ลิ้นเป็นฝ้าขาว ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ลิ้นเป็นฝ้าขาว ภัยใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

ลิ้นเป็นฝ้าขาว เป็นภาวะที่พบได้บ่อย โดยลิ้นมีลักษณะเหมือนมีฟิล์มสีขาวเคลือบอยู่ด้านบน มักไม่มีอันตราย แต่อาจเป็นอาการของโรคประจำตัวบางอย่าง และอาจบ่งบอกว่าสุขอนามัยช่องปากของคุณมีปัญหา ในบางโอกาสอาจแสดงถึงภาวะที่รุนแรงมากขึ้นเช่น Oral thush หรือ Leukoplakia ซึ่งควรต้องได้รับการตรวจรักษาโดยคุณหมอทันที เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง วันนี้คุณหมอประจำ Smile Seasons มาให้ข้อมูลทุกเรื่องที่คุณควรต้องรู้เกี่ยวกับลิ้นเป็นฝ้าขาว

ลิ้นเป็นฝ้าขาวคืออะไร

ลิ้นเป็นฝ้าสีขาว คือ อาการผิดปกติของลิ้นที่จะมีคราบสีขาวแผ่กระจายอยู่ทั่ว บางคนอาจมีตุ่มที่ลิ้นด้วย โดยคราบสีขาวนั้นก็มาจากเชื้อแบคทีเรียและเซลล์ที่ตายแล้ว ซึ่งถูกสะสมจนกลายเป็นคราบเด่นชัดขึ้นมานั่นเอง

สาเหตุที่ลิ้นเป็นฝ้าขาว

คุณรู้หรือไม่ว่าการที่ลิ้นเป็นฝ้าขาว สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ซึ่งการจะรักษาให้ได้ผลลัพธ์ดีที่สุดนั้น ก็ต้องรู้ก่อนว่าลิ้นเป็นฝ้าขาวนั้นมีสาเหตุมาจากอะไรกันแน่ ซึ่งส่วนใหญ่แล้วมักเกิดได้จากสาเหตุต่าง ๆ เหล่านี้

1. ภาวะสุขอนามัยช่องปากที่ไม่ดี

คนไข้บางคนอาจจะไม่รู้ แต่การแปรงฟันนั้นไม่เพียงพอต่อการรักษาสุขภาพช่องปากที่ดี คุณควรหมั่นแปรงลิ้นด้วยทุกครั้ง เพื่อเป็นการขจัดเศษซากของแบคทีเรีย และอาหารที่ไปติดอยู่ในร่องระหว่างปุ่มรับรสซึ่งเป็นสาเหตุหลักของลิ้นเป็นฝ้าขาว

2. เชื้อราในปาก

เชื้อราในช่องปาก เป็นภาวะที่เกิดจากการเจริญเติบโตเกินปกติของเชื้อยีสต์ในตระกูลแคนดิดา โดยมักพบได้บ่อยในกลุ่มเสี่ยง เช่น ทารกแรกเกิด ผู้สูงวัย หรือผู้ที่ได้รับยากดภูมิคุ้มกัน อาการที่สังเกตได้เลยคือ จะมีฝ้าขาวบนลิ้น และมีอาการปวดแสบปวดร้อนร่วมด้วย ซึ่งพบว่าคนที่เป็นโรคเบาหวาน ใส่ฟันเทียม หรือมีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องจะมีโอกาสเป็นเชื้อราในปากได้มากที่สุด

3. โรคฝ้าขาว

เกิดจากการสะสมของโปรตีนเคราตินและการเพิ่มจำนวนของเซลล์เยื่อบุช่องปากที่มากเกินไป ส่งผลให้เกิดอาการลิ้นเป็นฝ้าขาว ซึ่งพบว่าคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่เป็นประจำมักจะเป็นโรคฝ้าขาวได้ง่าย โดยปกติแล้วโรคนี้ไม่รุนแรง แต่ถ้าเป็นต่อเนื่องหลายปีก็อาจกลายเป็นมะเร็งช่องปากได้เหมือนกัน

4. มะเร็งในช่องปาก

ลิ้นเป็นฝ้าขาว อาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคมะเร็งในช่องปากก็ได้ โดยจะมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เป็นแผลเรื้อรังบริเวณในปาก เจ็บปวดขณะกลืนอาหาร มีอาการปวดหู หรือพบก้อนเนื้อในช่องปาก เป็นต้น  ซึ่งใครที่มีอาการเหล่านี้ไม่ควรนิ่งนอนใจเด็ดขาด ให้ไปพบแพทย์ในทันที เพราะหากตรวจพบเร็วก็จะมีโอกาสรักษาให้หายได้ทัน แต่ส่วนใหญ่แล้วหลายคนมักจะมองข้ามอาการสัญญาณเตือนต่าง ๆ ไป และคิดว่าไม่เป็นอันตราย จนสุดท้ายก็เป็นมะเร็งอย่างไม่รู้ตัวนั่นเอง

5. ภาวะไลเคนพลานัส

โรคไลเคนพลานัสในช่องปาก เป็นความผิดปกติที่เกิดจากการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย มีลักษณะและความรุนแรงของอาการที่แตกต่างกันในแต่ละบุคคล ในผู้ป่วยที่มีอาการเพียงเล็กน้อย อาจไม่รู้สึกถึงความผิดปกติใด ๆ ในช่องปาก อย่างไรก็ตาม ในบางรายอาจพบอาการต่าง ๆ ร่วมด้วยดังนี้ แสบร้อนในช่องปาก ปวดบริเวณเหงือก และมีแผลบริเวณกระพุ้งแก้ม เป็นต้น

6. ซิฟิลิส

ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ ทริปโปนีมา พัลลิดุม ซึ่งจะมีการแพร่กระจายของเชื้อนี้ผ่านการสัมผัสโดยตรงกับบาดแผลของผู้ติดเชื้อ โดยเฉพาะในบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ ช่องปาก หรือทวารหนัก ระหว่างการมีเพศสัมพันธ์ ซึ่งอาการที่มักจะพบร่วมกับลิ้นเป็นฝ้าขาว ได้แก่ มีแผลในช่องปาก ต่อมน้ำเหลืองบริเวณลำคอบวม มีผื่นแดงบนเพดานปาก และเยื่อบุช่องปากอักเสบ เป็นต้น

7. ไข้ไทฟอยด์

ไข้ไทฟอยด์เป็นโรคติดเชื้อที่เกิดจากแบคทีเรีย Salmonella Typhi โดยจะมีการแพร่กระจายของเชื้อนี้จากการปนเปื้อนในอาหารหรือน้ำดื่มที่ไม่สะอาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อสัมผัสกับอุจจาระหรือปัสสาวะของผู้ติดเชื้อ ซึ่งคนที่เป็นโรคนี้นอกจากลิ้นเป็นฝ้าขาวแล้ว ยังมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ไข้สูง ปวดศีรษะรุนแรง ท้องผูกสลับกับท้องเสีย และมีอาการปวดท้องนั่นเอง

ไข้ไทฟอยด์

วิธีการป้องกันลิ้นเป็นฝ้าขาว

ทำอย่างไรดีไม่ให้ลิ้นเป็นฝ้าขาว จริง ๆ แล้วเราสามารถป้องกันได้ เพียงทำตามคำแนะนำดังต่อไปนี้

1. หมั่นดูแลสุขภาพช่องปาก

สุขภาพช่องปากเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ดังนั้นจึงควรดูแลทำความสะอาดให้ดีอยู่เสมอ และหมั่นสังเกตความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับช่องปากของคุณ ไม่ว่าจะเป็นที่เหงือก ลิ้น หรือฟันก็ตาม ทั้งนี้คุณสามารถดูแลช่องปากของคุณได้ด้วยการแปรงฟันและลิ้นเป็นประจำทุกวัน โดยแปรงให้ถูกวิธี และหมั่นบ้วนน้ำทุกครั้งหลังทานอาหารหรือดื่มเครื่องดื่มต่าง ๆ เพื่อลดการสะสมของคราบอาหาร ที่จะเป็นแหล่งเจริญเติบโตของเชื้อก่อโรคต่าง ๆ นั่นเอง

2. แปรงลิ้นให้ถูกวิธี

นอกจากการแปรงฟันแล้วก็อย่าลืมแปรงลิ้นให้ถูกวิธีด้วย เพราะลิ้นของเราก็มีคราบสกปรกและแบคทีเรียติดอยู่เช่นกัน ถ้าไม่ทำความสะอาดให้ดี ก็จะนำไปสู่การเป็นฝ้าขาวที่ลิ้นได้ และอาจนำมาซึ่งปัญหาสุขภาพช่องปากอื่น ๆ ได้อีกด้วย

3. ปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต

คุณควรปรับเปลี่ยนรูปแบบวิถีการใช้ชีวิตของคุณใหม่ โดยเฉพาะในเรื่องของการกิน ซึ่งควรหลีกเลี่ยงพวกเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกาแฟ รวมถึงงดสูบบุหรี่ด้วย หากคุณสามารถปรับเปลี่ยนตัวเองได้ก็จะห่างไกลจากภาวะฝ้าขาวบนลิ้นอย่างแน่นอน

4. ตรวจเช็กสุขภาพตัวเอง

คุณควรตรวจเช็กสุขภาพตัวเองอยู่เสมอ โดยไปตรวจสุขภาพช่องปากกับทันตแพทย์ และหมั่นสังเกตอาการผิดปกติต่าง ๆ ของร่างกายที่อาจเกิดขึ้น ก็จะช่วยป้องกันการเกิดฝ้าขาวบนลิ้นได้ อีกทั้งยังป้องกันการเจ็บป่วยด้วยโรคอื่น ๆ ได้อีกด้วย หรือกรณีหากเกิดอาการผิดปกติขึ้น จะได้รักษาได้อย่างทันท่วงที ซึ่งปกติแล้วแพทย์จะแนะนำให้ตรวจสุขภาพช่องปากปีละ 2 ครั้ง จึงไม่ควรปล่อยละเลยเด็ดขาด

ตรวจเช็กสุขภาพตัวเอง

สรุปบทความ

ลิ้นเป็นฝ้าขาว อาจจะดูเหมือนไม่น่ากังวลอะไร แต่ก็อาจเป็นอันตรายได้ ถ้าฝ้าขาวเหล่านั้นเกิดจากสาเหตุที่ร้ายแรงอย่างมะเร็งในช่องปากนั่นเอง เพื่อลดความเสี่ยงต่ออาการเกิดปัญหาในช่องปากต่าง ๆ ดังข้างต้น จึงควรตรวจเช็กสุขภาพในช่องปากอยู่เสมอ 

โดยคุณสามารถเข้ารับการตรวจช่องปากกับทันตแพทย์ได้ที่คลินิกทันตกรรม  Smile Seasons ที่นี่เราให้บริการดูแลรักษาฟัน และช่องปาก ทั้งการถอนฟัน ขูดหินปูน อุดฟัน จัดฟันและอื่น ๆ อีกมากมาย สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม หรือขอคำปรึกษาเกี่ยวกับสุขภาพในช่องปากของคุณได้ฟรี ที่หน้าสาขาทั้งหมด 8 สาขาใกล้บ้าน ทั่วกรุงเทพ ได้แก่

  • สนามเป้า/อนุสาวรีย์ชัย
  • อารีย์
  • อโศกทาวเวอร์
  • เมเจอร์รัชโยธิน
  • ท่าพระ
  • BTS อ่อนนุช
  • Silom Complex
  • Central Westville

และสอบถามทางไลน์ได้ที่ @smileseasons.dc หรือโทร. 02-114-3274

บทความโดย

Picture of ทพ.ธนิตย์ วนิชนพรัตน์

ทพ.ธนิตย์ วนิชนพรัตน์

  • วุฒิบัตรทันตแพทย์เฉพาะทางสาขาปริทันตวิทยา ทันตแพทยสภา
  • Certificate of Training Orthodontic and Miniscrew
  • Advance Orthodontic Society
  • Certification of Invisalign Provider
  • ทันตแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่
  • เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้

    เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งาน เราขอความยินยอมของคุณในการใช้คุกกี้ ดูรายละเอียด นโยบายความเป็นส่วนตัว หรือ คุกกี้