ถอนฟัน เจ็บไหม? ดูแลตัวเองหลังถอนฟันอย่างไร?
คุณกำลังประสบปัญหาปวดฟันอยู่หรือเปล่า? หรือกำลังสงสัยว่า ถอนฟัน เจ็บไหม บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักการถอนฟันให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น ทั้งประเภทของการถอนฟัน เหตุผลต่างๆ ว่าทำไมฟันของคุณต้องถูกถอน ขั้นตอนการถอนว่าคุณหมอจะทำอะไรบ้าง ถอนฟัน ราคาเท่าไหร่ รวมทั้งวิธีการปฏิบัติตัวหลังถอนฟัน และการดูแลแผลถอนฟันให้ถูกวิธี
การถอนฟัน เป็นหัตถการทางทันตกรรมที่มีความเจ็บปวด และสร้างความกังวลให้กับคนไข้อยู่ไม่น้อย การรับทราบข้อมูล และขั้นตอนต่างๆ จะช่วยให้คุณลดความกังวลลงได้ และทำให้ประสบการณ์ในการเข้ารับการถอนฟันไปเป็นด้วยความราบรื่น และรู้สึกสบายที่สุด – เอาหล่ะ พร้อมแล้วเริ่มอ่านกันเลย!
ถอนฟัน คืออะไร
ถอนฟัน คือ การนำฟันออกจากเบ้าในกระดูกขากรรไกร ถือเป็นหนึ่งในทางเลือกสุดท้ายของคุณหมอ เมื่อไม่สามารถเก็บฟันธรรมชาติไว้ใช้งานได้ การถอนฟันมีทั้งแบบธรรมดา ซึ่งใช้ในถอนซี่ที่โผล่พ้นเหงือกมาแล้ว และการถอนฟันรวมกับการผ่าตัด หรือที่เราคุ้นชินกับคำว่า ผ่าฟันคุด โดยนับเป็นหนึ่งในทันตกรรมที่หลายคนต้องเคยทำสักครั้งหนึ่งของชีวิต
การถอนฟันต้องทำโดยทันตแพทย์ทั่วไป หรือศัลยแพทย์ช่องปาก โดยจะฉีดยาชาบริเวณรอบฟัน เพื่อลดความเจ็บปวด และความรู้สึกไม่สบาย หลังเสร็จแล้วคุณจะได้รับคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการดูแลแผลถอนฟัน และการปฏิบัติตัวเพื่อลดความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อน
ถอนฟันกราม คืออะไร ต่างจากถอนฟันปกติไหม
ถอนฟันกราม คือ การนำฟันที่งอกอยู่ท้ายสุดของแถวฟันออก โดยฟันกรามจะมีทั้งแถวบนและแถวล่าง มีขนาดใหญ่และแข็งแรงกว่าฟันซี่อื่น เมื่อถอนไปแล้วจะไม่มีการขึ้นใหม่มาทดแทนซี่ฟันเดิม ส่วนขั้นตอนการถอนฟันกรามไม่ได้แตกต่างจากการถอนฟันซี่อื่น
หากฟันกรามงอกมาเบียดฟันซี่ข้างเคียง หรืองอกออกมาได้แค่บางส่วน มีส่วนที่ติดอยู่ในเนื้อเยื่ออ่อนหรือกระดูกขากรรไกร เราจะเรียกฟันกรามดังกล่าวว่า ฟันคุด ทันตแพทย์ต้องทำการผ่าออก หรือผ่าฟันคุด ซึ่งขั้นตอนมีความซับซ้อนมากขึ้นกว่าการถอนฟันแบบธรรมดา
อาการแบบใดที่ทำให้ต้องถอนฟัน
ฟันธรรมชาติ เป็นฟันชุดที่ดีที่สุดที่คุณจะมีได้ ดังนั้นคุณหมอจะพยายามใช้หัตถการทางทันตกรรมอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการถอนฟัน และช่วยให้คุณสามารถเก็บฟันธรรมชาติไว้ใช้งานได้ อย่างไรก็ตามในบางกรณีคุณหมอก็มีความจำเป็นต้องถอนฟันของคุณออก ได้แก่
ฟันผุ
ฟันที่ผุ หรือติดเชื้อมากเกินกว่าจะรักษาด้วยการ อุดฟัน ครอบฟัน หรือ รักษารากฟัน เป็นหนึ่งในเหตุผลที่คุณจำเป็นต้องถอนฟัน
ฟันซ้อน
ฟันคุด
ฟันกรามที่ขึ้นไม่เต็มที่ อาจต้องถอนออกเพื่อป้องกันการติดเชื้อ หรือเนื้อเยื่อโดยรอบ
อุบัติเหตุ
กรณีเกิดอุบัติเหตุทำให้ฟันหักจนไม่สามารถบูรณะขึ้นมาใหม่ได้
ฟันที่มีพยาธิสภาพ
เช่น มีถุงน้ำ (Cyst) หรือเนื้องอก
ก่อนถอนฟัน เตรียมตัวอย่างไรดี
- แจ้งคุณหมอเกี่ยวกับโรคประจำตัว รวมทั้งยาทั้งหมดที่รับประทานอยู่ โดยเฉพาะยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด เช่น Aspirin, Clopidogrel (Plavix), Warfarin เป็นต้น
- หากมีโรคเกี่ยวลิ้นหัวใจ หรือเคยเปลี่ยนลิ้นหัวใจมาก่อน คุณหมออาจแนะนำให้รับประทานยาปฎิชีวนะ (Amoxicillin) ก่อนเข้ารับการถอนฟัน – กรุณาปฎิบัติตามอย่างเคร่งครัด
- ไม่จำเป็นต้องหยุดยาประจำตัวก่อนถอนฟัน อย่างไรก็ตามในบางกรณี ทันตแพทย์อาจส่งปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเพื่อพิจารณาหยุดยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด
- หากมีความดันโลหิต หรือระดับน้ำตาลสูง และยังไม่สามารถควบคุมได้ ทันตแพทย์อาจเลื่อนการถอนฟันออกไปก่อน และส่งตัวปรึกษาแพทย์ประจำตัวของคุณเพื่อปรับยาให้สามารถควบคุมโรคได้ดีก่อนเข้ารับการถอนฟัน
- วางแผนการเดินทางกลับไปพักผ่อนที่บ้านหลังถอนฟัน หากคุณมีครอบครัว หรือเพื่อนมาขับรถรับส่งให้ก็จะดีมาก
- สวมใส่เสื้อผ้าหลวมๆ สบายๆ มาในวันนัดถอดฟัน
- นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
- หากไม่ได้รับคำแนะนำให้งดอาหาร คุณสามารถทานอาหารได้ตามปกติ แต่ควรบ้วนปาก แปรงฟันให้เรียบร้อยก่อนถึงเวลานัด
- หากเป็นไปได้ แนะนำให้ลาหยุดหลังถอนฟันสัก 1-2 วันก่อนกลับไปทำงาน หรือลองให้เราหาคิวนัดคุณหมอในช่วงวันศุกร์ก็เป็นไอเดียที่ดี
- ซื้อเจลประคบเย็น พร้อมเตรียมผ้าขนหนูเอาไว้ประคบเย็น
- เตรียมของที่รับประทานง่ายไว้ในตู้เย็น เช่น ซุป ข้าวต้ม โจ๊ก โยเกิร์ต
ขั้นตอนการถอนฟัน
- ก่อนถอนฟันจะต้องวัดความดันโลหิต ซักประวัติเพิ่มเติม เพื่อเตรียมตัวให้พร้อม
- คุณหมอฉีดยาชาบริเวณฟันซี่ที่ต้องการจะถอน และรอประมาณ 5-10 นาที ให้ยาชาออกฤทธิ์
- เริ่มการถอนฟัน โดยใช้เครื่องมือพิเศษยกฟันขึ้น เนื่องจากฟันถูกห่อหุ้มอย่างแน่นหนาในเบ้ากระดูก จากนั้นจะโยกไปมาเพื่อให้มีพื้นที่ในการนำฟันออก
- แม้จะได้รับยาชาแต่คุณอาจรู้สึกตึงๆ ได้เล็กน้อยในขั้นตอนนี้ แต่หากคุณรู้สึกเจ็บ คุณสามารถบอกกับคุณหมอได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณอาจต้องได้รับการฉีดยาชาเพิ่ม
- เมื่อฟันถูกดึงออกไปแล้ว คุณหมอจะทำความสะอาดเบ้าฟัน ตกแต่งขอบกระดูกที่แหลมคม หากแผลมีขนาดเล็กคุณอาจไม่ต้องเย็บแผลก็ได้
- คุณหมอจะวางผ้าก๊อซให้กัดเพื่อห้ามเลือด และให้น้ำแข็งหรือเจลเย็นสำหรับประคบที่แก้มเพื่อลดอาการบวม
- คุณหมอจะให้คำแนะนำในการปฏิบัติตัว และการดูแลแผลถอนฟัน
ข้อปฏิบัติหลังถอนฟัน
การดูแลแผลถอนฟัน
- กัดผ้าก๊อซอย่างน้อย 45 นาที หากยังมีเลือดออกคุณสามารถเปลี่ยนผ้าก๊อซอันใหม่แล้วกัดต่ออีก 30-45 นาที
- หากมีน้ำลาย หรือเลือด ระหว่างกัดก๊อซ ให้กลืนลงคอ อย่าบ้วนออก
- ห้ามรบกวนแผล ห้ามใช้ลิ้นดุนแผล ไม่ควรดูดน้ำลายหรือเลือดจากผ้าก๊อซ
- หากมีลิ่มเลือดปกคลุมด้านบนแผล ห้ามบ้วน หรือหยิบออก เพราะอาจทำให้เลือดออกซ้ำได้
ประคบเย็นลดอาการบวม
- สามารถใช้เจลเย็น หรือน้ำแข็งห่อผ้าชุบน้ำหมาดๆ ประคบที่ด้านนอกของแก้มฝั่งที่ถอนฟันเพื่อลดอาการบวม
- เปลี่ยนเจล หรือน้ำแข็งทุก 15 นาที และทำต่อเนื่องประมาณ 24 ชม.
- หลัง 24 ชม. หากมีรอยช้ำ หรือยังปวดตึงอยู่ สามารถประคบอุ่นต่อได้ (ห้ามใช้น้ำเดือด หรือประคบถุงอุ่นโดยตรงกับผิวแก้ม ให้ห่อผ้าทุกครั้ง)
การดูแลความสะอาด
- หากไม่มีเลือดออก คุณสามารถแปรงฟันซี่อื่นๆ ได้ แต่หลีกเลี่ยงบริเวณแผล
- หลัง 24 ชม. เป็นต้นไป สามารถบ้วนปากได้ โดยผสมเกลือครึ่งช้อนชากับน้ำอุ่น 1 แก้ว
- งดการใช้น้ำยาบ้วนปากในช่วงนี้
อาหาร
- เลือกรับประทานอาหารที่ทานง่ายในช่วง 2-3 วันแรก
- ควรดื่มน้ำปริมาณมากขึ้น (อย่างน้อย 6-8 แก้วต่อวัน)
- เลี่ยงการใช้หลอดดูดน้ำใน 24 ชม. แรก
คำแนะนำอื่นๆ
- หากมีอาการปวด สามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น Paracetamol หรือ ibuprofen ได้ (กรุณาตรวจสอบประวัติแพ้ยาของคุณให้ดีก่อน)
- งดออกกำลังกายอย่างน้อย 3-5 วัน (เนื่องจากคุณรับประทานอาหารได้น้อย คุณจึงได้รับแคลอรี่น้อยกว่าปกติ)
- งดสูบบุหรี่อย่างน้อย 1 สัปดาห์ เนื่องจากรบกวนกระบวนการหายของแผล
- แก้ไขริมฝีปากแห้งด้วย Lips Balm หรือ Moisture
- มาพบคุณหมอตามนัด
ปัญหาที่พบได้บ่อยภายหลังการถอนฟัน
การถอนฟัน ถือเป็นหัตถการทางทันตกรรมที่มีโอกาสเกิดผลข้างเคียงได้ ปัจจัยเช่น ฟันมีความซับซ้อนอยู่ในตำแหน่งลึกทำงานยาก มีพยาธิสภาพอย่างอื่นเช่น Cyst ก้อนเนื้อ หรือผู้ป่วยมีโรคประจำตัว หรือรับประทานยาที่ส่งผลต่อการแข็งตัวของเลือด จะเพิ่มโอกาสในการเกิดผลข้างเคียงตามมา
คุณหมอได้รบรวมปัญหาพบบ่อยที่คุณอาจเจอได้หลังจากถอนฟัน หากคุณสงสัยว่าคุณกำลังประสบปัญหาเหล่านี้ กรุณาติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราในทันที
1. ปัญหาเลือดออก (Hemorrhage)
- หลังถอนฟันเป็นปกติที่คุณจะมีเลือดออกได้ – เราแนะนำให้คุณกัดผ้าก๊อซ และสามารถเปลี่ยนได้เรื่อยๆ ทุก 45-60 นาที
- อย่างไรก็ตามเลือดควรจะออกลดลงเรื่อยๆ และหยุดภายในเวลาไม่เกิน 6 ชม.
- หากคุณมีเลือดออกปริมาณมาก หรือเลือดออกไม่หยุดหลัง 6 ชม. หรือมีอาการหน้ามืด เหงื่อแตก ใจสั่น เป็นลม กรุณารีบติดต่อเจ้าหน้าที่ของเรา
2. การติดเชื้อหลังถอนฟัน (Post operative infection)
- การติดเชื้อมักเกิดขึ้นในวันที่ 3-4 หลังจากถอนฟันไปแล้ว อาการประกอบด้วย มีไข้ ปวดบวมแดงร้อนบริเวณแก้มด้านที่ถอนฟัน
- หากมีการติดเชื้อคุณอาจต้องรับประทานยาปฎิชีวนะ และนัดติดตามอาการกับคุณหมออย่างใกล้ชิด
3. กระดูกเบ้าฟันอักเสบ (Dry Socket)
- ภาวะนี้เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดที่ก่อตัวด้านบนแผล หลุดหรือละลายออกเร็วเกินไป ทำให้ไม่มีอะไรปกคลุมเบ้ากระดูกและเส้นประสาทด้านล่าง
- Dry Socket มักเกิดในวันที่ 3-4 หลังจากถอนฟัน อาการคือมีปวดมาก อาจปวดร้าวขึ้นศีรษะ หรือมีกลิ่นปากที่เหม็นรุนแรง
4. อ้าปากได้จำกัด (Trismus)
- อาการอ้าปากได้จำกัดเกิดจากการอักเสบของกล้ามเนื้อที่ใช้บดเคี้ยว มักพบในการถอนฟัน หรือผ่าฟันคุด หรือมีการฉีดยาชาบล๊อคเส้นประสาทส่วนปลายที่ขากรรไกรเพื่อลดความเจ็บปวดระหว่างถอนฟัน
- การรักษาคือการกายภาพบำบัด ร่วมกับการใช้น้ำอุ่นประคบกล้ามเนื้อด้านนอก และอมน้ำเกลืออุ่นบ่อยๆ หากมีการติดเชื้อร่วมด้วย คุณอาจต้องรับประทานยาปฎิชีวนะเพิ่มเติม
5. อาการชา
- เส้นประสาทส่วนปลายอาจได้รับความเสียหายในระหว่างการถอนฟัน ซึ่งสามารถทำให้เกิดอาการชาตามที่ต่างๆ เช่น ริมฝีปาก ลิ้น หรือ คาง
- อาการชาหลังถอนฟันเป็นภาวะที่พบได้น้อย และมักเป็นอยู่เพียงชั่วคราวเท่านั้น
ถอนฟัน ราคาเท่าไหร่
ราคาถอนฟันขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ดังนี้
- ตำแหน่งของฟัน และความยากในการถอนฟัน
- ความเชี่ยวชาญของทันตแพทย์ที่ทำการถอนฟันให้กับคุณ โดยปกติทันตแพทย์ทั่วไปก็สามารถถอนฟันให้คุณได้ แต่กรณีที่การรักษามีความซับซ้อนสูง คุณอาจได้รับการถอนฟันโดยศัลยแพทย์ช่องปากซึ่งราคาถอนฟันก็จะสูงขึ้น
- ประเภทของการถอนฟัน – การผ่าฟันคุดซึ่งยังไม่โผล่พ้นเหงือก คุณหมอจะต้องเปิดเหงือกก่อนจะถอนฟันออกมาได้ จึงมีความซับซ้อน และใช้เวลาในการรักษามากกว่า
หากคุณมีสิทธิ ประกันสังคมทันตกรรม และยังไม่ได้ใช้สิทธิในปีนี้ คุณสามารถเบิกค่าถอนฟันได้ 900 บ. โดยไม่ต้องสำรองจ่าย
กลุ่มโรคที่อาจต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนถอนฟัน
ผู้ป่วยที่มีโรคทางระบบดังรายการข้างล่าง อาจมีความจำเป็นต้องปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนจึงจะสามารถถอนฟันได้
- ความดันโลหิตสูง – ความดันที่สูงมากอาจทำให้เลือดออกหยุดยาก และเป็นอันตรายกับคุณได้ หากคุณมีความดันโลหิตที่ยังควบคุมให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ได้ คุณหมออาจเลื่อนการถอนฟันของคุณออกไปก่อน
- เบาหวาน – น้ำตาลที่สูงจะรบกวนกระบวนการหายของแผลหลังจากถอนฟันเสร็จ นอกจากนั้นยังเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อตามมาอีกด้วย
- โรคเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ – หัตถการทางทันตกรรมสามารถทำให้แบคทีเรียเล็ดลอดเข้าสู่กระแสเลือดในช่วงระยะเวลาสั้นๆ ผู้ป่วยที่มีความผิดปกติเกี่ยวกับลิ้นหัวใจ เปลี่ยนลิ้นหัวใจ หรือเคยมีประวัติการติดเชื้อแบคทีเรียที่ลิ้นหัวใจมาก่อน (Infective Endocarditis) มีความเสี่ยงกับการติดเชื้อซ้ำ กรณีแบบนี้คุณหมอจะแนะนำให้คุณรับประทานยาปฎิชีวนะก่อนเริ่มทำหัตถการ
- ตั้งครรภ์ – หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 3 เดือนสุดท้าย อาจจะนอนบนเตียงทำฟันได้ลำบาก คุณหมอจะพิจารณาความเร่งด่วน หากยังไม่จำเป็นจริงๆ หรือสามารถรอได้ คุณหมอจะแนะนำให้คลอดเสร็จเรียบร้อยก่อนมาถอนฟัน
คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับการถอนฟัน
ถอนฟันเจ็บไหม?
ถอนฟันใช้ประกันสังคมได้ไหม?
ถ้าปวดฟัน ถอนฟันเลยได้ไหม?
ปวดฟันเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุเช่น คลองรากฟันอักเสบติดเชื้อ เหงือกอักเสบ หรือฟันผุ ซึ่งมีการรักษาที่แตกต่างกัน และสามารถกำจัดอาการปวดฟันให้หายได้ หากคุณมีอาการปวดฟันเราแนะนำให้คุณเข้ามาพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุจะเป็นการดีที่สุด
ถอนฟันเลือดไหลกี่ชั่วโมง ถ้าเลือดไหลไม่หยุด ทำอย่างไรดี?
ในช่วง 4-6 ชม. แรกคุณอาจมีเลือดออกได้ คุณต้องกัดผ้าก็อซให้แน่นเป็นเวลา 45-60 นาที และเปลี่ยนไปเรื่อยๆ หลังจาก 6-8 ชม. หากคุณยังมีเลือดออกปริมาณมาก หรือมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น แน่นหน้าอก เหงื่อแตก ตัวเย็น หน้ามืด หรือเป็นลม คุณควรติดต่อเจ้าหน้าที่ของเราทันที
ถอนฟันกรามกี่วันหาย?
หลังถอนฟันกินข้าวได้ตอนไหน?
ถอนฟันกรามซี่ในสุดอันตรายไหม?
ฟันกรามโยกถอนเองได้ไหม?
ถอนฟันกินเหล้าได้ไหม?
ถอนฟันห้ามใช้หลอดกี่วัน?
ถอนฟันกราม 2 ซี่ พร้อมกันได้ไหม?
หากไม่มีปัญหาสุขภาพใดๆ ร่างกายแข็งแรงปกติ สามารถถอนฟันกราม 2 ซี่ พร้อมกันได้ ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของทันตแพทย์
ถอนฟันกราม ฟันจะล้มไหม?
โดยปกติแล้วฟันจะเคลื่อนที่ตลอดชีวิต หากถอนฟันกรามแล้วมีช่องว่าง อาจทำให้ฟันข้างๆ เคลื่อนที่และล้มได้ ส่วนใหญ่จึงต้องใส่ฟันปลอมหลังถอนฟันกราม หรือถอดทั้งฟันซี่ด้านบนและด้านล่างที่เป็นคู่สบกัน
ถอนฟัน ราคาเป็นมิตร กับคลินิกทันตกรรม Smile Seasons
- Tooth Extraction: Procedure, Aftercare & Recovery., Available from: https://my.clevelandclinic.org/health/treatments/22120-tooth-extraction
- Tooth Extraction (Having a Tooth Pulled)., Available from: https://www.webmd.com/oral-health/pulling-a-tooth-tooth-extraction
- Tooth Extraction: Cost, Procedure, Risks, and Recovery., Available from: https://www.healthline.com/health/tooth-extraction
- Tooth extraction aftercare: Timeline and guide., Available from: https://www.medicalnewstoday.com/articles/326147
- What to do following an extraction., Available from: https://www.dentalhealth.org/what-to-do-following-an-extraction
บทความโดย
ทพญ.เบญจพร วรปาณิ
ประกาศนียบัตรบัณฑิตสาขาศัลยศาสตร์ช่องปากและแม็กซิลโลเฟเชียล ม.มหิดล
ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ (เกียรตินิยมอันดับ 2)
อยากถอนฟัน? ลงทะเบียนกับเรา
ถอนฟันกับ Smile Seasons
- ดูแลโดยทีมทันตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
- ราคาสมเหตุสมผล
- ยืนยันด้วยรีวิวจากคนไข้ที่มาใช้บริการจริง
- เดินทางสะดวก ใกล้ BTS
กรอกรายละเอียดและรอการติดต่อจากเจ้าหน้าที่
รีวิวจากคนไข้ของเรา
โปรโมชั่นอื่นๆ
เกลารากฟันคืออะไร สำคัญต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร
เกลารากฟันคืออะไร สำคัญต่อสุขภาพช่องปากอย่างไร การเกลารากฟัน หรือ Root Planing เป็นการรักษาทางทันตกรรมที่พบได้บ่อย และสำคัญมาก มักเป็นหนึ่งในทางเลือกแรกของการรักษา โรคปริทันต์ และ โรคเหงือกอักเสบที่รุนแรง หากคุณหนึ่งในคนที่ได้รับคำแนะนำจากทันตแพทย์ให้เกลารากฟัน ในบทความนี้คุณหมอจะมาอธิบาย ข้อบ่งชี้ ขั้นตอน ข้อควรระวัง และการดูแลตัวเองหลังเกลารากฟัน เกลารากฟันคืออะไร เกลารากฟัน (Root Planing) เป็นหัตถการทางทันตกรรมที่มุ่งเน้นการกำจัดคราบหินปูนและจุลินทรีย์ที่สะสมอยู่บริเวณใต้เหงือก ซึ่งแตกต่างจากการขูดหินปูนโดยทั่วไปที่เน้นการกำจัดหินปูนที่อยู่เหนือเหงือก
ทำความเข้าใจการปักสกรูเวลาจัดฟันคืออะไร
ทำความเข้าใจการปักสกรูเวลาจัดฟันคืออะไร การปักสกรูเป็นหนึ่งในขั้นตอนสำคัญสำหรับผู้จัดฟัน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ไม่ได้ทำในทุกคน คุณหมอจะพิจารณาใช้วิธีการปักสกรูในคนไข้จัดฟันบางรายที่จำเป็นต้องใช้แรงดึงที่ซับซ้อนในการเคลื่อนตำแหน่งของฟันเท่านั้น แม้ว่าการปักสกรูจัดฟันจะฟังดูน่ากลัว แต่จริง ๆ แล้วเป็นกระบวนการที่ปลอดภัย ไม่ซับซ้อน และเจ็บน้อยกว่าที่คิด บทความนี้จะช่วยทุกคนไปทำความเข้าใจว่าทำไมถึงต้องใช้การปักสกรูจัดฟัน หมุดจัดฟันคืออะไร หมุดจัดฟันหรือสกรูจัดฟัน (Orthodontic Mini-screws) เป็นอุปกรณ์ขนาดเล็กที่ทำจากโลหะไทเทเนียม มีคุณสมบัติพิเศษคือไม่ก่อให้เกิดการแพ้ หมุดจัดฟันมีขนาดเล็กมาก โดยทั่วไปมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1.2-2 มิลลิเมตร และยาว 6-12 มิลลิเมตร
ใครจัดฟันต้องอ่าน เลือกแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันอย่างไรให้เหมาะสม
ใครจัดฟันต้องอ่าน เลือกแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันอย่างไรให้เหมาะสม การจัดฟันแบบติดแน่นนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะเรื่องการทำความสะอาดช่องปาก เพราะเครื่องมือจัดฟันมักเป็นที่สะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบได้ง่าย การเลือกแปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันให้มีความเหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก ๆ ที่ผู้จัดฟันควรให้ความใส่ใจ เพื่อให้สามารถทำความสะอาดช่องปากได้อย่างมีประสิทธิภาพ แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันต่างจากแปรงสีฟันทั่วไปอย่างไร แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันได้รับการออกแบบมาเป็นพิเศษ โดยมีลักษณะเฉพาะที่แตกต่างจากแปรงสีฟันทั่วไป ทั้งในด้านขนแปรงที่มีความนุ่มและความหนาแน่นพิเศษ พร้อมทั้งมีรูปทรงที่ออกแบบมาให้เข้าถึงซอกมุมรอบเครื่องมือจัดฟันได้เป็นอย่างดี ช่วยให้ทำความสะอาดได้ทุกซอกมุม ที่สำคัญด้ามจับที่ออกแบบมาให้จับถนัดมือเพื่อให้ควบคุมแรงได้ดี ช่วยให้สามารถทำความสะอาดได้อย่างทั่วถึงโดยที่ไม่ทำลายเหงือกและฟัน ทำไมคนจัดฟันต้องใช้แปรงสีฟันพิเศษ? เครื่องมือจัดฟันที่ติดแน่นบนผิวฟันเป็นจุดที่เศษอาหารและคราบแบคทีเรียสะสมได้ง่าย แปรงสีฟันทั่วไปไม่สามารถเข้าถึงซอกมุมเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งขนแปรงที่แข็งเกินไปอาจทำให้เกิดการระคายเคืองเหงือกและทำลายผิวฟันได้ การใช้แปรงสีฟันสำหรับคนจัดฟันจึงช่วยให้การทำความสะอาดมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ชวนหาคำตอบจัดฟันแล้วฟันผุเกิดจากอะไร
ชวนหาคำตอบจัดฟันแล้วฟันผุเกิดจากอะไร การจัดฟันเป็นทันตกรรมที่ช่วยแก้ไขปัญหาการเรียงตัวของฟันให้มีความสวยงามและมีการสบฟันที่เป็นปกติ แต่เนื่องจากการจัดฟันแบบติดแน่นต้องมีเครื่องมือจัดฟันอยู่บนฟันทุกซี่และไม่สามารถถอดออกได้ ทำให้การทำความสะอาดฟันทำได้ยากกว่าปกติ หากดูแลสุขภาพช่องปากได้ไม่ดี อาจทำให้เกิดปัญหาจัดฟันแล้วฟันผุตามมาได้ มาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้จัดฟันแล้วฟันผุมีอะไรบ้าง และมีวิธีป้องกันแก้ไขอย่างไร สาเหตุที่ทำให้จัดฟันแล้วฟันผุ การจัดฟันไม่ได้เป็นสาเหตุโดยตรงที่ทำให้เกิดฟันผุ แต่การจัดฟันแบบติดแน่นที่จำเป็นต้องติดเครื่องมือที่ฟัน ทำให้ส่งผลให้คราบอาหารเข้าไปติดได้ง่ายขึ้น จึงทำความสะอาดช่องปากได้ยากขึ้น ทั้งการแปรงฟันและการใช้ไหมขัดฟัน ซึ่งถือเป็นแหล่งสะสมของเศษอาหารและแบคทีเรีย หากทำความสะอาดได้ไม่ดี จะเพิ่มความเสี่ยงให้จัดฟันแล้วฟันผุได้มากกว่าคนที่ไม่ได้จัดฟัน สัญญาณเตือนที่ควรระวังว่าอาจมีปัญหาจัดฟันแล้วฟันผุ ฟันผุเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้บ่อยในผู้ที่จัดฟัน โดยเฉพาะผู้ที่ดูแลความสะอาดช่องปากไม่ดีพอ มาดูกันว่ามีสัญญาณเตือนอะไรบ้างที่บ่งบอกว่าคุณอาจกำลังมีปัญหาจัดฟันแล้วฟันผุ มีกลิ่นปาก
เปิดเทคนิคการเลือกแปรงสีฟันไฟฟ้าให้ตอบโจทย์
เปิดเทคนิคการเลือกแปรงสีฟันไฟฟ้าให้ตอบโจทย์ ในปัจจุบัน แปรงสีฟันไฟฟ้าได้รับความนิยมขึ้นเป็นอย่างมาก และเป็นหนึ่งในผลิตภัณฑ์ที่คนนิยมเลือกซื้อเพื่อมาดูแลรักษาสุขอนามัยช่องปากของตัวเอง แปรงสีฟันไฟฟ้าถือเป็นหนึ่งในทางเลือกที่ได้ผลลัพธ์ที่ดีไม่ต่างจากแปรงสีฟันโดยทั่วไป แต่ถ้าคุณกำลังสงสัยว่าแล้วแปรงสีฟันไฟฟ้าดีกว่าจริงหรือไม่ คุ้มค่าไหมที่จะหาซื้อมาใช้ บทความนี้จะมาแนะนำแปรงสีฟันไฟฟ้าแบบต่างๆ พร้อมเทคนิคการเลือกซื้อแปรงสีฟันไฟฟ้าให้เหมาะกับคุณ พร้อมทั้งแนะนำ ประเภท คุณสมบัติ และวิธีการใช้งานที่ถูกต้อง เพื่อให้คุณสามารถตัดสินใจได้ว่าแปรงสีฟันไฟฟ้าเหมาะกับการดูแลสุขภาพช่องปากของคุณหรือไม่ แปรงสีฟันไฟฟ้า คืออะไร แปรงสีฟันไฟฟ้าเป็นนวัตกรรมที่ออกแบบมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาดฟัน โดยใช้พลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่หรือการชาร์จไฟ เพื่อขับเคลื่อนหัวแปรงให้เคลื่อนไหวอย่างรวดเร็ว ทำให้สามารถขจัดคราบพลัคและเศษอาหารได้ดีกว่าแปรงสีฟันธรรมดา แปรงสีฟันไฟฟ้ามักมีคุณสมบัติพิเศษ เช่น ระบบจับเวลา โหมดการทำงานหลากหลาย
เปิดสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วทอนซิล พร้อมแชร์วิธีรักษานิ่วทอนซิล
เปิดสาเหตุที่ทำให้เกิดนิ่วทอนซิล พร้อมแชร์วิธีรักษานิ่วทอนซิล นิ่วทอนซิลเป็นปัญหาสุขภาพช่องปากที่พบได้ไม่บ่อยนัก มักเป็นสาเหตุสำคัญของกลิ่นปาก แม้จะไม่อันตรายร้ายแรง แต่ก็สามารถส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตได้ บทความนี้ Smile Seasons จะพาคุณไปทำความรู้จักกับ สาเหตุการเกิดนิ่วทอนซิล อาการ และวิธีรักษานิ่วทอนซิลที่มีประสิทธิภาพ เพื่อให้คุณสามารถจัดการกับปัญหานี้ได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ นิ่วทอนซิลคืออะไร นิ่วทอนซิล หรือที่เรียกในภาษาอังกฤษว่า Tonsil Stones หรือ Tonsilloliths คือ ก้อนสีขาวเหลืองขนาดเล็กที่เกิดขึ้นตามซอกของต่อมทอนซิล ซึ่งก้อนเหล่านี้เกิดจากการสะสมของเศษอาหาร