รักษารากฟัน คืออะไร เจ็บไหม ราคาเท่าไหร่ พร้อมแนะนำขั้นตอนการรักษา
รักษารากฟัน คืออะไร
การรักษารากฟัน คือ การกำจัดแบคทีเรีย และเนื้อเยื่อในบริเวณคลองรากฟันที่มีรากฟันอักเสบหรือติดเชื้อ รวมทั้งทำความสะอาด และใส่ยาฆ่าเชื้อ เมื่อปราศจากการติดเชื้อ คุณหมอจะอุดคลองรากฟัน และบูรณะฟันขึ้นมาใหม่ด้วยการ อุดฟัน หรือการทำครอบฟัน เพื่อให้ฟันของคุณกลับมาสวยงาม ใช้งานได้ตามปกติเช่นเดิม
การรักษารากฟันมีจุดประสงค์เพื่อเก็บฟันธรรมชาติให้กับคุณ โดยไม่จำเป็นต้องถอนฟัน ราคาค่ารักษารากฟันอยู่ที่ประมาณ 6,500 -12,000 บาท ขึ้นอยู่กับจำนวนของคลองรากฟัน รวมทั้งความรุนแรงของการติดเชื้อของฟันซี่นั้น
รักษารากฟัน VS ถอนฟัน แบบไหนดีกว่ากัน
เราเข้าใจว่าการรักษารากฟันมีขั้นตอนที่ใช้เวลา รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า คนไข้บางคนเลยเลือกจะถอนฟันเพื่อตัดปัญหา แต่ฟันเป็นอวัยวะสำคัญที่จะอยู่กับเราไปตลอดชีวิต นอกจากนั้นฟันธรรมชาติยังมีข้อดีที่เหนือกว่าเช่น
- มีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวมากที่สุด
- รับความรู้สึกได้ดีที่สุด
- มีลักษณะสวยงามเป็นธรรมชาติ
- ติดสีได้ยาก และดูแลความสะอาดได้ง่ายและสะดวกที่สุด
การรักษารากฟันก็เหมือนการลงทุนให้กับสุขภาพในระยะยาว รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตของคุณ นอกจากนี้สามารถอ่านบทความ ถอนฟัน พร้อมแนะนำวิธีดูแลตนเองหลังถอนฟัน จากทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ที่นี่ คลิก!
รู้จักส่วนประกอบของรากฟัน
1. เคลือบฟัน (Enamel)
2. เนื้อฟัน (Dentine)
3. โพรงประสาทฟัน (Pulp)
4. คลองรากฟัน (Root Canal)
ทำไมต้องรักษารากฟัน
- เมื่อมีการอักเสบติดเชื้อในคลองรากฟัน หากไม่ได้รับการรักษานอกจากคุณจะสูญเสียฟันซี่นั้นไป การติดเชื้ออาจลุกลามไปยังอวัยวะข้างเคียงจนอาจกลายเป็นเรื่องใหญ่ ฉะนั้นหากคุณหมอบอกว่าคุณควรได้รับการรักษารากฟัน คุณควรรีบเข้าพบคุณหมอเพื่อรีบเข้าสู่กระบวนการรักษาโดยเร็ว
- การซื้อยาฆ่าเชื้อ (ยาปฎิชีวนะ) มารับประทานนั้นไม่สามารถรักษาคลองรากฟันที่ติดเชื้อได้
- ถึงแม้การรักษารากฟันจะมีราคาค่อนข้างสูง แต่อย่าลืมว่าคุณสามารถเก็บฟันธรรมชาติไว้ได้ รวมทั้งไม่ต้องเจ็บตัวกับการถอนฟัน รวมถึงประหยัดค่าบูรณะฟันที่สูญเสียไปเช่น การทำ รากฟันเทียม การทำ สะพานฟัน หรือฟันปลอม ซึ่งเป็นการรักษาที่มีราคาสูงเช่นกัน
สาเหตุของการติดเชื้อที่คลองรากฟัน
ภายในฟันของเราจะมีโพรงประสาทฟันซึ่งจะแตกออกเป็นช่องว่างเล็กๆ ไปตามรากฟันเรียกว่าคลองรากฟัน (Dental Pulp) โดยปกติอวัยวะในโพรงประสาทฟันจะไม่ติดต่อกับสิ่งแวดล้อมภายนอก หากเกิดช่องขึ้นมาก็จะทำให้แบคทีเรียจากภายนอกเข้ามาก่อให้เกิดการอักเสบติดเชื้อในโพรงประสาทฟัน และทำให้ต้องรักษารากฟันในที่สุด สาเหตุที่มักทำให้เกิดโรคคือ
- ฟันผุที่ไม่ได้รับการรักษาจนผุลึกทะลุเข้าโพรงประสาทฟัน
- ฟันที่ประสบอุบัติเหตุ บิ่น ร้าว แตก ลึกถึงโพรงประสาทฟัน
- ฟันที่สึกมาก ซึ่งอาจเกิดจากการใช้งาน การสบฟันที่ผิดปกติ หรือภาวะนอนกัดฟัน
อาการแบบไหนที่บอกว่าคุณอาจต้องรักษารากฟัน
อาการของโรคที่เกี่ยวกับคลองรากฟันจะขึ้นอยู่กับระดับของการติดเชื้อ ในระยะแรกคุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- ปวดแปล๊บขณะเคี้ยว หรือกัดฟัน
- เสียวฟันเมื่อรับประทานอาหาร หรือเครื่องดื่ม ร้อนจัด เย็นจัด
เมื่อการติดเชื้อลุกลามมากขึ้น อาการต่างๆ มักจะหายไป เนื่องจากอวัยวะรวมทั้งเส้นประสาทในโพรงประสาทและคลองรากฟันตาย ผู้ป่วยหลายคนเข้าใจผิดว่าอาการดีขึ้น และไม่ได้เข้ามาปรึกษาคุณหมอ จนกระทั่งการติดเชื้อลุกลามออกมานอกคลองรากฟัน ในระยะนี้คุณอาจมีอาการดังต่อไปนี้
- กลับมามีอาการปวดอีกครั้ง ซึ่งอาจจะปวดตลอดเวลา และปวดมากขึ้นหากเคี้ยวหรือกัดฟัน
- เหงือกบวม มีตุ่มหนอง เนื่องจากการติดเชื้อทะลุรากฟันออกมาที่เหงือก
- หนองไหลจากเหงือก และบริเวณรอบๆ ซึ่งออกมาจากฟันเป็นหนองที่ปลายรากฟัน
- ถุงหนองปลายรากฟัน
- แก้มและขากรรไกรบวมแดง อักเสบ
- ฟันมีสีเปลี่ยนไป หรือคล้ำขึ้น
ประเภทของการรักษารากฟัน
1. การรักษารากฟัน (Root Canal Treatment)
เป็นวิธีปกติในการรักษารากฟัน ที่มีการเปิดโพรงประสาทฟัน ทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ และตามด้วยการบูรณะฟันด้วยการอุด หรือทำครอบฟัน
2. การผ่าตัดปลายรากฟัน (Endodontic Surgery)
เป็นการผ่าตัดเล็กเข้าไปที่บริเวณรากฟัน มีความซับซ้อนสูงกว่า รวมทั้งใช้เวลาและมีค่าใช้จ่ายที่มากกว่าปกติ โดยมีข้อบ่งชี้ในการทำดังนี้
- การรักษารากฟันแบบปกติล้มเหลว
โพรงประสาทฟันมีแคลเซียมมาเกาะเป็นปริมาณมากจนเครื่องมือไม่สามารถลงไปถึงปลายรากฟันได้ - มีการแตกหัก หรือรอยโรคอื่นๆ ของกระดูกรอบปลายรากฟัน
การผ่าตัดปลายรากฟันสามารถแยกย่อยได้อีกหลายชนิด แต่ชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดเรียกว่า apicoectomy โดยคุณหมอจะเปิดช่องที่เหงือกตรงปลายรากฟัน เพื่อนำเนื้อเยื่อและกระดูกที่มีการอักเสบติดเชื้อออก ส่วนของปลายรากฟันจะถูกตัดออกไปด้วยตรงด้านล่างสุด หลังจากนั้นคุณหมอจะอุดปิดปลายรากฟัน และเย็บแผล
รักษารากฟัน ที่ไหนดี
เมื่อคุณตัดสินใจรักษารากฟัน คำถามสำคัญคือจะทำกับที่ไหนดี เรามีทริคในการเลือกคลินิกรักษารากฟันดังนี้
- เลือกคลินิกที่มีคุณหมอเฉพาะทางด้านรักษารากฟัน (Endodontist) เนื่องจากการรักษารากฟันเป็นกระบวนการที่มีความละเอียดอ่อน ต้องใช้ความชำนาญของคุณหมอเป็นอย่างมาก
- เลือกคลินิกที่คุณเดินทางสะดวก - เนื่องจากคุณต้องรับการรักษา 2-3 ครั้งเป็นอย่างน้อย รวมทั้งต้องมาพบคุณหมอเพื่อติดตามอาการ เลือกคลินิกที่อยู่ใกล้บ้าน หรือที่ทำงานจะดีกว่า
- เลือกคลินิกที่มีค่าบริการเหมาะสม จริงอยู่ที่การรักษารากฟัน เป็นการรักษาที่มีค่าใช้จ่ายสูง เราอยากให้คุณเปรียบเทียบราคาของแต่ละคลินิก ร่วมกับปัจจัยอื่นๆ เช่นการเดินทาง รีวิวหรือประสบการณ์ของคนไข้ที่เข้ารับบริการ รวมถึงความชำนาญของทันตแพทย์
รักษารากฟัน ราคาเท่าไหร่
รายละเอียดการรักษา | ค่าบริการ |
---|---|
รักษารากฟัน - ฟันหน้า | 8,000 |
รักษารากฟัน - ฟันกรามน้อย | 9,000 |
รักษารากฟัน - ฟันกราม | 12,000-14,000 |
รักษารากฟันฉุกเฉินเพื่อลดอาการปวด | 1,500 |
ฟอกสีฟันในฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน | 3,000-4,500 |
*ค่าใช้จ่ายในการรักษารากฟัน ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง จำนวนคลองรากฟัน และความรุนแรงของการอักเสบติดเชื้อ คุณสามารถตรวจสอบอัตราค่าบริการอื่นๆ ได้
การเตรียมตัวก่อนการรักษาฟัน
- ถามคำถาม – หากคุณมีข้อสงสัย หรือมีความกังวลใดๆ คุณควรพูดคุยซักถามข้อสงสัยกับคุณหมอ อยากคุณกำลังอยากรักษารากฟัน เราสามารถนัดคุณมาปรึกษากับคุณหมอของเราได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย
- เตรียมยาให้พร้อม – ปกติคุณหมอของเราจะจ่ายยาแก้ปวด และ/หรือ ยาปฎิชีวนะให้คุณกลับบ้าน แต่หากคุณตัดสินใจรักษารากฟันกับคลินิกอื่นๆ คุณควรสอบถามให้แน่ใจ จะได้เตรียมยาแก้ปวดไว้เผื่อได้
- พักผ่อนให้เพียงพอ – นอนหลับพักผ่อนอย่างน้อย 8 ชม. ในคืนก่อนเข้ารับการรักษารากฟัน
- งดแอลกอฮอล์ และบุหรี่ อย่างน้อย 24 ชม. – เพื่อป้องกันเลือดออก และทำให้แผลหายเร็วขึ้น
- รับประทานอาหารมาก่อน – เนื่องจากต้องมีการฉีดยาชา หลังรักษารากฟันปากของคุณจะชาไปหลายชั่วโมง ทำให้ทานอาหารลำบาก เรานึงแนะนำให้คุณรับประทานอาหารเบาๆ ก่อนเริ่มการรักษาสัก 2-3 ชม.
- วางแผนการเดินทาง – ถึงแม้ส่วนใหญ่คุณจะสามารถขับรถกลับเองได้หลังรักษารากฟัน แต่หากคุณมีเพื่อน หรือครอบครัวขับรถรับส่งในวันรักษา ก็เป็นทางเลือกที่ไม่เลว
- พักผ่อน ตุนอาหาร และเตรียมซีรีย์ – เราอยากให้คุณพักผ่อนเป็นอย่างน้อย 1-2 วันหลังรักษารากฟัน คุณควรเคลียร์ตารางงานเอาไว้ล่วงหน้า ออกไปซื้ออาหารทานง่าย เช่น ซุป โยเกิร์ต ผลไม้ พุดดิ้ง Smoothies ติดตู้เย็นเอาไว้ และหาลืมหาซีรีย์เรื่องโปรดที่ยังดูไม่จบ หรือเตรียมเคลียร์เกมที่เล่นค้างเอาไว้
ขั้นตอนการรักษารากฟัน
1. ตรวจฟันและเอ็กซเรย์
2. ฉีดยาชา
ก่อนทำการรักษาคุณหมอจะฉีดยาชาให้ ทำให้คุณไม่เจ็บปวดระหว่างทำการรักษารากฟัน (ในบางกรณีหากเนื้อเยื่อในคลองรากฟันตายแล้ว คุณจะไม่รู้สึกเจ็บ ทำให้อาจไม่จำเป็นต้องเจ็บตัวฉีดยาชา)
3. กรอเปิดโพรงประสาทฟัน
เนื้อฟันจะถูกกรอเปิด ให้เห็นโพรงประสาทฟัน เพื่อทำการรักษาต่อ
4. ทำความสะอาด ใส่ยาฆ่าเชื้อ
คุณหมอจะกำจัดเอาแบคทีเรีย หนอง และเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อออก หลังจากล้างทำความสะอาด และใส่ยาฆ่าเชื้อเรียบร้อย คุณหมอจะอุดปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดชั่วคราว
5. ทำการรักษาซ้ำจนกว่าจะหาย
การรักษารากฟันจะไม่เสร็จในครั้งเดียว คุณหมอจะนัดคุณเข้ามาตรวจเช็คพร้อมทำความสะอาด และใส่ยาฆ่าเชื้อซ้ำจนกว่าจะแน่ใจว่าการติดเชื้อหมดไป โดยส่วนมากคุณต้องเข้ารับการรักษา 2-3 ครั้ง
6. บูรณะฟันขึ้นมาใหม่
เมื่อมั่นใจว่าการติดเชื้อหมดไปแล้ว คุณหมอจะบูรณะฟันของคุณด้วยการอุดปิดโพรงประสาทฟันด้วยวัสดุอุดถาวร หรือการทำครอบฟัน หลังจากนั้นจะนัดติดตามอาการเป็นระยะ
การปฎิบัติตัวหลังรักษารากฟัน
คุณสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ เพียงรอให้ยาชาหมดฤทธิ์ก่อน เพื่อป้องกันคุณกัดลิ้น หรือกระพุ้งแก้มขณะเคี้ยว อย่างไรก็ตามควรหลีกเลี่ยงอาหารแข็ง รวมถึงเครื่องดื่มที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด
คุณอาจมีอาการตึงๆ อยู่บ้างในช่วง 2-3 วันแรก หลังจากนั้นอาการปวดควรจะหายไป หากคุณยังมีอาการปวดอยู่หลายวัน เราแนะนำให้คุณติดต่อหาเรา เพื่อทำนัดเข้ามาตรวจหาสาเหตุเพิ่มเติมกับคุณหมอ
คุณสามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น Paracetamol หรือ Ibuprofen ได้ตามที่คุณหมอแนะนำ
มาตรวจติดตามอาการตามนัดของคุณหมอ รวมทั้งดูแลทำความสะอาดช่องปาก แปรงฟัน และใช้ไหมขัดฟันอย่างสม่ำเสมอทุกวัน
อาการหรือผลข้างเคียงหลังจากรักษาฟัน
ผลข้างเคียงจากการรักษารากฟันพบได้ไม่บ่อย รวมทั้งเป็นเพียงชั่วคราว และสามารถแก้ไขได้ การได้รับการรักษากับคุณหมอเฉพาะทางด้านรากฟัน (Endodontist) ที่มีประสบการณ์ก็สามารถช่วยลดโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงลงได้ อย่างไรก็ตาม เช่นเดียวกับหัตถการทางการแพทย์อื่นๆ คุณยังสามารถเจอกับผลข้างเคียงหลังรักษารากฟันได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
- ฟันสีเปลี่ยนไป – โพรงประสาทฟันเป็นส่วนที่มีชีวิตด้านในฟันของคุณ ถ้าหากเกิดการอักเสบติดเชื้อ ก็มีความจำเป็นของต้องกำจัดออก เพื่อป้องกันการลุกลามใหญ่โต ขั้นตอนนี้ถือเป็นส่วนสำคัญในการรักษารากฟัน แต่การนำเนื้อเยื่อเหล่านี้ออกย่อมหมายถึง ฟันของคุณก็จะตายไปด้วย ซึ่งอาจเกิดสีคล้ำตามมา สามารถรักษาด้วยการฟอกสีฟันจากด้านในตัวฟัน หรือการทำ วีเนียร์ ได้
- รากฟันแตก หรือ ทะลุ – รากฟันอาจแตกหรือทะลุ จากฟันที่ผุอยู่ก่อน มีรอยแตกมาก่อน หรือจากเครื่องมือทันตกรรมก็ได้ หากเกิดขึ้นคุณควรพูดคุยปรึกษากับคุณหมอถึงทางเลือกในการรักษา ซึ่งอาจรวมถึงการถอนฟันซี่นั้นออก
- ฟันร้าว – ฟันที่ผ่านการรักษารากฟัน ย่อมไม่แข็งแรงเหมือนก่อนหน้าที่จะมีการอักเสบติดเชื้อ ซึ่งทำให้ฟันแตกร้าวได้ง่ายกว่าปกติ เพราะฉะนั้นในบางกรณีคุณหมอจะแนะนำให้ทำครอบฟันในฟันที่ผ่านการรักษารากไปแล้ว
- ติดเชื้อซ้ำ – เกิดในกรณีที่การรักษารากฟันทำได้ไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงประสาทฟันที่อักเสบติดเชื้อออกไปได้หมด หรือเกิดจากมีรูรั่วของวัสดุอุดปิดชั่วคราวทำให้แบคทีเรียสามารถเข้าไปในโพรงประสาทฟันได้ การแก้ไขอาจทำได้ด้วยการ รักษารากฟันซ้ำ, การผ่าตัดปลายรากฟัน รวมถึงการถอนฟัน
FAQ คำถามเกี่ยวกับการรักษารากฟัน
ไม่ต้องกังวล ก่อนเริ่มรักษารากฟัน คุณหมอจะฉีดยาชา คุณจะรู้สึกตึงเล็กน้อยระหว่างทำการถอนฟันเท่านั้น
- คุณต้องมาพบคุณหมอเพื่อทำการรักษา 2-3 ครั้ง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อ และตำแหน่งของฟัน ฟันหน้า และฟันเขี้ยวมีคลองรากฟันเพียงแค่ 1-2 คลองราก ในขณะที่ฟันกรามอาจมีได้ 4-5 คลองราก จำนวนของคลองรากฟันที่มากขึ้น จะทำให้ต้องใช้เวลาในการรักษาที่มากขึ้นเช่นกัน
- เวลาที่ใช้ในการรักษาแต่ละครั้งคือประมาณ 1 ชม.
- ระยะห่างในการนัดแต่ละครั้งคือประมาณ 1-2 สัปดาห์
ฟันธรรมชาติย่อมแข็งแรง และดีกว่า ฟันเป็นอวัยวะสำคัญที่จะอยู่กับคุณไปตลอดชีวิต การรักษารากฟันก็เหมือนการลงทุนให้กับสุขภาพในระยะยาว รวมถึงคุณภาพชีวิตที่ดีในอนาคตของคุณ
นอกจากนี้หากถอนฟันทิ้ง และไม่ได้รับการทดแทนฟัน ฟันข้างเคียงก็จะล้มลงมาในช่องว่าง แต่กรณีที่คุณเลือกทดแทนฟัน ไม่ว่าจะด้วยการใส่ฟันปลอม การทำรากฟันเทียม หรือการทำสะพานฟัน ทุกอย่างก็ย่อมมีค่าใช้จ่าย ซึ่งถ้านำมารวมกับค่าถอนฟัน การรักษารากฟันอาจดูเป็นทางเลือกที่คุ้มค่ากว่า
ยาที่ใช้รักษารากฟันแบ่งออกเป็น ยาที่ใส่เข้าไปในโพรงประสาทฟันหลังจากทำความสะอาดแล้ว ซึ่งจะเป็นยาปฎิชีวนะ (ยาฆ่าเชื้อ) ส่วนยาที่รับประทานจะเป็นยาแก้ปวด เข่น paracetamol และยากลุ่ม NSAIDs
- Root Canal Treatment – American Association of Endodontists., Available from: https://www.aae.org/patients/root-canal-treatment
- An Overview of Root Canals., Available from: https://www.webmd.com/oral-health/root-canalss
- Root Canals: Know Before You Go [Plus, Alternatives]., Available from: https://askthedentist.com/root-canals-know-before-you-go/
- Mayo Dental and Implant Clinic – Root canal treatment., Available from: https://www.mayodentalclinic.com/services/restorative/root-canal-treatment/
- What Is Root Canal Treatment?., Available from: https://www.colgate.com/en-us/oral-health/root-canals/what-is-root-canal-treatment
บทความโดย
ทพ.รังสิต เมฆารักษ์ภิญโญ
อนุมัติบัตรทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ ทันตแพทยสภา
ปริญญาโท สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ทันตแพทยศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ
อยากปรึกษาเรื่องรักษารากฟัน
รีวิวจากคนไข้ของเรา
โปรโมชั่นอื่นๆ
เปิดวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดก่อนพบทันตแพทย์
เปิดวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเอง บรรเทาอาการปวดก่อนพบทันตแพทย์ อาการปวดฟันนั้นเป็นอาการที่ทำให้รู้สึกทรมาน นอกจากอาการปวดแล้ว ยังส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นรับประทานอาหารได้ไม่เต็มที่ บางครั้งหากปวดมาก ๆ อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพในการนอน แต่หากอาการปวดเกิดขึ้นในสถานการณ์ที่ไม่สามารถไปพบทันตแพทย์ได้ในทันที เพราะเป็นวันหยุด ปวดในช่วงเวลากลางคืน หรืออยู่ในพื้นที่ห่างไกล การเข้าใจวิธีแก้ปวดฟันด้วยตัวเองจึงมีความสำคัญอย่างมากในการบรรเทาอาการปวดชั่วคราวก่อนที่จะได้รับการรักษาที่ถูกต้องจากทันตแพทย์ อาการปวดฟันแบบฉับพลันเกิดจากอะไร อาการปวดฟันแบบฉับพลันคือภาวะที่ผู้ป่วยมีอาการปวดฟันขึ้นแบบฉับพลัน และมักส่งผลให้ไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ตามปกติ สาเหตุหลัก ๆ ที่ทำให้เกิดอาการปวดฟันแบบฉับพลัน ได้แก่ ฟันผุลึกที่ลุกลามถึงโพรงประสาทฟัน ฟันแตกหรือร้าวจากอุบัติเหตุ ฟันคุดที่กำลังขึ้น การติดเชื้อที่รากฟันหรือเหงือก
หลังจัดฟันเสร็จแล้วต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง
หลังจัดฟันเสร็จแล้วต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง การจัดฟันเป็นกระบวนการที่ช่วยแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ฟันเก หรือฟันที่เรียงตัวไม่สวยงาม เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยงามมากขึ้น แต่หลังจัดฟันเสร็จแล้วหากไม่มีการดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีฟันก็จะไม่เรียงตัวสวยงามตลอดไป การดูแลสุขภาพช่องปากหลังจัดฟันเสร็จแล้วจึงเป็นเรื่องสำคัญที่ควรใส่ใจ บทความนี้ Smile Seasons จะชวนทุกคนไปดูกันว่าหลังจัดฟันเสร็จแล้วนั้นต้องดูแลสุขภาพช่องปากอย่างไร หากไม่ดูแลสุขภาพช่องปากที่ดีจะส่งผลต่อฟันอย่างไรบ้าง การจัดฟันส่งผลต่อสุขภาพช่องปากอย่างไรบ้าง การจัดฟันไม่ได้เป็นกระบวนการที่ช่วยให้ฟันเรียงตัวสวยงามเพียงอย่างเดียว แต่ยังส่งผลต่อสุขภาพช่องปากในด้านอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งระหว่างการจัดฟันกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ ๆ ฟันจะเกิดการปรับตัวให้อยู่ในตำแหน่งที่เหมาะสม เพื่อให้ฟันเรียงตัวสวยงามอย่างเหมาะสม ซึ่งช่วยให้การทำความสะอาดช่องปากง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเหงือกและฟันผุ อีกทั้งยังช่วยแก้ไขปัญหาการบดเคี้ยวและการพูด แม้ว่าหลังจากจัดฟันเสร็จแล้วโครงสร้างกระดูกและเนื้อเยื่อรอบ
ก่อนจัดฟันต้องรู้ จัดฟันแบบใส กับ แบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน
ก่อนจัดฟันต้องรู้ จัดฟันแบบใส กับ แบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน การจัดฟันไม่เพียงช่วยเสริมความสวยงามของรอยยิ้ม แต่ยังช่วยแก้ไขปัญหาฟันซ้อน ฟันเก ฟันห่าง และการสบฟันที่ผิดปกติ ซึ่งส่งผลดีต่อสุขภาพช่องปากในระยะยาว ปัจจุบันมีทางเลือกในการจัดฟันมากมาย แต่ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ จัดฟันแบบใสกับแบบเหล็ก แบบไหนดีกว่ากัน? คำตอบไม่ได้ชัดเจนเสมอไป เพราะแต่ละวิธีมีข้อดีและข้อจำกัดที่แตกต่างกัน บทความนี้ smile seasons จะพาคุณไปทำความรู้จักกับการจัดฟันทั้งสองประเภท เพื่อให้คุณเลือกวิธีที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์และความต้องการของคุณมากที่สุด การจัดฟันใส กับการจัดฟันเหล็กคืออะไร การจัดฟันเป็นวิธีการทางทันตกรรมที่ช่วยปรับตำแหน่งฟันให้เรียงตัวสวยงามและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพของการเคี้ยวอาหาร
เมื่อปวดฟันต้องกินยาแก้ปวดฟันแบบไหน ต้องเลือกอย่างไร
เมื่อปวดฟันต้องกินยาแก้ปวดฟันแบบไหน ต้องเลือกอย่างไร อาการปวดฟันเป็นความทรมานที่หลายคนไม่อยากเผชิญ ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นไม่เพียงส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แต่ยังกระทบต่อคุณภาพชีวิตในด้านอื่น ๆ ด้วย หากปล่อยให้อาการปวดฟันเรื้อรังโดยไม่ได้รับการรักษาอาจนำไปสู่การติดเชื้อที่ลุกลามและส่งผลต่อสุขภาพร่างกายในระยะยาว การเลือกใช้ยาแก้ปวดฟันที่เหมาะสมจึงเป็นทางเลือกเบื้องต้นเพื่อบรรเทาอาการก่อนพบทันตแพทย์ อาการปวดฟันเกิดจากสาเหตุใดบ้าง ฟันผุ : ฟันผุเกิดจากแบคทีเรียในช่องปากย่อยสลายอาหารจำพวกน้ำตาลและแป้ง ทำให้เกิดกรดที่กัดกร่อนเคลือบฟัน เมื่อฟันผุลึกเข้าไปถึงเนื้อฟันชั้นในจะทำให้เกิดอาการเสียวฟันและปวดฟัน เหงือกอักเสบ : เกิดจากการสะสมของคราบจุลินทรีย์บริเวณขอบเหงือก ทำให้เหงือกบวมแดง มีเลือดออกง่าย เมื่อไปสัมผัสโดนเหงือกบริเวณนั้นจะเกิดอาการปวด ฟันแตกหรือร้าว : อาจเกิดจากการกระแทก การกัดของแข็ง
รู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะ พร้อมเปิดข้อดี-ข้อเสีย
รู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะ พร้อมเปิดข้อดี-ข้อเสีย รีเทนเนอร์เป็นอุปกรณ์คงสภาพฟัน ซึ่งมีด้วยกันหลายแบบ สำหรับรีเทนเนอร์โลหะทำจากโลหะพิเศษ ที่ออกแบบมาเพื่อใส่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน มีลักษณะเป็นโครงโลหะบางเบาที่พอดีกับแนวฟัน ช่วยรักษาตำแหน่งของฟันให้อยู่ในสภาพที่จัดเรียงไว้ มีความทนทานสูง และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยมักนิยมใช้ทั้งในฟันบนและฟันล่าง บทความนี้เราจะชวนทุกคนไปรู้จักกับรีเทนเนอร์โลหะกันให้มากขึ้น รีเทนเนอร์โลหะ คืออะไร รีเทนเนอร์โลหะเป็นอุปกรณ์คงสภาพฟันที่ทำจากวัสดุโลหะพิเศษ ออกแบบมาเพื่อใส่หลังจากถอดเหล็กจัดฟัน มีลักษณะเป็นโครงโลหะบางเบาที่พอดีกับแนวฟัน ช่วยรักษาตำแหน่งของฟันให้อยู่ในสภาพที่จัดเรียงไว้ มีความทนทานสูง และสามารถใช้งานได้ยาวนาน โดยมักนิยมใช้ทั้งในฟันบนและฟันล่าง เปิดข้อดี-ข้อเสียของรีเทนเนอร์โลหะ ก่อนตัดสินใจเลือกใช้รีเทนเนอร์โลหะ มาทำความเข้าใจข้อดีและข้อเสียกันก่อน เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจ
10 วิธีเปลี่ยนเมื่อมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็น ให้หอมสดชื่น
10 วิธีเปลี่ยนเมื่อมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็น ให้หอมสดชื่น การมีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็นเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อความมั่นใจและการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก หลายคนรู้สึกไม่กล้าพูดคุยใกล้ชิดกับผู้อื่น ส่งผลต่อการเข้าสังคมและการทำงาน บางคนถึงขั้นเกิดความเครียดและวิตกกังวล แต่ปัญหานี้สามารถแก้ไขได้ด้วยการดูแลสุขภาพช่องปากอย่างถูกวิธี สาเหตุที่ทำให้มีกลิ่นปาก ลมหายใจเหม็น มีกลิ่นปากแรง ลมหายใจเหม็นเกิดจากหลายสาเหตุ โดยส่วนใหญ่มาจากการสะสมของแบคทีเรียในช่องปากที่ย่อยสลายเศษอาหารและปล่อยก๊าซที่มีกลิ่นเหม็นออกมา นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากโรคในช่องปาก เช่น ฟันผุ เหงือกอักเสบ หรือแม้แต่โรคทางระบบต่าง ๆ เช่น โรคกระเพาะ ไซนัสอักเสบ รวมถึงพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการดูแลสุขภาพช่องปากที่ไม่เหมาะสม