันคืออะไร

ทำความเข้าใจการปักสกรูเวลาจัดฟันคืออะไร

เจาะลึกทุกเรื่องเกี่ยวกับการปักสกรูจัดฟัน ตั้งแต่ขั้นตอน อาการที่อาจเกิดขึ้น และการดูแลตัวเองหลังปักสกรู พร้อมคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ

Read More »

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้