
ฟันล้มหลังจัดฟัน อันตรายไหม มีวิธีรักษาอย่างไร? บทความนี้มีคำตอบ!
แม้ว่าคุณจะไม่เห็น แต่ฟันของคุณมีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา ถึงแม้ว่าคุณจะจัดฟัน หรือทำการรักษาทางทันตกรรมอื่นๆ มาแล้วก็ตาม ฟันของคุณจะยังคงมีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งไปเรื่อยๆ ตลอดชีวิต จึงเป็นที่มาของการใส่รีเทนเนอร์ หรือเครื่องมือคงสภาพฟัน เพื่อป้องกันไม่ให้ฟันล้ม
อย่างไรก็ตามถึงไม่เคยจัดฟันมาก่อน ฟันก็สามารถล้มได้เช่นกัน บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับภาวะฟันล้ม เจาะลึกถึงสาเหตุ และผลกระทบต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น รวมทั้งการป้องกัน และวิธีการรักษา พร้อมตอบคำถามที่คุณหมอมักถูกถามบ่อยๆ
ฟันล้มคืออะไร?
สาเหตุของอาการฟันล้ม
1. จัดฟันแล้วไม่ใส่รีเทนเนอร์
หลังถอดเครื่องมือจัดฟันแบบโลหะ หรือ จัดฟันแบบใส d-aligner เสร็จเรียบร้อย คุณต้องใส่รีเทนเนอร์ซึ่งเป็นเครื่องมือคงสภาพฟัน เพื่อป้องกันฟันล้ม หรือ ฟันเคลื่อนกลับไปยังตำแหน่งก่อนจัดฟัน โดยช่วง 6 เดือนแรกคุณควรใส่รีเทนเนอร์ตลอดเวลา หลังจากนั้นสามารถใส่เฉพาะตอนเข้านอนได้
สามารถอ่านบทความ รีเทนเนอร์ ที่เขียนโดยทันตแพทย์เพิ่มเติมได้ที่นี่
2. จัดฟันแฟชั่น
3. สูญเสียฟันธรรมชาติ
เมื่อคุณสูญเสียฟันธรรมชาติไปไม่ว่าจะจากอุบัติเหตุ หรือมีพยาธิสภาพจนจำเป็นต้องถอน ฟันซี่ข้างเคียงสามารถล้มลงมาในช่องว่างที่เกิดขึ้นได้ เพื่อป้องกันฟันล้ม คุณจึงควรเข้ารับการทดแทนฟัน โดยมีตัวเลือกในการรักษาหลากหลายขึ้นอยู่กับจำนวน และสภาพช่องปากของคุณ วิธีการบูรณะฟันที่นิยมคือ รากฟันเทียม สะพานฟัน และฟันปลอม
4. อายุ
เมื่ออายุมากขึ้น อาจเกิดฟันล้ม หรือมีการเคลื่อนตำแหน่งได้ เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างใบหน้า และความหนาแน่นของกระดูกขากรรไกร
5. สาเหตุอื่นๆ
ทำไมหลังจัดฟันแล้วฟันล้ม
หากคุณเคยจัดฟันเพื่อแก้ไขปัญหาการเรียงตัวของฟันที่ผิดปกติมาก่อน แปลว่าฟันของคุณจะถูกเคลื่อนออกจากตำแหน่งตามธรรมชาติ เมื่อคุณถอดเครื่องมือ จัดฟันแบบโลหะ หรือเสร็จสิ้นการรักษาด้วยการจัดฟันแบบใส เช่น ดี-aligner หรือ จัดฟันแบบใส invisalign เนื้อเยื่อ รวมทั้งเส้นเอ็นรอบฟันยังไม่ปรับตัวและจดจำตำแหน่งฟันใหม่ของคุณ
หากไม่ได้ใส่เครื่องมือคงสภาพฟันที่เรียกว่า รีเทนเนอร์ คอยตรึงฟันให้อยู่กับที่ ฟันของคุณก็จะเริ่มล้มและเคลื่อนกลับตำแหน่งเดิม ซึ่งอาจรวดเร็วในบางคน ในขณะที่บางคนมีการเคลื่อนกลับน้อยมาก
อีกสาเหตุที่ฟันล้มหลังจัดฟันนั้นเกี่ยวข้องกับสุขภาพของเหงือก และกระดูกขากรรไกรของคุณ หากระหว่างจัดฟันมีเหงือกอักเสบ หรือโรคปริทันต์อักเสบที่ทำให้เกิดการสูญเสียกระดูก ก็จะทำให้ฟันล้มง่ายมากขึ้น หลังจัดฟันเสร็จ
สัญญาณเตือนอาการฟันล้ม
- มองเห็นได้ว่าฟันล้ม – คุณอาจสังเกตได้ว่าฟันของคุณเคลื่อนที่จากตำแหน่ง ยิ่งถ้าเป็นฟันที่เคยจัดฟันจนเรียงตัวเป็นระเบียบมาก่อนจะทำให้เห็นได้ชัดเจนมากขึ้น
- แนวกลางของฟันเลื่อน – ฟันที่เรียงตัวเป็นระเบียบ ฟันหน้าสองซี่บนและล่างของคุณควรอยู่ตรงกลางจมูกและคิ้วของคุณ เมื่อสมดุลของแนวกลางนี้เริ่มเสียสมดุลไป ก็อาจเป็นสัญญาณเตือนของฟันล้ม หรือฟันเคลื่อน
- ประสบปัญหากับรีเทนเนอร์ – รีเทนเนอร์นั้นถูกออกแบบมาให้ใส่พอดีกับรูปร่างของฟัน ที่เรียงตัวเป็นระเบียบสวยงามหลังจัดฟันเสร็จ หากคุณไม่สามารถใส่รีเทนเนอร์ได้ หรือใส่แล้วปวดมาก ก็แปลว่าฟันของคุณล้ม หรือมีการ
- สบฟันไม่สม่ำเสมอ – หากฟันล้ม คุณอาจสังเกตว่าการกัด หรือเคี้ยวของคุณรู้สึกแปลก และไม่สม่ำเสมอ นอกจากนั้นคุณอาจรู้สึกเคี้ยวอาหารลำบากกว่าเดิม
- มีช่องว่างระหว่างฟัน – เมื่อฟันล้ม คุณอาจพบเห็นช่องหว่างระหว่างฟันที่ไม่เคยมีมาก่อน
- ฟันซ้อนเก – ฟันซ้อนสามารถพลักฟันซี่อื่นให้เกซ้อนตามได้ ซึ่งทำให้ยากต่อการทำความสะอาด เช่นการแปรงฟัน หรือใช้ไหมขัดฟัน มีความเสี่ยงต่อการเกิดเหงือกอักเสบตามมา
- เสียวฟัน หรือปวดฟัน – เมื่อฟันล้มคุณอาจรู้สึกเสียวฟันเวลารับประทานอาหาร หรือดื่มเครื่องดื่มที่ร้อนจัด หรือเย็นจัด
ผลกระทบจากฟันล้ม
- ยากต่อการรักษาสุขอนามัยที่ดี – ฟันล้ม เก ซ้อนกัน นับเป็นอุปสรรคต่อการแปรงฟัน และการใช้ไหมขัดฟันอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งสามารถนำไปสู่ ฟันผุ โรคเหงือก และปัญหาทางทันตกรรมอื่นๆ ได้
- ปัญหาการสบฟัน – เมื่อฟันล้ม จะทำให้การสบฟันมีความผิดปกติไปด้วย ฟันของคุณอาจสึกเร็วกว่าปกติ นอกจากนั้นคุณอาจรู้สึกปวดตึงที่ฟันได้ด้วย
- อาการปวดกราม และข้อต่อขากรรไกร – การสบฟันที่ผิดปกติจากฟันล้ม หากไม่ได้รับการแก้ไข และเป็นอยู่ในระยะเวลายาวนาน จะสร้างภาระต่อข้อต่อขากรรไกร ทำให้คุณอาจมีอาการปวดบริเวณกราม หรือขมับ
- ส่งผลต่อการออกเสียง – ฟันล้มสามารถต่อให้เกิดช่องว่างระหว่างซี่ฟันได้ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกเสียงพยัญชนะที่จำเป็นต้องใช้ฟันเป็นส่วนช่วย เช่น ส. ซ. S Z เป็นต้น
- เสียความมั่นใจ และบุคลิกภาพ – แน่นอนว่าใครก็ไม่อยากยิ้มแล้วเห็นฟันล้ม การเคลื่อนที่ของฟันนอกจากจะส่งผลกับรูปลักษณ์ของรอยยิ้มของคุณแล้ว ยังกระทบต่อความมั่นใจของคุณในขณะยิ้ม รับประทานอาหาร การพูดกับบุคคลรอบข้าง หรือการพูดในที่สาธารณะ
วิธีรักษาอาการฟันล้ม
ฟันล้มสามารถแก้ไขได้ด้วยการรักษาทางทันตกรรมที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความต้องการ สาเหตุที่ทำให้เกิดฟันล้ม และสภาพช่องปากของคุณ
1. ใส่รีเทนเนอร์ประคองฟัน
หากคุณเคยจัดฟันมาก่อน และฟันของคุณเริ่มล้ม คุณหมอจะแนะนำให้คุณรีบกลับไปใส่รีเทนเนอร์ ถ้าปล่อยทิ้งไว้ฟันอาจล้มมากขึ้น จนคุณไม่สามารถใส่รีเทนเนอร์เดิมของคุณได้ ซึ่งหากเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น คุณมีโอกาสที่จะต้องเข้ารับการจัดฟันใหม่ เนื่องจากรีเทนเนอร์ เป็นเครื่องมือคงสภาพฟัน และไม่สามารถสร้างแรงเพียงพอที่จะดึงฟันที่ล้มให้กลับไปยังตำแหน่งเดิมได้
รีเทนเนอร์ที่นิยมใช้มีทั้งแบบลวด และแบบใสซึ่งสามารถถอดได้ อย่างไรก็ตามหากคุณมีปัญหาฟันเคลื่อนฟันตำแหน่งหลังจัดฟัน ซึ่งทำให้ต้องกลับมาจัดฟันใหม่หลายรอบ คุณหมออาจแนะนำรีเทนเนอร์แบบติดแน่นให้กับคุณ ข้อดีคือรีเทนเนอร์จะถูกติดอยู่กับฟันด้านในของคุณ ไม่สามารถถอดได้ ทำให้คุณหมดกังวลเรื่องลืมใส่รีเทนเนอร์อีกต่อไป แต่ก็ต้องแลกกันการทำความสะอาดช่องปากลำบาก และใช้เวลามากยิ่งขึ้นกว่าปกติ
2. ใส่ฟันทดแทน
กรณีที่คุณสูญเสียฟันไป คุณควรเข้ารับการบูรณะทดแทนฟันโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นฟันจะล้มลงไปหาช่องว่างที่เกิดขึ้นได้ การทดแทนฟันที่นิยมในปัจจุบันคือการทำรากฟันเทียม ซึ่งมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน มีส่วนที่เลียนแบบรากฟันทำให้รับแรงบดเคี้ยวได้มาก และยังกระจายแรงลงสู่กระดูกใต้เหงือกซึ่งส่งผลต่อสุขภาพที่ดีของกระดูก รากฟันเทียมไม่จำเป็นต้องดูแลรักษาอะไรเป็นพิเศษ
เพียงแปรงฟันวันละสองครั้ง และใช้ไหมขัดฟันก่อนนอนเท่านั้น รากฟันเทียมจึงเป็นวิธีการทดแทนฟันที่ดีที่สุด ตัวเลือกในการทดแทนฟันอื่นๆ คือการทำสะพานฟัน และการใส่ฟันปลอม
3. จัดฟันใหม่ จัดฟันรอบสอง
เมื่อฟันล้มมากจากการลืมใส่รีเทนเนอร์ และคุณต้องการให้ฟันกลับมาเรียงตรงเป็นระเบียบสวยงามอีกครั้ง คุณอาจจำเป็นต้องจัดฟันใหม่อีกครั้ง อย่างไรก็ตามหากฟันของคุณไม่ได้เคลื่อนจากตำแหน่งเดิมไปมาก มีโอกาสเป็นไปได้ที่คุณจะจัดฟันเสร็จภายในเวลาอันเร็วเร็ว ไม่เหมือนกับการจัดฟันครั้งแรก
ในปัจจุบันคุณมีตัวเลือกของรูปแบบการจัดฟันที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น การจัดฟันแบบโลหะมาตรฐาน การ จัดฟันแบบดามอน รวมถึงการจัดฟันแบบใสอย่าง ดี-aligner หรือ invisalign
วิธีป้องกันอาการฟันล้ม
- ใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ – หากคุณเพิ่งจัดฟันเสร็จ
- รักษาสุขอนามัยช่องปากให้ดีเยี่ยมอยู่เสมอด้วยการแปรงฟันวันละ 2 ครั้ง และใช้ไหมขัดฟันก่อนนอน
- ขูดหินปูน และตรวจสุขภาพช่องปากกับคุณหมอทุก 6 เดือน
- หลีกเลี่ยงบุหรี่ เพราะจะทำให้สุขภาพช่องปากโดยรวมแย่ลง
- หากสูญเสียฟัน รีบเข้ามาปรึกษาคุณหมอเพื่อเข้ารับการบูรณะทดแทนฟัน
คำถามที่พบบ่อย
สรุป
ปัญหาฟันล้มเกิดขึ้นได้บ่อย ซึ่งหากไม่ได้รับการรักษาแล้วอาจจะทำให้เกิดผลเสียได้ ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นได้แก่ ฟันเก ปัญหาการสบฟัน ปวดกราม พูดไม่ชัด และการเสียความมั่นใจในรอยยิ้มของตัวคุณเอง โชคดีที่เรามีตัวเลือกสำหรับการป้องกัน และแก้ไขฟันล้มหลายอย่าง เช่น การใส่รีเทนเนอร์อย่างสม่ำเสมอ การจัดฟัน การบูรณะทดแทนฟันซี่ที่หายไป
หากคุณสังเกตว่าฟันของคุณล้ม หรือมีความกังวลเกี่ยวฟันที่เคลื่อนตำแหน่ง อย่าลังเลที่จะทำนัดเข้ามาตรวจช่องปาก และรับคำปรึกษาจากคุณหมอผู้เชี่ยวชาญของเราได้ฟรี โดยไม่มีค่าใช้จ่าย คุณหมอสามารถแนะนำตัวเลือกในการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ และช่วยให้คุณมีรอยยิ้มที่สวยงามและมีสุขภาพดี ง่ายๆ เพียงลงทะเบียนและรอการติดต่อจากเรา
Reference
Weerawat Buapuean, DDS. (2nd-class Honors), Certificate of Thai Board (Orthodontic), The Dental Councilบทความโดย
ทพญ.กีรติกาญจน์ เอื้อกูลวราวัตร
ประกาศนียบัตรสาขาทันตกรรมจัดฟัน สมาคมทันตกรรมจัดฟันและการวิจัยแห่งประเทศไทย
ทันตแพทยศาสตร์ ม.มหิดล